ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
"วิศวกรเสียง สจล." แนะ 5 เทคนิคเลือกหูฟังถนอมหู
ความรู้ทั่วไป 18 มิ.ย. 2565 เปิดอ่าน : 1,620 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

"วิศวกรเสียง สจล." แนะ 5 เทคนิคเลือกหูฟังถนอมหู
Advertisement

หูฟัง เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่แสดงผลข้อมูลในรูปแบบของเสียง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้งานหูฟังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่หลายหน่วยงาน รวมทั้งสถาบันการศึกษาทุกระดับที่ต้องปรับรูปแบบการทำงาน การเรียนการสอนเป็นไปในรูปแบบออนไลน์ หูฟังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และมีความถี่ในการใช้งานมากขึ้นทุกวันและต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา หรือถ้าเราสังเกตผู้โดยสารที่ใช้บริการรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า เราก็จะเห็นคนใช้หูฟังในระหว่างการเดินทาง อาจเพราะส่วนหนึ่งหูฟังช่วยให้ฟังเสียงได้ชัดเจน พกพาสะดวก ตัดเสียงรบกวน

จากจุดนี้เอง เราควรต้องเลือกใช้งานหูฟังให้เหมาะสม รู้ถึงวิธีการใช้งาน และข้อควรระวัง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อถนอมหูของเราให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่กับเราไปได้นานๆ

ผศ. ดร.พิทักษ์ ธรรมวาริน คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และนายกสมาคมเสียงและการสั่นสะเทือนไทย เปิดเผยว่า วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. และสมาคมเสียงและการสั่นสะเทือนไทย ได้มีการศึกษาร่วมกันในเรื่องของ ‘เสียง’ มาโดยตลอด โดยมีการผลักดันให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาจากเสียง ซึ่งส่งผลต่อคนเราทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เพราะบางครั้งเสียงที่เป็นอันตรายนั้น อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด อีกทั้งยังมุ่งเน้นผลักดันในเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงที่สร้างความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับคนโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย หรือ Noise Control และการให้ความรู้แก่ชุมชนอีกด้วย

นอกจากนี้ ผศ.ดร.พิทักษ์ กล่าวเสริมว่า ทางสมาคมฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ได้ทำการศึกษาด้านเสียงมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างการศึกษา เช่น ได้ทำการศึกษาเรื่องหูฟัง เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย ซึ่งประโยชน์ของการเลือกหูฟังที่ดีจะช่วยลดเสียงรบกวนให้คุณภาพเสียงที่เหมาะสม มีความปลอดภัยต่อโสตประสาทการรับฟัง โดยหูฟังในท้องตลาดแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. Full Size Headphone เป็นหูฟังที่มีฟองน้ำครอบหู โดยสามารถปิดครอบได้ทั้งใบหู สวมใส่สบายและมีคุณภาพของเสียงที่ดี อีกทั้งยังลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีและสวมใส่ได้เป็นเวลานานอีกด้วย สำหรับหูฟังประเภทนี้สามารถให้ย่านความถี่ต่ำที่ชัดกว่าหูฟังประเภท On-Ear Headphone แต่หูฟังประเภทนี้ก็มีขนาดที่ใหญ่มากๆ ยากต่อการพกพา เหมาะกับการใช้งานอยู่ที่ใดที่หนึ่งมากกว่า อาทิ ที่บ้าน หรือที่ทำงาน หูฟังประเภท Full Size Headphone มีราคาอยู่ที่ 1,000 บาทขึ้นไปจนถึงหลักแสน

