ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
วิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนาทักษะการฟังจับใจความในรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน

ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

โดย

นางสาวจุฑารัตน์ อยู่สุข

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ปีการศึกษา ๒๕๖๓

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒

กระทรวงศึกษาธิการ

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นทั้งมวลประสบการณ์และเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ถ้าขาดสื่อสำคัญนี้แล้ว เราคงไม่สามารถรวมกันเป็นสังคมได้ ภาษาจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญที่ทำให้คนเข้าใจกัน ภาษา คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน มนุษย์อาศัยทักษะทั้ง ๔ ประการ สร้างเสริมสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิดพัฒนาอาชีพและพัฒนาบุคลิกภาพ รวมทั้งอื่นๆอีกมากให้กับตนเองและสังคมด้วยเหตุผลดังกล่าวภาษาจึงมีบทบาทและความสำคัญสำหรับบุคคลทุกคน

ภาษาอังกฤษนั้นถือได้ว่าเป็นภาษาสากลที่สามารถใช้สื่อสารเป็นภาษากลางได้ในระดับนานาชาติตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันทั้งในชีวิตประจำวัน การศึกษา และบริบทของการทำงาน ในปัจจุบันการสื่อสารกับคนที่อยู่ต่างสถานที่กันทำได้ขึ้นและรวดเร็ว การสื่อสารที่ดีนั้นจะต้องสื่อความได้รู้เรื่อง เข้าใจ และทันท่วงที หากสื่อสารได้ล่าช้าจะทำให้การสื่อสารติดขัด ดังนั้น การสื่อสารที่ประสิทธิภาพจะต้องมีความถูกต้องในการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ รวมไปถึงการสื่อสารที่คล่องแคล่วและลื่นไหล หรืออย่างน้อยมีกลยุทธ์ที่จะทำให้การสื่อสารของเราดำเนินไปได้โดยไม่หยุดชะงัก ดังนั้น การเรียนภาษาจึงต้องเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนในด้านความถูกต้องและเพิ่มความคล่องแคล่วรวมทั้งความมั่นในในการใช้ภาษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างโอกาสในการใช้ภาษาในการสื่อสารให้กับผู้เรียน รู้จักเลือกเครื่องมือสืบค้น นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ ตลอดจนนำไปใช้สื่อสารในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศต่อไป

จากความสำคัญเบื้องต้น เมื่อนำมาคำนึงในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนใช้ภาษาในการสื่อสารในสถานการณ์ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคยและมีความรู้ ทักษะที่จะนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้อย่างทันท่วงที เหมาะสมกับกาลเทศะและวัฒนธรรมต่างๆที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียน และการประกอบอาชีพในอนาคตได้

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป้าหมายของการสอนภาษาอังกฤษ คือการสร้างสมรรถนะในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่ผลลัพธ์ในการจัดการศึกษากลับพบว่านักเรียนสื่อสารผลประเมินคะแนนภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักพบว่า ประเทศไทยมีคะแนนการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในลำดับที่ 89 จาก 100 ประเทศ (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563) ซึ่งที่ประชุมของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีข้อสรุปว่าจะต้องเดินหน้ายกระดับภาษาอังกฤษของเด็กไทยอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ ณัชปภา (2561) กล่าวว่า ปัญหาด้านทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของเด็กไทยนั้นเกิดจากการสอนภาษาอังกฤษแบบเน้นการท่องจำกฎไวยากรณ์และคำศัพท์มากจนเกินไป โดยขาดการฝึกให้ผู้เรียนได้นำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสาร ตั้งแต่แรกเริ่มไปจนถึงในระดับอุดมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของอาทิตย์ อินต๊ะแก้ว ซึ่งพบว่า นักศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้นเน้นการเรียนภาษาอังกฤษผ่านการวิเคราะห์ไวยากรณ์มากกว่าการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึง นักศึกษาไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการพูดได้ หรือพูดได้แต่ไม่คล่องแคล่ว ทำให้เกิดความชะงักในการสื่อสาร นักศึกษาขาดความมั่นใจ และมีคลังคำศัพท์ที่ไม่เพียงพอต่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แม้ว่าจะเรียนรู้การวิเคราะห์ไวยากรณ์และการท่องจำคำศัพท์ นักศึกษากลับไม่สามารถเรียบเรียงคำและประโยคได้ และใช้เวลาค่อนข้างนานในการสื่อสาร อันเนื่องมาจากการขาดการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งในและนอกชั้นเรียน ณัชปภา (2561) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ค่านิยมของคนไทยมักจะเน้นการศึกษาเพื่อทำให้ตนเองมีสถานะภาพทางการศึกษาเท่าเที่ยมกับผู้อื่น โดยขาดความคำถึงการพัฒนาคุณภาพและความสามารถที่ตนจะได้รับการศึกษาอย่างแท้จริง โดยในระดับโรงเรียนมักจะมุ่งเน้นไปที่การทำข้อสอบให้ผ่านมากกว่าการเรียนภาษาเพื่อให้สามารถนำไปสื่อสารในชีวิตจริงได้ ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานระดับ CEFR ของนักเรียนที่อยู่ในลำดับที่89จาก100ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระดับที่ต่ำ (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563)

ดังนั้น การศึกษาและพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นให้ผู้เรียนสื่อสารได้ ในการทำการวิจัยในครั้งนี้ จะมุ่งเน้นไปที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ในการสอนทักษะการฟัง เป็นการสอนทักษะการฟังที่ให้ความสำคัญของข้อมูล กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถจับใจความสำคัญจากการฟัง โดยเริ่มต้นจากการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งอาจจะจับใจความได้ไม่ครบถ้วน แต่สามารถระบุใจความหลักได้ ไปจนถึงการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น และเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยการสอนภาษาชนิดนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะทางภาษามาใช้เพื่อการสื่อสารได้ ผ่านกิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้ได้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ปรึกษาหารือกันและช่วยเหลือกันในการทำงาน ตามหลักการถ่ายโอนข้อมูล หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล หลักการประสานต่อ และหลักการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้ เพื่อให้กิจกรรมที่ใช้ในการสอนทักษะการฟังและจับใจความสำคัญเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง หรือการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย ส่วนมากเป็นกิจกรรมกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการปฏิสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. หลักการถ่ายโอนข้อมูล เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้รับจากการฟังมาถ่ายทอดต่อผู้อื่นเท่าที่จำได้ โดยไม่จำเป็นต้องจำได้ครบ 2. หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนเติมข้อมูลสำคัญจากการฟัง และมีการทำงานเป็นกลุ่ม 3. หลักการประสานต่อ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้รับจากการฟัง มาถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมกลุ่ม และนำสารจากเพื่อนร่วมกลุ่มมาเติมเต็มใจความสำคัญจากการฟังให้สมบูรณ์ และ 4. หลักการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นกิจกรรมที่นักเรียนนำข้อมูลจากการฟังและจับใจความจากสมาชิกแต่ละคน มาสร้างชิ้นงาน

จากแนวคิดและความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเน้นทักษะการฟังและจับใจความตามทฤษฎีของคีธ จอห์นสัน คณะผู้จัดทำมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ผ่านการสอนทักษะการฟังและจับใจความ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการฟัง และจับใจความ สามารถนำข้อมูลจากการฟังไปใช้ในการสื่อสารเป็นภาษานานาชาติให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโดยจำแนกตามเพศและประสบการณ์ในการเรียน

สมมติฐานการวิจัย

นักเรียนที่มีเพศและประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

แตกต่างกัน

ขอบเขตการวิจัย

ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ไว้ดังนี้

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จากการนำทฤษฎี คีธ จอหน์สัน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้น ดังนี้

1.1 หลักการการถ่ายโอนข้อมูล

1.2 หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล

1.3 หลักการการประสานต่อ

1.4 หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

1.5 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จำนวน 431 คน

2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เป็นจำนวน 117 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย

3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ สถานภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

3.1.1 เพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง

3.1.2 ประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

3.1.2.1 น้อยกว่า 3 ปี

3.1.2.2 3-5 ปี

3.1.2.3 มากกว่า 5 ปีขึ้นไป

3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ การการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ประกอบไปด้วย 5 ขั้น

3.2.1 หลักการการถ่ายโอนข้อมูล

3.2.2 หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล

3.2.3 หลักการการประสานต่อ

3.2.4 หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

3.2.5 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

4. ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ระยะเวลา ปีการศึกษา 2563 ตั้งแต่ เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ 2564

นิยามศัพท์เฉพาะ

การศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ผู้วิจัยได้กำหนดคำนิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้

1. การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ในการสอนทักษะการฟัง

2. ทักษะการฟัง หมายถึง การฟังสารและสามารถระบุใจความสำคัญจากสารได้

3. นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน ผู้รับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

4. เพศ หมายถึง ลักษณะที่บอกให้ใครๆ รู้ว่า บุคคลนั้นๆ เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทักษะในการในการฟัง และจับใจความสำคัญ

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทัศนคติที่ดีต่อการทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษมากขึ้น

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้

1. เอกสารเกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้ทักษะการฟัง

2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการสอนฟัง

3. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตามแนวคิดของคีธ จอหน์สัน

4. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตัวยู

5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. เอกสารเกี่ยวข้องกับเทคนิคความสามารถในการใช้ทักษะการฟัง

เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ

ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ

เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)

- การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นใด้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่(ด้ยิน โคยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Castal Listening) และการฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน "สาร" ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา

- ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ

1.เทคนิควิธีปฏิบัติ

สิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนควรพิจารณาการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ

1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภายาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ"

สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์

1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง (Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง (While-listening)

กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) : การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำกามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฏอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง

2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้

-ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง

-ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น

-ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง

-ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ

-ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค

-ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น

-ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้

3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น

สรุป

การสอนทักษะการฟัง

การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นการฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบ อ่านหรือเขียนได้ ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอและจริงจัง

ทักษะการฟัง หมายถึงความสามารถในการจับประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เพราะผู้เรียนต้องเข้าใจสาระสำคัญจากสิ่งที่พูดอารมณ์และความคิดเห็นของผู้พูดและสามารถตอบสนองระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดหรือบริบทของการพูดได้

คุณค่าของการฟังคือเป็นเรื่องสำคัญมากที่เด็กๆจะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบันหรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย ถ้าระดับยากเกินไปเด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกไปก็ได้

2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการสอนฟัง

1. ความสำคัญของการฟังและการสอนฟัง

มอร์เลย์ (Morley, 2001) กล่าวถึงการยกระดับความสำคัญของทักษะการฟังความเข้าใจโดยอ้างถึงการสัมมนาซึ่ง AILA (International Association Linguistic) จัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ที่เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในการสัมมนา AILA ได้เสนอให้ทักษะการฟังเป็นทักษะพื้นฐานเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ทำให้ทักษะการฟังมีความสำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการยืนยันของบราวน์ (Brown) ใน ค.ศ. 1987 พบว่า ในด้านการฟังเพื่อความเข้าใจ (listening comprehension) นั้น โรงเรียนในหลาย ๆ ประเทศยังไม่ให้ความสำคัญและฝึกฝนอย่างจริงจัง มอร์เลย์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เราจะไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดได้เลยถ้ายังฟังไม่รู้เรื่อง เนื่องจากไม่รู้ว่าคู่สนทนาพูดอะไรจึงไม่รู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไร ที่ผ่านมาดูเหมือนทักษะฟังไม่สำคัญต่อการสื่อสารเพราะถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพูด จึงเรียกว่าทักษะฟัง-พูด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการฟังนั้นซับซ้อนยากที่จะเข้าใจ ถ้าเป็นเจ้าของภาษาคงไม่มีปัญหาเพราะในการสนทนาสามารถเข้าใจฟังคู่สนทนาได้อย่างรวดเร็วและโต้ตอบได้ทันที แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ฟังไม่ใช่เจ้าของภาษาย่อมมีปัญหา และในชีวิตจริงมนุษย์ฟังมากกว่าพูด อ่าน และเขียนเสียอีก แม้ว่าพฤติกรรมการฟังดูเหมือนว่าไม่ซับซ้อนอะไร ทั้งนี้เนื่องจากทักษะการฟังเป็นทักษะการรับสาร (receptive skill) ต่างจากทักษะการพูดเป็นทักษะการแสดงออกหรือผลิตภาษา (productive skill) ด้วยความสำคัญและจำเป็นดังกล่าวในศาสตร์ด้านการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศจึงบรรจุการสอนฟังรวมเป็น 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน

ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างมีประสิทธิภาพต้องคำนึงเสมอว่า ก่อนสอนพูดหรืออ่านต้องสอนฟังก่อน ทักษะการฟังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อไปสู่ทักษะอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้เริ่มเรียน สิ่งจำเป็นคือต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศทักษะการฟังมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้องมากขึ้น เพราะขณะฟังก็จะพยายามทำความเข้าใจและเรียนรู้ไวยากรณ์ไปด้วย ทำให้ยิ่งฟังบ่อยก็ยิ่งทำให้รู้ไวยากรณ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพูดอ่านและเขียนได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าทักษะการฟังเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้ทักษะอื่น ๆ พัฒนาขึ้นได้ นอกจากนั้น ในการเรียนภาษาอังกฤษวิชาการ ทักษะการฟังก็ยิ่งมีความสำคัญต่อผู้เรียนเพราะต้องฟังการบรรยายจากผู้สอนให้เข้าใจ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วนั้น ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังให้แก่ผู้เรียนทุกระดับ

ทฤษฎีการสอนภาษาที่สอง บางทฤษฎีเน้นการฟังมาก่อนทักษะอื่น ๆ เช่น วิธีสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method) เริ่มที่ฟังก่อนแล้วจึงพูด วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (total physical response - TPR) กิจกรรมขั้นแรกผู้เรียนต้องฟังก่อนยังไม่พูดฟังแล้วให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยท่าทางเพราะผู้เรียนยังไม่พร้อมที่จะพูด และวิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ (natural approach) ก็ให้ความสำคัญของช่วงแรกในการเรียนภาษาที่สองเช่นกัน เรียกว่าช่วงเงียบ (silent period) เป็นช่วงของการฟังก่อนเมื่อพร้อมแล้วจึงเริ่มตอบสนองด้วยการตอบสั้น 1 1 คำ หรือวสีสั้น ๆ นักการศึกษาด้านการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศหลายคนเชื่อว่า ถ้าให้ผู้เรียนพูดทั้ง ๆ ที่ยังไม่พร้อมจะทำให้พูดไม่ถูก เกิดความวิตกกังวลและมีแนวโน้มที่จะพูดภาษาที่หนึ่งมากกว่าภาษาที่สองหรือพูดภาษาที่หนึ่งผสมภาษาที่สอง

2. ภาษาศาสตร์จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการฟัง

2.1 มิติของการฟัง

มอร์เลย์กล่าวว่า การฟังเพื่อการสื่อสารเป็นกระบวนการ ’active’ ไม่ใช่ passive’ ในการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ ผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความสามารถในการฟังเพื่อการสื่อสารอย่างชัดเจนไม่ใช่เป็นเพียงทักษะที่ควบกับทักษะอื่น มอร์เลย์ยังกล่าวถึงมิติของการฟังด้านจิตวิทยา ประกอบไปด้วย 3 มิติดังนี้

2.1.1 การฟังที่เป็นการสื่อสารสองทาง (bidirectional listening mode) หมายถึงการฟังที่มีผู้พูดผู้ฟัง เช่น การฟังการสนทนาแบบเผชิญหน้า (face-to-face) และการฟังการสนทนาทางโทรศัพท์

2.1.2 การฟังที่เป็นการสื่อสารทางเดียว (unidirectional listening mode) หมายถึงการฟังข้อมูลทางเดียว เช่น การฟังสื่อต่าง ๆ ได้แก่ การฟังวิทยุ โทรทัศน์ ประกาศ ข่าว ละคร ภาพยนตร์ และดนตรี รวมถึงการฟังเครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัติ (answering machine) การฟังลักษณะนี้ ผู้ฟังจะโต้ตอบสิ่งที่ฟังในใจ เป็นการพูดกับตัวเอง หรือเป็นการวิเคราะห์สิ่งที่ได้ยิน

2.1.3 การฟังที่เป็นการสื่อสารกับตนเอง (auto-directional listening mode) การฟังลักษณะนี้คล้ายกับการฟังที่เป็นการสื่อสารทางเดียว คือฟังแล้ววิเคราะห์ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ฟังใหม่อีกครั้งเพื่อหาข้อมูล วางแผนใช้กลวิธีในการตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าพิจารณาลักษณะของการฟังทั้ง 3 มิติ การฟังไมใช่ลักษณะที่แสดงออกไม่ได้(passive) จะเห็นได้จากลักษณะของการฟังเป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูล การวิเคราะห์และตีความข้อมูล และการที่ผู้ฟังจะสามารถฟังเพื่อความเข้าใจหรือฟังเพื่อการสื่อสารได้นั้นผู้ฟังยังต้องใช้กลวิธีในการฟัง (listening strategy) อีกด้วย ซึ่งกลวิธีต่าง ๆ ก็ต้องได้รับการฝึกฝนจึงจะใช้ได้ ส่วนการประยุกต์ใช้มิติทางด้านจิตวิทยาการฟังทั้ง 3 มิตินั้น ผู้สอนต้องนำมาประยุกต์ใช้กับการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศทั้ง 3 มิติโดยเฉพาะลักษณะที่สามจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการฟังตามสไตล์ของตนเอง

2.2 หน้าที่ของการฟังทางด้านจิตวิทยา แบ่งเป็น 2 อย่าง ดังนี้

2.2.1 การฟังที่ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ (transactional listening) หมายถึงการฟังข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฟังขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ฟังการอธิบาย บรรยาย คำสั่งและอื่นๆ เนื่องจากเป็นการฟังที่ไม่มีการโต้ตอบผู้พูดจึงมักใช้การตรวจว่าผู้ฟังเข้าใจหรือฟังได้ชัดเจนหรือไม่ด้วยคำถามหรือการสังเกตการปฏิบัติตามที่ฟัง

2.2.2 การฟังที่มีการปฏิสัมพันธ์ (interactional listening) หมายถึง การฟังที่มีการโต้ตอบ เช่น การสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การฟังทั้ง 2 อย่าง โดยเฉพาะการฟังที่มีการปฏิสัมพันธ์ ครูต้องแนะนำมารยาทผู้พูด ผู้ฟัง และการพูดโต้ตอบที่เหมาะสมตามสถานการณ์และกาลเทศะ

2.3 กระบวนการทางด้านจิตวิทยาของการฟัง

2.3.1 กระบวนการจากล่างขึ้นบน (bottom up) เป็นการฟังที่ผู้ฟังให้ความสนใจกับทุกรายละเอียดของสิ่งที่ฟัง ได้แก่ ความหมายศัพท์ โครงสร้างและข้อความต่าง ๆ เช่น การฟังการเล่าเรื่องตลกอย่างตั้งใจเพื่อที่จะรู้ว่าจะหัวเราะตอนใด ฟังข้อมูลการขับรถอย่างตั้งใจจากครูในการเรียนขับรถครั้งแรก

2.3.2 กระบวนการจากบนลงล่าง (top down) เป็นการฟังเพื่อความเข้าใจโดยการอาศัยความรู้เดิมเพื่อการอนุมานสิ่งที่กำลังฟังว่าเกี่ยวกับอะไร เช่น ฟังคนคุยกันในงานค็อกเทลปาร์ตี้ ฟังขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยที่ประกาศบนเครื่องบินที่ได้ฟังบ่อยครั้งแล้วจึงไม่จำเป็นต้องตั้งใจฟังทุกคำ

ปีเตอร์สัน (Peterson, 2001) แนะนำแบบฝึกหัดเพื่อพัฒนากระบวนการ

ฟังจากล่างขึ้นบนและกระบวนการฟังจากบนลงล่าง สำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ ดังนี้

1. กระบวนการฟังจากล่างขึ้นบน

แบบฝึกหัดที่ 1 แยกเสียงเน้นหนักในประโยค

- ครูแจกประโยคที่ยังไม่มีเครื่องหมายอะไรเลย ให้ผู้เรียนฟังประโยคแล้วใส่เครื่องหมายมทัพภาค () ปรัศนี (?) หรืออัศเจรีย์ (I!)