2. On-Ear Headphone หูฟังประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกับ ประเภท Full Size Headphone แต่ฟองน้ำจะไม่ครอบหูทั้งหมด โดยจะใช้วางบนใบหูแทน หูฟังประเภทนี้มีขนาดที่เล็ก พกพาได้สะดวก แต่หากใช้เป็นระยะเวลานานก็อาจจะเจ็บหูได้ อีกทั้งยังไม่ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีเท่าประเภทหูฟังที่มีฟองน้ำครอบหู การรั่วไหลออกของเสียงอยู่ในระดับปานกลาง เวลาใช้งานอาจจะมีเสียงหลุดรอดจากหูฟังออกมาบ้าง จึงอาจทำให้รบกวนคนอื่นๆ รอบข้าง แต่คุณภาพของเสียงก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าประเภทแรกเท่าไรนัก ราคาอยู่ที่ 1,000 บาทไปจนถึงหลักหมื่น

3. Intra-Aural Headphone เป็นหูฟังประเภทที่ต้องใส่เข้าไปในรูหูโดยตรง ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้ 2 ประเภท คือ ประเภท Earbud Headphone ซึ่งเวลาใช้งานจะใส่ไว้ที่ปากทางของรูหู ใช้งานได้สะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับรูหูก็ได้ และอีกประเภทเรียกว่า In-Ear Headphone เป็นหูฟังประเภทที่มีจุกยางทำให้แนบสนิทเข้าไปกับรูหูมากยิ่งขึ้น และใส่เข้าไปในรูหูที่ลึกกว่าเดิมเพื่อช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก แต่หากเลือกจุกยางไม่เหมาะสมกับขนาดของรูหูก็จะทำให้หลุดบ่อยเวลาใช้งาน สำหรับหูฟังประเภทนี้จะส่งพลังงานเสียงเข้าไปกระทบกับเยื่อแก้วหูโดยตรง จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้งานเป็นเวลานานติดต่อกัน เพราะเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินก่อนเวลาอันควร ในส่วนของราคา หูฟังแบบ Earbud Headphone จะมีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น ในขณะที่หูฟังแบบ In-Ear Headphone จะมีราคาอยู่ที่หลักร้อยไปจนถึงหลักแสนขึ้นอยู่กับคุณภาพของหูฟัง

แล้วหูฟังแบบใดที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรามากที่สุด? สำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานเองว่ามีการใช้งานแบบใด และสไตล์หูฟังแบบใดที่เหมาะกับผู้ใช้งานมากที่สุด นอกจากสไตล์ที่เข้ากันกับผู้ใช้งานแล้ว เรื่องอันตรายต่อสุขภาพหูก็จำเป็นไม่แพ้กัน ลองมาดูเทคนิคง่ายๆ ในการเลือกหูฟังให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ดังนี้

1. เน้นใช้งานได้ตลอดวันแถมปลอดภัยต่อสุขภาพหู ถ้าต้องการเน้นเรื่องความสบายหูในการฟัง การเลือกใช้งานแบบ Full Size Headphone หรือ Intra-Aural Headphone ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี แต่อย่างไรก็ตามหูฟังแบบ Intra-Aural Headphone นั้นไม่เหมาะกับการใช้งานเป็นเวลานาน

2. เน้นเพิ่มสมาธิพร้อมตัดทุกเสียงรบกวน หากการใช้งานอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวนค่อนข้างสูง การเลือกแบบ Full Size Headphone หรือ Intra-Aural Headphone ประเภท In-Ear Headphone ก็จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ดี

3. เน้นสะดวกพกพา หากไม่ได้ต้องการตัดเสียงรบกวนภายนอกออกไปสักเท่าไร และต้องการเพิ่มความสะดวกในการพกพา การเลือกใช้ประเภท On-Ear Headphone หรือ Intra-Aural Headphone ประเภท Earbud Headphone ก็เหมาะสมเช่นกัน

4. เน้นปรับระดับเสียงที่ไม่เป็นมลพิษต่อหู ไม่ว่าจะเลือกหูฟังในแบบใดก็ตามไม่ควรเปิดเสียงเกินระดับที่หูคนเราจะรับได้ หรือเป็นการก่อมลพิษทางเสียงให้กับตนเองแบบไม่รู้ตัว เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราเอง ตลอดจนหลีกเลี่ยงการสูญเสียการได้ยินก่อนเวลาอันควร โดยค่าเฉลี่ยของระดับเสียงที่ปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 70 เดซิเบล ซึ่งหากจะเปรียบให้เห็นภาพ ความดังระดับ 80 เดซิเบล จะอยู่ในระดับเสียงของโรงอาหาร แต่ถ้าเป็น 90 เดซิเบล จะเป็นเสียงเวลาที่รถเมล์จะออกจากป้าย