แบบฝึกหัดที่ 2 ฟังแล้วแยกหน่วยเสียง

- ฟังคำแต่ละคู่ที่มีเสียงใกล้เคียงกัน แล้วให้ผู้เรียนวงกลมคำที่ได้ยิน

แบบฝึกหัดที่ 3 ฟังแล้วบอกเสียงท้ายคำ

- ฟังคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s หรือ es แล้วเขียนสัญลักษณ์การออกเสียง /2/, /s/ หรือ /ez

- ฟังประโยคแล้วตัดสินใจว่า คำกริยาที่ได้ยินเป็นคำกริยาช่องที่ 1 หรือคำกริยาที่เติม ed (ช่องที่ 2 โดยให้เขียนสัญลักษณ์การออกเสียงคือ /t/, /d/ หรือ /ed/

แบบฝึกหัดที่ 4 ฟังแล้วนับจำนวนคำและพยางค์ที่ออกเสียงเน้นหนัก

- ฟังรายการโฆษณาสั้น ๆ จากวิทยุ แล้วนับจำนวนพยางค์ด้วยการขีดเส้นใต้แต่ละพยางค์ หลังจากนั้นฝึกอ่านโฆษณาตามที่ได้ยินในวิทยุ

แบบฝึกหัดที่ 5 ฟังแล้วบอกคำโยงความในประโยค (sentence fller)

- ฟังประโยคแล้วบอกคำโยงความในประโยค เช่น well, I mean, like หรือ you know

แบบฝึกหัดที่ 6 ฟังแล้วเก็บรายละเอียดจากเนื้อหาที่ฟัง

-. ฟังเกี่ยวกับโปรแกรมรายการภาพยนตร์ ละครหรือรายการแสดงต่าง ๆ แล้วบันทึกข้อมูลที่สำคัญ เช่น วัน เวลา สถานที่ของรายการต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกอากาศวันไหน เวลาใด ออกอากาศทางโทรทัศน์ช่องใด

- ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยแล้วบันทึก

2. กระบวนการฟังจากบนลงล่าง

แบบฝึกหัดที่ 1 ฟังแล้วบอกอารมณ์ของผู้พูด

- ฟังข้อความเกี่ยวกับการไปพักผ่อนไปวันหยุดแล้วบอกได้ว่าอารมณ์ของผู้พูดสนุกหรือไม่

แบบฝึกหัดที่ 2 ฟังแล้วสรุปใจความสำคัญ

- ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับฤดูต่าง ๆ แล้วบอกได้ว่าฤดูใด หรือฟังบทสนทนาแล้วเลือกภาพที่สอดคล้องกับบทสนทนา

- ฟังบทสนทนาแล้วบอกได้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ใด

- ฟังข้อความ 2-3 ข้อความแล้วตั้งชื่อข้อความเหล่านั้น หรือสรุปใจความสำคัญ

แบบฝึกหัดที่ 3 ฟังแล้วบอกได้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

- ฟังบทสนทนาสั้น ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันแล้วบอกว่าบทสนทนานั้นพูดเกี่ยวกับอะไร

- ฟังขั้นตอนหรือกระบวนการในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นขั้นตอนการปรุงอาหาร แล้วจับคู่ภาพให้ตรงกับประโยค

แบบฝึกหัดที่ 4 เชื่อมโยงคำศัพท์ที่คุ้นเคยกับเรื่องที่ฟัง

- ฟังเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าแล้วทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับสินค้าที่ขายในร้านค้าต่าง ๆ

- ฟังข้อความแล้วบอกได้ว่าผู้พูดต้องการซื้อสินค้าใดหรือเลือกภาพตรงกับที่ผู้พูดต้องการซื้อแบบฝึกหัดที่ 5 ฟังแล้วเปรียบเทียบข้อมูล

- อ่านประโยคแล้วฟังเสียงประโยคที่ใกล้เคียงกับประโยคที่อ่าน แล้วบอกได้ว่าประโยคทั้งสองเหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนบ้าง

แบบฝึกหัดที่ 6 ฟังแล้วเปรียบเทียบข้อมูลกับประสบการณ์ส่วนตัว

- ฟังข้อความเกี่ยวกับการรีไซเคิลในสหรัฐอเมริกาแล้วเปรียบเทียบกับการรีไซเคิลในประเทศตนเอง

1. แนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

อุไรวรรณ ศรีธิวงค์ (2559) การสอนภาษาอังกฤษเป็นการสื่อสารหมายถึงการสอนภาษาอังกฤษที่ผู้สอนกำหนดสถานการณ์การเรียนรู้ภาษาจากสถานการณ์ที่สมจริง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการสื่อสารจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับสื่อ ผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้คนนอกห้องเรียน โดยให้ความสำคัญกับหน้าที่ของภาษา บริบททางภาษาศาสตร์ และบริบททางสังคมหรือสถานการณ์ ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นกิจกรรมการสื่อสารที่สมจริง

2. ความสามารถในการสื่อสาร (Communicative competence)

อุไรวรรณ ศรีธิวงค์ (2559) การสอนภาษาตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นการสอนที่เน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าเน้นถึงหลักเกณฑ์การใช้ภาษา อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาและความถูกต้องไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการเรียนการสอนแนวดังกล่าวนี้จึงต้องเน้นการทำกิจกรรมเพื่อการฝึกฝนการใช้ภาษาให้ใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด เช่นมีการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้สนทนาโต้ตอบกันเป็นคู่ กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ มีการสวมบทบาท การเล่นเกมส์ เป็นต้น และการที่ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้เรียนต้องมีทักษะความสามารถทั้ง 4 ด้าน คือด้านความสามารถในด้านกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ ด้านความสามารถทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม ด้านความสามารถทางความสัมพันธ์ของข้อความ และด้านความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย

3. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตามแนวคิดของคีธ จอหน์สัน

3. การสอนการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษ

3.1 เอกสารที่เกี่ยวกับการฟัง

ความหมายของการฟัง การฟังเป็นทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งในการเรียนรู้กาษาและมักเป็นทักษะ

แรก การฟังเป็นทักษะการรับสาร ซึ่งมีผู้ที่ให้ความหมายไว้มากมาย เพื่ออธิบายว่า การฟังว่าเป็นการรับรู้ ข้อมูลโดยกระบวนการรับข่าวสารที่ได้ยิน ทำความเข้าใจ แล้วพร้อมที่จะแสดงปฏิกิริยาโด้ตอบ จากการให้ความหมายคังต่อไปนี้อาจทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการฟังมากขึ้น

เมอร์พี (2533 : 1) ได้กล่าวถึงการฟังว่า หมายถึง กระบวนการที่เคลื่อนไหวไม่รู้จักหยุดโดยเริ่มจากการที่คนหนึ่งได้ยิน หรือสังเกตในสิ่งที่อีกคนหนึ่งกล่าว จากนั้นก็มีการเก็บและลำดับข้อมูล แล้วเริ่มต้นใหม่ เมื่ออีกคนโด้ตอบออกมา

ชูเกียรติ จารัตน์ (2535 : 11) การฟัง หมายถึงกระบวนการรับข่าวสาร (message) ที่มากระทบโสตสัมผัสแล้วสร้างความสำคัญ หรือความหมายของข่าวสารที่ได้ยิน ผู้ฟังจะต้องมีความสามารถเข้าใจคำพูดที่ผู้พูดออกมา ซึ่งต้องพิจารณาถึงจุดประสงค์ของผู้พูด ความสัมพันธ์ของประโยคที่ได้ยินกับข่าวสารของผู้พูดตลอดจนพิจารณาถึงวัฒนธรรมผู้พูดด้วย

วาทินี ศรีแปะบัว (2538 : 22) ให้ความหมายการฟังว่า หมายถึง การให้ข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจดียิ่งขึ้น และเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด ผู้ฟังจะต้องเข้าใจความหมายของข้อมูลให้ชัคเจน และทำให้เกิดการสร้างสรรค์ และจะประสบผลสำเร็จมากขึ้นถ้าผู้ฟังคุ้นเคยกับภาษาและวัฒนธรรมที่รับรู้มาก่อน

สมลักษณะ สว่างโรงน์ (2541 : 17) ได้ให้ความหมายของการฟังว่า หมายถึง กระบวนการของ

การเคลื่อนไหว โดยเริ่มจากเมื่อเราได้ยิน หรือสังเกตสิ่งที่พูดออกมา แล้วนำข้อมูลมาเก็บและเทียบเคียงกับ

ข้อมูลที่มีอยู่ก่อนจะเริ่มแสดงปฏิกิริยากลับไป

จากความหมายจึงกล่าวสรุปว่าการฟัง คือ กระบวนการรับข่าวสาร ข้อมูล ที่กระทบโสตสัมผัสแล้วสร้างความสำคัญให้มีความหมาย อาจใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ยินและรับรู้มากขึ้นคามจุดประสงค์ของการรับชัอบูล และเก็บลำคับข้อบูลพื่อพิจารณาแสคงปฏิกิริยากลับไป

กระบวนการในการฟัง

การรับรู้ด้วยการฟังเป็นการฟังเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน การฟังที่มีประสิทธิภพนั้นจะต้องมาจากกระบวนการฟังที่สมบูรณ์ ดังจะได้เห็นจากกระบวนการดังต่อไปนี้

อวยพร พานิช และคณะ (2532 : 32) ได้กล่าวถึงกระบวนการในการฟังว่า การฟังเป็น

กระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน 5 ระดับ ได้แก่

1. การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท (hearing)

เสียงพูดหรือเสียงใด ๆ จะผ่านหูไปกระทบประสาท ในขั้นนี้ยังไม่เรียกว่า การฟัง(listening) เพราะการฟังนั้นกินความไปถึงการรับรู้และเกิดความเข้าใจต่อไปด้วย

2. การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น (concentration)เมื่อเสียงกระทบโสตประสาท และเราพุ่งความสนใจที่จะฟัง เราก็สามารถรับรู้เรื่องราวหรือสาระที่เกิดจากเสียงนั้นได้

3. การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน (comprehension)

4. การตีความสิ่งที่ได้ยินตามความคิด ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ฟัง (interpretation)

5. การตอบสนองต่อสารที่ได้ยิน (reaction)

อาจเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้

ภาพที่ 1 แสดงกระบวนการฟัง

จากกระบวนการฟังที่กล่าวถึงสรุปได้ว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน เริ่มจากการได้ยินเสียง รับรู้ตระที่เกิดจากเสียง เข้าใจด้วยการตีดวามตามความคิด ความรู้ ประสบการณ์แล้วมีการตอบสนองต่อสารที่ ได้ยิน

วัตถุประสงค์ในการฟัง

การฟังที่ไม่มีจุดมุ่งหมายเป็นการฟังที่ปราศจากความหมาย เนื่องจากข้อความหรือสารทีได้รับนั้นจะเลือนหายไป ไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับ หรืออาจเรียกได้แต่ว่าเป็นการไว้ยิน ดังนั้นการฟังนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน พอที่จะแยกเป็นประเกทได้

อวยพร พานิช และคณะ (2548 : 33-34) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการฟังว่า จะมีความ

แตกต่างนั้นจะขึ้นอยู่กับเนื้อหาของสารที่จะฟัง อังนั้นวัตถุประสงค์อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเกท

1. การฟังอย่างจำแนก (discriminative listening)

ได้แก่ การฟังอย่างแยกแยะให้เห็นความแตกต่าง เห็นลำดับประเภทของสารที่ฟัง ใช้สำหรับสารที่ให้ความรู้หรือข้อมูลแก่สู้ฟัง มีวิธีการฟังดังนี้ คือ

1.1 พุ่งจุดสนใจไปที่สาระสำคัญของสาร พยายามจัดประเด็นสำคัญนั้น ๆ ให้ได้

1.2 ทุ่งจุคสนใจที่การจัดระเบียบการพูด เพื่อจะดูความสุมพันธ์ของหัวข้อต่าง ๆ

1.3 ตอบสนองผู้พูด เพื่อให้เขารับทราบความเข้าใจของผู้ฟัง

1.4 ตั้งคำถามเพื่อความกระจ่าง

2. การฟังอย่างประเมินค่า (evaluate listening)ได้แก่ การฟังที่ใช้ปัญญา ความคิดพินิจพิจารณาไตร่ตรอง เพื่อวิพากบัวิจารณ์สิ่งที่ได้ฟังว่ามีคุณค่าอย่างไร ดีไม่คือย่างไร น่าเชื่อถือหรือมาเพียงไร การฟังประเภทนี้มักใช้กับสารที่มุ่งโน้มน้าวชักจูงใจเป็นสำคัญ วิธีการฟังอย่างประเมินค่า ผู้ฟังควรเพิ่มพูนดวามรู้ในหัวข้อที่จะฟังถ่วงหน้า ในขณะฟังควรเรียนรู้และจำยุทธวิธีที่ผู้โน้มน้าวใจใช้ เช่น การให้เหตุผล การใช้บุคลิกส่วนตัวเป็นต้น และสามารถอธิบายกลวิธีการใช้ความจริงบางส่วน และการโฆษณาชวนเชื่อ รวมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงค้านความเชื่อและทัศนคติที่เกิดขึ้นภายหลังการฟังด้วย

3. การฟังอย่างนิยมชมชื่น (appreciative listening)ได้แก่ การฟังเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและดวามจรรโลงใจ มักใช้กับสารที่ให้ความบันเทิงทั่ว ๆ ไป วิธีการฟังประเกทนี้ ผู้ฟังต้องใส่ใจกับสารนั้นให้มาก และปรับทัศนคติค้าน

การรับรู้ ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เหมาะสม คือ ทำร่างกายและจิตใจให้คล้อยตามสารไปด้วย

4. การฟังอย่างเข้าใจและเห็นใจผู้พูด (empathic listening)

ได้แก่ การฟังผู้หนึ่งผู้ใดระบายดวามรู้สึก อารมณ์ ความคิดของเขา อย่างเข้าใจ เห็นใจและพร้อมจะช่วยเหลือ เช่น นักฟังประเกททนายความ จิตแพทย์ วิธีการฟังประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงเป็นต้น และสามารถอธิบายกลวิธีการใช้ความจริงบางส่วน และการโฆษณาชวนเชื่อ รวมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อและทัศนคติที่เกิดขึ้นภายหลังการฟังด้วย

3. การฟังอย่างนิยมชมชื่น (appreciative listening)

ได้แก่ การฟังเพื่อให้เกิดความเพลิคเพลินและความจรรโลงใจ มักใช้กับสารที่ให้ความบันเทิงทั่ว ๆ ไป วิธีการฟังประเภทนี้ ผู้ฟังต้องใส่ใจกับสารนั้นให้มาก และปรับทัศนคติ ด้านการรับรู้ ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้หมาะสมกับสาร คือ ทำร่างกายและจิดใจให้คล้อยตามสารไปด้วย

4. การฟังอย่างเข้าใจและเห็นใจผู้พูด (empathic listening)ได้แก่ การฟังผู้หนึ่งผู้ใดระบายความรู้สึก อารมณ์ ความคิดของเขา อย่างเข้าใจ เห็นใจและพร้อมจะช่วยเหลือ เช่น นักฟังประเภททนายความ จิตแพทย์ วิธีการฟังประเภทนี้ ควรหลีกเถี่ยงการตัดสิน เพราะผู้พูดไม่ต้องการการตัดสินที่เนื้อหา แต่ต้องการอธิบายหรือระบายข้อมูลต่าง ๆ ออกมานอกจากนั้น ควรให้เวลาแก่ผู้พูดมาก ๆ และสนใจตัวผู้พูดมากกว่าข้อมูล ข่าวสารที่พูด วิธีการฟัง

ประเภทนี้มักใช้กับกลุ่มสื่อสารขนาดเล็กมากกว่าการสื่อสารในที่สาธารณะสรุปได้ว่าวัตถุประสงค์ในการฟังนั้นขึ้นอยู่กับผู้ฟังว่าจะมีการรับรู้ในเนื้อหาของสารนั้น

อย่างไร อาจจะฟังเพื่อแยกแยะหาความกระจ่าง ฟังเพื่อประเมินค่าที่ต้องใช้ปัญญา และความคิดใน

การตัดสินว่ามีคุณค่าอย่างไร อาจฟังเพื่อความบันเทิงให้เกิดความเพลิดเพลินใจ หรือฟังเพื่อความเข้าใจ

และเห็นใจผู้พูด ซึ่งอาจต้องใช้อารมณ์และความรู้สึก เป็นต้น การฟังภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

การฟังภาษาต่างประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก เนื่องจากข้อมูลหรือสารที่ใว้รับนั้นอาจมีความแตกต่างกันในด้านเสียงที่ความเร็วหรือช้า ผู้ฟังจะต้องมีทักษะและความสามารถในการรับสารพอสมควร จากการฝึกทักษะการฟังภาษาต่างประเทศเป็นประจำ ฟังจากสื่อที่หลากหลายและมีความแตกต่างนั้นก็จะช่วยให้ผู้ฟังรับสารได้ดีขึ้น

พอสสตัน และคณะ (Paulson and others. 1976. ; อ้างอิงใน สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2537 :

159-160) การฟังเป็นทักษะรับสารที่สำคัญ เป็นทักษะที่ต้องใช้มากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้ฟังต้องฟังให้เข้าใจก่อนถึงจะสามารถพูดโด้ตอบ อ่านหรือเขียน ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ จังนั้นการเรียนการสอนจึงควรได้รับการฝึกทักษะการฟังให้เพียงพอ ที่ได้เสนอแนะขั้นตอนในการฝึกทักษะการฟังสรุปได้ดังนี้

1) กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนและให้ผู้เรียนได้รู้จุดมุ่งหมายของการฝึกทักษะการ

ฟัง ผู้สอนจะต้องแจ้งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จุดมุ่งหมายเฉพาะหรืองานที่จะทำหลังจากการฟังแล้วเช่น

ผู้เรียนจะต้องรู้ว่าเมื่อฟังจบแล้ว จะต้องตอบคำถาม หรือทำแผนภูมิเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง เป็นต้น

2) ให้ผู้เรียนฟังข้อความหรือเรื่องราวที่เตรียมไว้ ข้อความที่ฟังควรเป็นข้อความที่ใช้อัตราความเร็วปกติ และควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ฟังซ้ำ ซึ่งจะฟังช้ำกี่ครั้งนั้นขึ้นอยู่กับความยาวและความยากง่ายของเรื่องที่ฟัง ลักษณะงานที่ให้ทำ และความสามารถของผู้เรียน

3) ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหรืองานที่มอบหมายให้ หลังจากการฟังแล้ว

4) ผู้สอนให้คำดิชมในงานของผู้เรียน เช่น เฉลยคำตอบ หรือให้ผู้เรียนได้แก้ไขคำตอบที่ผิดด้วยตนเอง

ฟินอกเชียโร และ บรัมฟิต (Finocchiaro and Brumfit. 1980. ; อ้างอิงใน สุมิตรา อังวัฒนกูล. 2537 :160) ซึ่งได้เสนอแนะกิจกรรมในการสอนทักษะการฟัง สรุปได้ดังนี้

1 ให้ฟังคำสั่งที่ใช้ในการเรียนการสอนของครู เช่น การถามคำถาม และกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนองอย่างเหมาะสม ฟังการบอกแนวทางในการปฏิบัติ การอธิบายภาพ การเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการบอกแนวทางในการทำกิจกรรมของครูเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น

2) ให้ฟังเพื่อนคนอื่นถามคำถาม สรุปเรื่อง หรือเล่าเรื่องต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ

3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงละคร หรือการสนทนาต่างๆ

ความสามารถในการฟังภาษาต่างประเทศ

ปฏิกิริยาโด้ตอบหลังจากที่ได้ฟังนั้นบ่งบอกถึงความสามารถในการฟังภาษาต่างประเทศ

ซึ่งความสามารถในการฟังนั้นแบ่งออกเป็นระดับ ๆ ดังต่อไปนี้

แวลเล็ท และ ดิสิด (Valette and Disick. 1972 : 141-142) ได้แบ่งระดับความสามารถใน

การฟังภาษาต่างประเทศออกเป็น 5 ระดับดังนี้

1. ระดับกลไก (mechanical skill) เป็นพฤติกรรมภายในที่อยู่ในระดับการรับรู้ จากการได้ยินเสียงผู้ฟังมีความสามารถในการแยกแยะให้ความแตกต่างระหว่างภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมาย

2. ระดับความรู้ (knowledge) เป็นระดับที่ผู้ฟังเข้าใจความหมายของคำหรือประโยคที่ได้เรียนมา สามารถปฏิบัติตามคำสั่งที่คุ้นเคย และสามารถจับคู่ประโยคหรือคำพูดที่ได้ยินกับรูปภาพที่คล้องของและเหมาะสมได้ ผู้ฟังสามารถเลือกประโยดในภาษาต่างประเทศที่มีความหมายเหมือนประโยคที่ได้ยินจากการฟังครั้งเดียวได้

3. ระดับถ่ายโอน (transfer) เป็นระดับที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจโครงสร้างประโยคที่แต่ขึ้นใหม่ หรือเรียบเรียงประโยดได้โดยใช้ศัพท์และไวยากรณ์ที่เรียนมา มีความสามารถในการเลือกคำตอบได้ถูกต้อง เช่น เลือกคำหรือข้อความที่เหมาะสมเพื่อตอบคำถามหรือข้อความในประโยคได้ และสามารถฟังและมีความเข้าใจข้อความยาวๆ หรือหลาย ๆ ประโยคได้

4. ระดับสื่อสาร (communication) ในระดับนี้ผู้ฟังสามารถเข้าใจคำสั่ง และดำอธิบายที่เป็นภาษาต่างประเทศได้ และเข้าใจความหมายโดยทั่วไปของข้อความที่มีคำศัพท์ไหม่ที่ไม่คุ้นเคย โดยการคาดหมายจากรากศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันสามารถทายและเดาความหมายประโยกที่ไม่เข้าใจและมีทักษะในการติมเนื้อหาที่มิอาจได้ยินอย่างชัดจนได้ และยังสามารถที่จะสื่อความหมายกับเจ้าของภาษาได้ด้วย พฤติกรรมขั้นสูงสุดในระดับนี้ คือ ผู้ฟังสามารถข้าใจคำพูดของเจ้าของภาษาในบทละคร บทภาพยนตร์ รายการวิทยุและโทรทัศน์ได้

5. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ (criticism) การฟังในระดับนี้ผู้ฟังสามารถวิเคราะห์รูปแบบข้อความหรือภาษาที่ได้ยินและแยกแยะใด้ว่าเป็นมาตรฐานภามาพูดของชนชั้นใด ภาษานั้นใช้ในถิ่นใด สามารถข้าใจความหมายตรงและความหมายแฝง (explicit and implicit meaning) ใจความแตกต่างของความหมายจากระดับเสียงสูง- ต่ำ เสียงเน้นหนักของคำพูดที่ได้ยินที่บ่งบอกถึงอารมณ์และน้ำเสียงของผู้พูด

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน

หลักการจัดกิจกรรม

การเรียนการสอนภาษาตามแนวคิดตามแนวคิดเพื่อการสื่อสารมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนนำความรู้ทางภาษาไปใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม มีกระบวนการฝึกปฏิบัติด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสดงความคิด ความรู้สึก เจตคติและความต้องการของผู้เรียน มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ โดยใช้สื่อจริง ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกลุ่ม มีผู้สอนคอยเนะนำ ช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษา ส่งเสริมในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จ การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน (Keith Johnson 1982 : 163-175) ที่นำเสนอหลักการการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษา (Communicative language competence) มีหลักการ 5 ประการดังต่อไปนี้

1. หลักการการถ่ายโอนข้อมูล (The information transfer principle) เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเข้าใจและสื่อความหมายโดยยึดหลักการถ่ายโอนข้อมูลจากทักษะหนึ่งไปสู่อีกทักษะหนึ่ง เช่น การฟังไปสู่การพูด ฟังวิทยุแล้วมาเล่าให้ผู้อื่นฟัง หรือการเขียน เขียนข้อความหรือเขียนเป็นแผนภาพให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งกิจกรรมที่ใช้หลักการนี้จะไม่เน้นเรื่องความถูกต้องของรูปแบบหรือโครงสร้างของการใช้ภาษา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง สมาคมกีพาแห่งหนึ่งของเมืองวินตัน ที่เปีดรับสมาชิกทั่วโลก เจ้าหน้าที่ของสมาคมต้องอ่านจดหมายแล้วกรอบข้อมูลของสมาชิกลงในแบบฟอร์มการรับสมัคร ซึ่งเป็นการสื่อสารที่รับข้อมูลโดยการอ่านจดหมายแล้วถ่ายโอนข้อมูลนั้นโดยการเขียนลงในแบบฟอร์ม การสื่อสารก็อาจมีการรับข้อมูลโดยการฟังแล้วก็ถ่ายโอนเป็นการพูดก็ได้

2. หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล (The information gap principle) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ขาคหายไปบางประการ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตนเองต้องการ

ตัวอย่าง การขอข้อมูลของนักเรียนคนที่ 1 จากนักเรียนคนที่ 2 ซึ่งนักเรียนทั้งสองคนมีข้อมูลที่อีกคนหนึ่งไม่มี ต่างคนก็ต้องสื่อสารกันเพื่อให้ใด้ข้อมูลที่ตนเองต้องการ เป็นกิจกรรมที่อาจใช้ในการฝึกทักษะการพูด

3. หลักการการประสานต่อ (The jigsaw principle) เป็นกิจกรรมที่ยึดหลักการที่ผู้เรียนต้องทำงานส่วนที่มีความสัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกับงานของผู้อื่น การนำมารวมกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ เช่น การให้ผู้เรียนฟังเรื่องราวคนละส่วน แล้วนำมารวมและลำดับขั้นตอนเป็นเรื่องที่สมบูรณ์

4. หลักการการปฏิบัติงนตามที่ได้รับมอบหมาย (The task dependency principle) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เป็นการมอบหมายงานที่แตกต่างกันตามขั้นตอนต่างๆของงาน เช่น งานของคนที่ 2 จะต้องใช้งานที่เสร็จแล้วจากคนที่ 1 และคนที่ 3 ก็จะต้องได้รับงานที่เสร็จสิ้นแล้วของคนที่ 2 เพื่อจะทำงานของตนให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์

5. หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (The correction for the content principle)เป็นกิจกรรมที่มีการประเมินกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติมาแล้วว่า กิจกรรมการสื่อสารนั้นถูกต้องเพียงใดผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด โดยมีผู้สอนเป็นส่วนสำคัญในการช่วยการประเมินและการแก้ไขข้อผิดพลาด

จากแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มี 3 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นการนำเสนอ (presentation) เป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยการทำกิงกรรมกิจกรรมทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้ว การบอกจุดประสงค์ในการเรียน นำเสนอศัพท์ใหม่ โครงสร้างประโยคหรือการอ่านและเขียน ในขั้นตอนนี้เนั้นดวามถูกต้องของการใช้ภายา (accuracy)

2. ขั้นการฝึก (practice) ขั้นนี้เป็นการฝึกที่อยู่ในความคูแลของครู (controlled practice) เมื่อเห็นว่าผู้เรียนเข้าใจแล้ว จึงให้ผู้เรียนจับกลุ่มฝึกกันเอง (free practice) ในขั้นนี้ครูไม่ขัดจังหวะ การฝึกของผู้เรียน ถึงแม้จะพบว่ามีข้อผิดพลาด แต่เมื่อฝึกเสร็จแล้วจึงจะแก้ไขภายหลัง เพราะระยะ

นี้ต้องการความคล่องแดล่วในการพูด (fluency)

3. ขั้นการนำไปใช้ (production) เป็นขั้นตอนที่นำความรู้และทักษะภาษาไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การเล่นเกม ร้องเพลง และการทำแบบฝึกหัด ในการสอนแต่ละครั้ง เน้นบูรณาการทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน เช่น

ฟังแล้วพูด : ฟังครูและคู่สนทนา

ฟังแล้วอ่าน : ฟังคำถามแล้วเลือกคำตอบโดยการอ่านคำตอบที่เป็นตัวเลือก

ฟังแล้วเขียน : เขียนคำ วลี หรือประโยคตามบอก

ในแต่ละขั้นตอนของการสอนภามาเพื่อการสื่อสารที่ได้กล่าวถึง ผู้เรียนจะต้องฝึกการใช้ภาษาให้มีความถูกต้องและคล่องแคล่ว ซึ่งผู้เรียนจะสามารถฝึกการใช้ภาษาด้วยตนเอง จังนั้นการนำแนวคิดที่มีหลักการ 5 ประการ ของ คีธ จอห์นสัน ได้แก่ หลักการถ่ายโนข้อมูล หลักการช่องว่างระหว่างข้อมูลหลักการการประสานต่อ หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และหลักการตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหา เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติกิจกรรมการสื่อสาร อย่างเช่นการฝึกทักษะการฟัง-พูด ในขั้นตอนของวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่ได้กล่าวมา 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการนำเสนอของผู้สอนในการใช้ภาษา ขั้นตอนที่ 2 ผู้เรียนจะต้องฝึกการใช้ภาษาด้วยตนเองเพื่อให้มีความคล่องเคล่ว โคยมีหลักการการถ่ายโอนข้อมูลที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเข้าใจและสื่อความหมาย โดยยึดหลักการถ่ายโอนข้อมูลจากทักษะหนึ่งไปสู่อีกทักษะหนึ่ง เช่น การฟังไปสู่การพูด ฟังวิทยุแล้วมาเล่าให้ผู้อื่นฟัง หรือการเขียน เขียนข้อความหรือเขียนเป็นแผนภาพให้ผู้อื่นเข้าใจ และการใช้หลักการช่องว่างระหว่างข้อมูลจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการฝึกการสื่อสารเนื่องกผูเรียนจะได้มีการสื่อสารเลกเปลี่ยนข้อมูลที่ขาดหายไปบางประการ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตนเองต้องการ หลักการการประสานต่อ เป็นกิจกรรมที่ยึดหลักการที่ผู้เรียนต้องทำงานส่วนที่มีความสัมพันธ์กันและเชื่มโยงกับงานของผู้อื่น การนำมารวมกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด โคมีผู้สอนเป็นส่วนสำคัญในการช่วยการประเมินและการแก้ไขข้อผิดพลา และขั้นตอนที่ 3 ขั้นการนำไปใช้ ขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่นำความรู้และเน้นบูรณาการทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียนเพื่อนำทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การเล่นเกม การร้องเพลง และการทำเบบฝึกหัด เป็นต้น เมื่อถึงขั้นสุดท้ายของการปฏิบัติกิจกรรมก็มีการใช้หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเพราะการฝึกทุกครั้งต้องให้ผู้เรียนได้รับทราบถึงความก้าวหน้าในการใช้ภาษาของตนเอง ปัญหาในการฝึกและปฏิบัติกิจกรรม เพื่อการพัฒนาการใช้ภาษาของตนเองต่อไป ก็กล่าวโดยสรุปได้ว่า กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสันมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ใช้ช่องว่างของข้อมูลของแต่ละฝ่ายในการสื่อสาร โคยผู้ส่งและผู้รับสารจะได้สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีไม่เหมือนกัน ที่ต่างคนต่างต้องการ จากการสร้างสถานการณ์ความต้องการข้อมูลของฝ่ายหนึ่งจากอีกฝ่ายหนึ่งก็จะผลักคันให้ทั้งสองฝ่ายมีการสื่อสารเกิดขึ้นในกลุ่ม ผู้เรียนจะส่งเสริมซึ่งกันและกันในการทำงาน นั่นคือ กิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะในการสื่อสารให้มีความคล่องตัวในการใช้ภาบา และฝึกความถูกต้องในการใช้ภาษาในห้องเรียนเพื่อนำภาษาไปใช้ในชีวิตจริง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฟัง-พูดภายาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่นำรูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดหลักของ ดีธ จอห์นสัน ไปใช้ในบางขั้นตอนของวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อเนั้นการใช้ภามาในการสื่อความในสถานการณ์จริง

4. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตัวยู

4.1 ทฤษฎีตัวยู

ชาร์เมอร์ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการจากประเทศสหพันธรัฐเยอรมัน ผู้ก่อตั้งสถาบันให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างผู้นําในองค์กรภาครัฐและเอกชนได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้จากอนาคต เรียกชื่อว่า ทฤษฎีตัวยูเพื่อเสนอเป็นทางออกให้กับการเรียนรู้ในอนาคต ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะวางตัวตามลักษณะการเขียนอักษรตัวยูประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 3 ขั้นตอนจะอยู่ในตำแหน่งทางเดินลงของตัวยูคือ Downloading, Seeing และ Sensing ด้านล่างสุดของตัวยูจะเป็นขั้นตอน Presenting และอีก 3 ขั้นตอนจะอยู่ในตำแหน่งทางขึ้นของตัวยูคือ Crystallizing, Prototyping และ Performing โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ขั้นการรู้ข้อมูลแบบเก่า (Downloading) เป็นการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยวิธีแบบเดิม ๆ จากการ ทําซ้ำ ๆ จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการคิด การปฏิบัติทำให้เรามีวิธีคิด วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ เหมือนคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงคําตอบจากข้อมูลเดิมที่บันทึกไว้แล้วดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทันที

2. ขั้นการมองเห็น (Seeing) เป็นการระงับการตัดสินทันที (Judgment) โดยใช้การเฝ้าสังเกตเพื่อแยกแยะความเป็นจริง เป็นการเปิดจิต (Open Mind) เปิดความคิดและเปิดสายตาให้กว้าง (Seeing)เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ไม่ด่วนตัดสิน ใช้การสังเกตที่ละเอียดถี่ถ้วน โดยมีหลักในการป้องกันการรับรู้และนําความรู้แบบ เดิม ๆ มาใช้คือ

2.1 ใช้คําถามเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และมีความใส่ใจในเรื่องนั้น ๆ (Clarify Question and Intent)

2.2 เข้าไปมีส่วนร่วมในบริบทเพื่อให้เข้าใจประเด็นและจุดที่มีความสำคัญ (Move into the Contexts that Matter)

2.3 อย่าด่วนตัดสินพยายามคิดตามเพื่อเข้าใจและเชื่อมโยงกันมากขึ้น (Suspend Judgment

and Connect to Wonder)

2.4 ใช้การสนทนาเข้ามาช่วยเพื่อนําเข้าสู่การเห็นร่วมกัน (Dialogue : Enter the Space

of Seeing Together) โดยใช้ 3 กิจกรรมที่มีความแตกต่างกัน คือ

2.4.1 ฟังและเชื่อมต่อให้เข้าถึงการฟังอย่างมีปัญญา ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นจริงและเพิ่มความน่าสนใจ

2.4.2 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเองและประสบการณ์ของผู้อื่นโดยนํากระบวนการกลุ่มเข้ามาช่วย (Small-Group Discussions)

2.4.3 มีการประเมินสถานการณ์ร่วมกันก่อนที่จะมีการออกเสียง

3. ขั้นการรับรู้ (Sensing) การเข้าไปในกิจกรรม เข้าไปมีส่วนร่วม สนใจในความแตกต่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงจากการกระทำแบบเดิม ๆ มาสู่กระบวนการคิดแบบใหม่ๆ การกระทำที่แตกต่างไปจากเดิมเปิดหัวใจ (Open Heart) รับรู้ความรู้สึกร่วม (Sensing) เพื่อการเป็นหนึ่งเดียวกันกับสิ่งที่เราสังเกต ด้วยการลุกออกจากมุมมองของเราแล้วเดินไปมองด้านมุมเดียวกับเขา เป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเราโดยที่เราก็ยังเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องคิดเห็นเหมือนกันหมดขั้นตอนนี้จะช่วยให้เกิดความหลากหลายทางความคิดโดยมีหลักการที่จะนําไปสู่การรับรู้ร่วมกัน (Co-Sensing together) คือ

3.1 การเติมให้เต็ม (Charging Container) การให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับรู้ร่วมกันสนทนาเพื่อแสดงออกความคิดเห็น (Dialogue Forum) ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

3.2 การดำดิ่งลงให้ลึก (Deep Diving) เข้าไปมีส่วนร่วม เอาตัวเองไปเป็นเขา แลกเปลี่ยนประสบการณ์

3.3 การเปลี่ยนทิศทางความสนใจ (Redirecting Attention) ให้ความสนใจในสิ่งที่อยู่ระหว่าง

ความแตกต่าง

3.4 การเปิดใจ (Open the Heart) การเข้าไปในระดับความลึกของการรับรู้ของอารมณ์ความรู้สึก ฟังเสียงที่แท้จริงของหัวใจ เพื่อทลายกําแพงกั้นในใจ

4. ขั้นการปรากฏ (Presenting) เชื่อมโยงเข้ากับแหล่งกำเนิด (Source) เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงการกระทำจากที่เคยคิด เคยปฏิบัติแบบเดิม ๆ แต่ให้อยู่กับปัจจุบันที่สุด เราจะเห็นคําตอบมากมายทางเลือกหลากหลายและความเป็นได้ทุกทางในอนาคต ทำให้เราสามารถสร้างจินตนาการ และการกระทำใหม่ ๆ ทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา (Open Will)

5. ขั้นการตกผลึก (Crystallizing) วิสัยทัศน์จุดมุ่งหมาย การมองเห็นสิ่งใหม่จากอนาคตที่ต้องการให้ปรากฏขึ้น เป็นการตกผลึกของความคิดให้ชัดเจนเข้มแข็ง

6. ขั้นการออกแบบ (Prototyping) ร่วมกันสร้างยุทธศาสตร์ของโลกเล็ก ๆ คำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดกับชีวิตคนเป็นสำคัญ สิทธิขั้นพื้นฐาน การนําเอาความคิดนั้นมาปรับเปลี่ยนให้เป็น "ต้นแบบ"และฝังอยู่ภายในตัวตนความคดของเรา

7. ขั้นการแสดงออก (Preforming) ฝังลึกลงในบริบทใหม่ที่มีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ให้ค่อยๆพัฒนาในระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต การนําเอาความคิดและลงมือกระทำทั้งหมด เพื่อนําไปสู่ผลสำเร็จ

(ดังภาพประกอบที่ 1)

ภาพประกอบที่ 1 Three Instruments : Open Mind, Open Heart, Open Will (Scharmer. 2007 : 40)

4.2 ทฤษฎีตัวยูกับการฟัง

ชาร์เมอร์ ได้แบ่งประเภทพื้นฐานของการฟังออกเป็น 4 ระดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. กลุ่มฟังแบบน้ำเต็มแก้ว (Listening is downloading) แสดงออกโดยการโต้ตอบ ว่าสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งที่รู้แล้ว จึงนําเอาความรู้แบบเดิม ๆ จากการรับเอาข้อมูลแบบเดิม ๆ มาใช้ในการตัดสินทันทีทันใด

2. กลุ่มฟังแบบเอะใจ (Object-focused or factual listening) รับฟังว่าสิ่งที่ได้ยินมาไม่ตรงกับที่รู้มาก่อน สนใจรับฟังเฉพาะประเด็นที่แตกต่างจากที่ตัวเองเคยรู้เท่านั้น

3. กลุ่มรับฟังด้วยความเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening) ผู้ฟังได้มีโอกาสเข้าร่วมวงสนทนาและรับรู้ความจริงในแง่มุมอื่น ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน รวมทั้งความสำเร็จในการเปิดใจ สามารถรับเอาความรู้สึกของคนอื่นมาเป็นความรู้สึกของตนเอง สามารถที่จะรับรู้ (Sensing) ความเชื่อมโยงด้วยตนเอง

4. กลุ่มฟังด้วยปัญญา (Generative Listening หรือ Listening from the emerging field of the future) ซึ่งเป็นการฟังในขั้นสูงสุด เป็นการฟังด้วยปัญญา ฟังอย่างพินิจพิจารณา ก้าวข้ามความแตกต่างระหว่างกันการฟังจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้เกิดเป็นทักษะกับผู้เรียนหรือเยาวชนในชาติทักษะการฟังสำคัญไม่น้อยไปกว่า ทักษะในการพูด การอ่าน และการเขียน หากผู้เรียนมีทักษะการฟังที่ดีก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเข้าสังคม ฝึกการใช้ความคิด การจับประเด็น ฝึกความจํา และฝึกฝนการมุ่งมั่นมีใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ฟังที่ดีจะต้องมีสมาธิในการฟัง มีจุดมุ่งหมายในการฟัง รู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูดสนใจและจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังได้วางใจเป็นกลางไม่มีอคติใด ๆ ต่อผู้พูด ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจฟัง ฟังอย่างสำรวมให้เกียรติผู้พูด หลังการฟังควรมีเวลาคิดทบทวน ข้อเท็จจริง ความน่าเชื่อถือเพียงใด มีสิ่งใดจะนําไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่ และรู้จักนําความรู้หรือข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ประโยชน์ตามโอกาสอันสมควรทักษะการฟังสามารถพัฒนาให้เกิดกับเยาวชนได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยพ่อแม่ ต้องเป็นนักฟังที่ดีคือพ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะฟังลูกเมื่อลูกต้องการสื่อสารหรืออยากเล่าเรื่องอะไรให้ฟัง ไม่ควรแสดงความรําคาญไม่อยากฟังหรือฟังแบบขอไปทีโดยไม่ได้สนใจในสิ่งที่ลูกพูดจริง ๆ เปลี่ยนเรื่องพูดหรือคุยเรื่องอื่นแทรกขัดจังหวะ ฟังลูกพูดไปด้วยคุยโทรศัพท์ไปด้วยพร้อม ๆ กัน พ่อแม่ควรระวังพฤติกรรมของตนในขณะสื่อสารกับคนอื่น เช่น ขณะคุยโทรศัพท์ขณะที่พ่อแม่

คุยกันเอง ซึ่งจะส่งผลต่อการลอกเลียนแบบของลูกโดยปริยาย นอกจากนี้ในการสื่อสารเรื่องใด ๆ กับลูกพ่อแม่ไม่ควรคิดเอาเองว่าลูกคงเข้าใจเหมือนอย่างที่ตนเองเข้าใจ แต่พ่อแม่ควรสื่อสารออกไปอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าลูกนั้นเข้าใจในสิ่งที่ตนพูดจริง ๆ ส่วนในโรงเรียน ครูก็ทำหน้าที่ไม่ต่างจากพ่อแม่ ที่จะต้องเป็นนักฟังที่ดีเริ่มจากครูเป็นนักฟังที่ดีนั่นคือครูต้องเรียนรู้ที่จะฟังเด็กเมื่อเด็กต้องการสื่อสารหรืออยากเล่าเรื่องอะไรให้ครูฟัง (เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์. 2558) แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีปัจจัย 3 ประการ ที่เป็นตัวกันไม่ให้เข้าถึงด้านล่างสุดของตัวยูได้แก่เสียงแห่งการด่วนตัดสินใจ (The voice of Judgment : VOJ) เสียงแห่งการหลงตนเอง (The voice of Cynicism :VOC) เสียงแห่งความกลัว (The voice of Fear : VOF) (ดังภาพประกอบที่ 2)

ภาพประกอบที่ 2 Facing three Enemies : VOJ, VOC, VoF (Scharmer. 2007 : 43)

นอกจากนี้ยังมีอุปสรรค 4 ตัว ในการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง

อุปสรรคที่ 1 เห็นแต่ไม่รู้จำไม่ได้ (Not Recognizing What You See)

อุปสรรคที่ 2 ไม่พูดในสิ่งที่คิด (Not Saying What You Think)

อุปสรรคที่ 3 ไม่ทำในสิ่งที่พูด (Not Doing What You Say)

อุปสรรคที่ 4 ไม่เห็นว่าตัวเองได้อะไรไป (Not Seeing What You Do)

4.3 ทฤษฎีตัวยูกับการประยุกต์ใช้กับการทำงานในองค์กร

ความสัมพันธ์ในการทำงานในองค์กร (Four Fields of Conversation) แบ่งออกเป็น 4 แบบ โดย

มีรายละเอียดดังนี้

1. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะอิงกฎเกณฑ์แบบแผน แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นในอดีต ความสัมพันธ์ในระดับองค์กร จะมีลักษณะเป็นสังคมแบบ “อำนาจเชิงสถาบัน” ที่ใช้อำนาจและกฎเกณฑ์จากศูนย์กลางอำนาจ ในการสั่งการ และเป็นตัวกำกับคนในองค์กร

2. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะอยู่ในระดับการสนทนา พูดคุย โต้แย้ง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เป็นการกระจายอำนาจในการตัดสินใจออกไปจากศูนย์กลางให้ไปอยู่ในหลายๆ ส่วนงาน จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบที่ 1

3. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะมีการทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างองค์กรและทำงานด้วยวิถีของการสนทนาพูดคุย ใช้ความสัมพันธ์และการเกื้อกูลกันในการขับเคลื่อนงานในองค์กร

4. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะใช้กระบวนการกลุ่มในการเชื่อมโยงอย่างลุ่มลึก สติปัญญา กระบวนการกลุ่มหรือทีม หลุดขอบเขตจากความเป็นตัวเอง ก็จะทำให้ลูกค้า ผู้ใช้ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะส่งผลให้สามารถมองเห็นระบบทั้งระบบการทำงานในองค์กร จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน การนําทฤษฎียูมาปรับใช้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร การฟังอย่างเข้าใจเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญของทฤษฎีตัวยูฟังอย่างไตร่ตรอง คิดวิเคราะห์วิจารณ์และสื่อสารในเชิงบวก จะทำให้การทำงานในองค์กรขับเคลื่อนได้อย่างมีคุณภาพ และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในแต่และบริบท

สรุป

จุดมุ่งหมายสำคัญของทฤษฎียูไม่ได้ทำเพื่อให้เราได้คิดเร็วขึ้นหรือช้าลง เพียงต้องการให้เราคิดอย่างถ้วนถี่มากเพื่อขึ้นระยะทางที่เห็นเป็นเส้นโค้งยาวในแผนผัง ไม่ได้มีนัยยะว่า ต้องไกลหรือ นานขึ้นเนื่องจากกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในสมอง ไม่จําเป็นจะต้องเป็นการเคลื่อนที่ช้า ๆ ซึ่งจะสอดคล้องกับการเดินของตัวยูการนําทฤษฎีตัวยูมาใช้จึงไม่จำเป็นต้องช้า เร็วขึ้นได้ถ้าฝึกฝนเพียงแค่เราไม่เลือกเส้นทางเก่าและฝึกฝนการเดินลงสู่ก้นตัวยูอย่าง

สม่ำเสมอดังนั้นการที่จะพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดทฤษฎีตัวยูนั้น ผู้สอนจะต้องจัดการศึกษาโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการฟังก่อน ฟังอย่างมีส่วนร่วม เปิดความคิดและเปิดสายตาให้กว้าง (Open Mind)เพื่อให้เห็นความเป็นจริงที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่ด่วนตัดสิน ใช้การสังเกตที่ละเอียดถี่ถ้วน เปิดหัวใจรับรู้ความรู้สึกร่วม (Open Heart) เพื่อการเป็นหนึ่งเดียวกันกับสิ่งที่เราสังเกต เป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เปลี่ยนกระบวนการที่เราเคยคิดเคยปฏิบัติแบบเดิม ๆ (Open Will) ทำให้เราสามารถสร้างจินตนาการ เกิดการกระทำที่ใหม่ๆ เกิดนวัตกรรม สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องในการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนสามารถที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิดและพิจารณาในประเด็นที่ผู้เรียนสนใจ ออกแบบกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม ข้อสอบไม่เป็นความลับ เป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ใช้เพียงการสอบผ่านเพียงอย่างเดียว ครูผู้สอนเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพูดคุย ถกเถียง (Debate) ร่วมกันสนทนา (Dialogue) มีส่วนร่วมในการสรุปและตัดสินใจ (Discussion) รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการพูดการเขียนอย่างเต็มที่ เพื่อเตรียมพลเมืองในอนาคตให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) กับประชาชนในสังคมประชาธิปไตย (Democratic Society)

5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษตามหลักการจัดกิจกรรมเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน

วีรชัย ศรีสร้อย (2544 : 66) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียนและความสนใจการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน กับการสอนตามคู่มือครู ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนภาษาสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน กับการสอนตามคู่มือครู มีความสามารถการเขียนเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลก่อนเรียนและหลังเรียนนักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลก่อนและหลังการทดลองนักเรียนมีความสนใจในการเรียนภามาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยที่นักเรียนที่เรียนการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวของ คีธ จอห์นสันมีความสามารถทางการอ่าน การเขียนภามาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนตามคู่มือครู

วิมลพันธ์ ไตรภูมิ (2534 : บทตัดบ่อ) ได้เปรียนเทียบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัชยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน และคู่มือครูกลุ่มทดลองได้รับการสอนเขียนด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารแนวของ ดีธ จอหันสัน และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนเขียนด้วยการสอตามคู่มือครู พบว่า ความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน มีความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสูงนักเรียนด้วยการสอนตามคู่มือครู

นันทิวา สุรวัตร (2540 : บทคัดย่อ) ได้เปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีสอน ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน กับวิธีสอนตามคู่มือครู โดยกลุ่มทดลองได้รับการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอหันสัน และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิธีสอนตามคู่มือครู ผลการทดลองพบว่า(1) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธี สอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน มีความสามารถในการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน มีแรงจูงใจในการเรียนภายาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอหันสัน มีความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และมีแรงจูงใจในการสื่อสารของ คีธ จอหันสัน และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิธีสอนตามคู่มือกรู ผลการทดลองพบว่า(1) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน มีความสามารถในการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน มีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน มีความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนตามคู่มือครู

จิราพร สุจริต (2542 : บทคัดย่อ) ได้เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสนใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน กับการสอนตามคู่มือครู โดยกลุ่มทคลองได้รับการสอนตามแนวทฤยฎีเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน และกลุ่มควบคุมให้ใด้รับการสอนตามคู่มือครู ผลการศึกษาพบว่า (1) นักเรียนที่ใด้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู มีความเข้าใจในการอ่านภามาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู มีความสนใจในการเรียนวิชาภามาอังกฤมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูก่อนและหลังการทคถองมีความมีดวามเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู ก่อนและหลังการทดลองมีความสนใจในการเรียนวิซาภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารมีความเข้าใจในการอ่นภาษาอังกฤษและมีความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู

จอห์นสัน (Johnson. 1968. ; อ้างอิงใน วีรชัย ศรีสร้อย. 2544 : 34) ได้ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการ อ่านและการเขียน กับผู้เขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง โดยศึกษาว่าความรู้เดิมของผู้เรียนจะส่งผลต่อความเข้าใจในการอ่านและเขียนอย่าง กลุ่มตัวอย่างเบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ที่ไม่มีความรู้เดิมเกี่ยวข้องกับการเขียนมาก่อน จำนวน 15 คน และอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการเขียนมาก่อน จำนวน 20 คน ผลการวิจัยปรากฎว่าความรู้เคิมในการเขียนนั้น จะทำให้เด็กมีความเข้าใจในการอ่านมากขึ้น และมีความคงทนในการจำดีด้วยจากการศึกพางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้สรุปให้เห็นผลสำเร็จของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีช จอห์นสัน ทำให้ผู้เรียนที่ได้รับการสอนตามแนวคิดนี้มีความสามารถในการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน และเขียน มากกว่าวิธีสอนตามคู่มือครู เป็นดวามสามารถที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ขังเป็นแนวคิดที่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษที่สูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าการสอนภาษาด้วยวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่สามารถทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารฟัง-พูดภาษาอังกฤษสูงขึ้น

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีของ คีธ จอหน์สัน มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ หลักการการถ่ายโอนข้อมูล หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล หลักการ การประสานต่อ หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และหลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

สถานภาพนักเรียน

1. เพศ

1.1 เพศชาย

1.2 เพศหญิง

2. ประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

2.1 น้อยกว่า 3 ปี

2.2 3-5 ปี

2.3 มากกว่า 5 ปีขึ้นไป

การพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

1. หลักการการถ่ายโอนข้อมูล

2. หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล

3. หลักการการประสานต่อ

4. หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

5.หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 45 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่

1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยนำแนวคิดของการเรียนการสอนตามทฤษีของ คีธ จอห์นสัน จัดทำแผนการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน โดยใช้เวลาการสอนแผนละ 100 นาที

2. แบบฝึกหัดการฟัง จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง Eco-friend เรื่อง Smart Rule เรื่อง Amy talking เรื่อง Email about Rule

3. แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยนำแนวคิดของคีธ จอห์นสัน จัดทำแผนการเรียนรู้ เป็นแผนการเรียนรู้สำหรับการสอนการฟังภาษาอังกฤษ จำนวน 2 แผน โดยใช้เวลาการสอนแผนละ 100 นาที

ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพดังนี้

1.1 ศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษจากตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

1.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟังรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ประเภทของการฟัง การรับรู้และการได้ยินของเด็กวัย13-15 ปี และศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฟัง

1.3 ศึกษาและเลือกบทอ่านที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากเอกสาร สิ่งพิมพ์ และหนังสือต่างๆ พิจารณาความยากง่ายของคำศัพท์และโครงสร้างไวยากรณ์ และจำนวนของคำศัพท์ และพิจารณาเนื้อหาให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการฟังตามแนวคิดของคีธ จอห์นสัน มีขั้นตอนการสอน 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นการนำเสนอ (presentation) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยการทำกิจกรรมทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้ว การบอกจุดประสงค์ในการเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหา นำเสนอคำศัพท์ใหม่ โครงสร้างประโยค

ขั้นการฝึก (practice) เป็นการฝึกที่อยู่ในความดูแลของครู โดยนำหนงการของช่องว่างระหว่างข้อมูล (the information gap principle) หลักการประสานต่อ (the jigsaw principle) และหลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (the correction for content principle) มาใช้ในการฝึกการฟัง

ขั้นการนำไปใช้ (production) เป็นการนำความรู้และทักษะการฟัง-พูดในสถานการต่างๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การเล่นเกม และการทำแบบฝึกหัด เป็นต้น เน้นการบูรณาการทักษะฟัง พูด อ่านและเขียน โดยใช้กิจกรรมตามหลักการตรวจความถูกต้องของเนื้อหา มาใช้ในการฝึกฝนผู้เรียนในการตรวจงานของนักเรียน

1.5 แก้ไขและปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการ PLC

2. แบบทดสอบการฟัง เป็นแบบทดสอบแบบ Cloze test คือเว้นคำตอบให้เติมในสิ่งที่ได้ฟัง จำนวน 20 ข้อ ได้ดำเนินการสร้างดังนี้

2.1 ศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษจากตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และศึกษาแนวการสร้างแบบทดสอบการฟัง แล้วประมวลความรู้เพื่อนำมาสร้างแบบทดสอบการฟัง

2.2 สร้างแบบทดสอบซึ่งเป็นแบบเติมคำศัพท์ในช่องว่าง จำนวน 30 ข้อ และนำแบบทดสอบไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จำนวน 50 คน

2.3 นำแบบทดสอบมาวิเคราะห์ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก แล้วนำไปหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) โดยแบบทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ของอำนาจจำแนก มีทั้งหมด 25 ข้อโดยมีค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.2-0.6 และแบบทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ของความยากง่าย มีทั้งหมด 18 ข้อ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.2-0.5 จากการทดสอบค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกผู้วิจัยได้คัดแบบทดสอบเหลือจำนวน 20 ข้อ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การทดลองสอนการฟังภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนซึ่งอ้างอิงแนวคิดของคีธ จอห์นสัน กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน โดยเป็นผู้ดำเนินการสอนโดยใช้เวลาในการสอน 4 คาบ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การดำเนินการสอน

ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี แผน

การสอนที่ เรื่อง เวลาที่สอน

1 19 ต.ค. 63 1 Smart Rule 14.40-15.30

2 26 ต.ค. 63 2 Email about 14.40-15.30

3 29 ต.ค. 63 3 Eco-friend 14.40-15.30

4 30 ต.ค. 63 4 Amy talking 14.40-15.30

ก่อนการทดลองผู้ดำเนินการสอนได้ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน และ หลังจากการทดลองสอนจนครบทั้ง 4 คาบแล้ว ทำการทดสอบวัดความรู้การฟังกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ จากนั้นนำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยวิธีของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson)ใช้สูตร KR-20 สำหรับข้อสอบที่ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ (2555, หน้า 321)

สูตร KR-20 r_tt=k/(k-1) {1-(∑▒p_i q_i)/(S_x^2 )}

เมื่อ r_tt แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ

k แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบ

p_i แทน สัดส่วนของคนทำถูกแต่ละข้อ

q_i แทน 1-p_iหรือสัดส่วนของคนตอบผิดในแต่ละข้อ

S_x^2 แทน ค่าความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ

2. หาค่าเฉลี่ย ¯Xของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรดังนี้ สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ (2555, หน้า 146)

¯X=(∑▒x)/n

เมื่อ ¯X แทน คะแนนค่าเฉลี่ย

∑▒x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่ม

3. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคะแนนการวัดเจตคติ โดยใช้สูตรดังนี้ สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ (2555, หน้า 166-167)

S.D.= √((N∑▒〖x^2-〗 (∑▒x)^2)/(N(N-1)))

เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

∑▒x^2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง

(∑▒x)^2 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง

N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่ม

โพสต์โดย จุฑารัตน์ : [28 มี.ค. 2567 (14:54 น.)]
อ่าน [560] ไอพี : 171.97.80.154
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 35,907 ครั้ง
หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

เปิดอ่าน 9,951 ครั้ง
ตรวจสอบคุณภาพยางรถ
ตรวจสอบคุณภาพยางรถ

เปิดอ่าน 13,224 ครั้ง
เรื่องปูนๆ กับท่อปูนที่คุณอาจยังไม่รู้
เรื่องปูนๆ กับท่อปูนที่คุณอาจยังไม่รู้

เปิดอ่าน 10,158 ครั้ง
อิ่มอร่อย หลับสบาย
อิ่มอร่อย หลับสบาย

เปิดอ่าน 11,710 ครั้ง
13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
13 ความเชื่อที่ควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

เปิดอ่าน 19,094 ครั้ง
มโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
มโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา

เปิดอ่าน 21,951 ครั้ง
จำปาดะ
จำปาดะ

เปิดอ่าน 3,741 ครั้ง
เทคนิคการคูณเลข
เทคนิคการคูณเลข

เปิดอ่าน 15,664 ครั้ง
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"

เปิดอ่าน 36,289 ครั้ง
ข้าวหอมมะลิไทยได้แชมป์ข้าวโลก
ข้าวหอมมะลิไทยได้แชมป์ข้าวโลก

เปิดอ่าน 2,173 ครั้ง
"วิศวกรเสียง สจล." แนะ 5 เทคนิคเลือกหูฟังถนอมหู
"วิศวกรเสียง สจล." แนะ 5 เทคนิคเลือกหูฟังถนอมหู

เปิดอ่าน 9,841 ครั้ง
นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ
นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ

เปิดอ่าน 39,834 ครั้ง
บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา
บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา

เปิดอ่าน 64,637 ครั้ง
วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า

เปิดอ่าน 15,429 ครั้ง
เพราะเหตุใดขณะที่ต้มไข่ จึงมีฟองอากาศลอยออกมา
เพราะเหตุใดขณะที่ต้มไข่ จึงมีฟองอากาศลอยออกมา

เปิดอ่าน 36,489 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 7 ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่ 3
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 7 ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่ 3
เปิดอ่าน 34,570 ครั้ง
เถียงนาน้อย
เถียงนาน้อย
เปิดอ่าน 29,185 ครั้ง
สิ่งมีชีวิตนอกโลก มีจริงหรือไม่
สิ่งมีชีวิตนอกโลก มีจริงหรือไม่
เปิดอ่าน 18,032 ครั้ง
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 16,735 ครั้ง
ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ
ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