5. เน้นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่มีอยู่ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของการเลือกซื้อหูฟังนั่นคือ “การเชื่อมต่อ” ผู้ใช้งานควรเลือกหูฟังที่มีการเชื่อมต่อที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือว่าแท็บเล็ต ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็รองรับหัวการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันออกไป

ผศ. ดร.พิทักษ์ กล่าวสรุปว่า ไม่ว่าจะใช้หูฟังประเภทใดก็ตาม การป้องกันอันตรายจากหูฟังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยระดับความดังของเสียงที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 60% จากระดับเสียงที่ดังที่สุด และไม่ควรใช้หูฟังติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง โดยควรหยุดพักการใช้หูฟังเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที หากเป็นไปได้ควรตั้งค่าอุปกรณ์สื่อสารใน Headphone Safety โดยตั้งค่าระดับเสียงสูงสุดไว้ที่ 85 เดซิเบล นอกจากนี้ยังควรใช้หูฟังเท่าที่จำเป็น และสิ่งที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่น และทำความสะอาดหูฟังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้

ทั้งนี้ วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเสียงด้านต่างๆ และพัฒนา หลักสูตรวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีเชี่ยวชาญในการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีดนตรีไว้ด้วยกัน สู่การถ่ายทอดความรู้ และแก้ปัญหาด้านเสียงของสังคม รวมทั้งพัฒนาระบบเสียงในบริบทต่างๆ ของประเทศให้ดีขึ้นใน “กลุ่มอุตสาหกรรมดนตรี” หนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศได้อย่างมืออาชีพ ทั้ง Sound Engineer ในงานแสดงคอนเสิร์ต ละครเวที รวมถึงรูปแบบสื่อออนไลน์ไลฟ์สตรีมมิ่ง ผลิตเสียงที่ใช้ในงานโฆษณา ภาพยนตร์ แอนิเมชัน และเกม Acoustic Engineer นักแก้ไขปัญหาเสียงรบกวนตามสถานที่ต่างๆ อาทิ ที่อยู่อาศัย ห้องประชุม ฯลฯ  


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?

ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ "เครดิตบูโร" ว่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
เปิดอ่าน 9,616 ครั้ง
วิธีแก้ปัญหาเสื้อผ้าเหม็นอับ

วิธีแก้ปัญหาเสื้อผ้าเหม็นอับ
เปิดอ่าน 31,828 ครั้ง
เคยสังเกต โลโก้ 7-ELEVEn มั้ย..ทำไม n ถึงตัวเล็ก!!

เคยสังเกต โลโก้ 7-ELEVEn มั้ย..ทำไม n ถึงตัวเล็ก!!
เปิดอ่าน 27,982 ครั้ง
"นอสตราดามุสหญิง" เมืองไทย

"นอสตราดามุสหญิง" เมืองไทย
เปิดอ่าน 11,421 ครั้ง
อยากลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น อย่าพลาดผัก-ผลไม้เหล่านี้นะ

อยากลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น อย่าพลาดผัก-ผลไม้เหล่านี้นะ
เปิดอ่าน 29,342 ครั้ง
ลิงกอริลลาเป็นต้นตอ เชื้อไวรัสโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอีกสายพันธุ์หนึ่ง

ลิงกอริลลาเป็นต้นตอ เชื้อไวรัสโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอีกสายพันธุ์หนึ่ง
เปิดอ่าน 10,994 ครั้ง
เตือนภาชนะจากพลาสติก อันตรายต่อสมอง

เตือนภาชนะจากพลาสติก อันตรายต่อสมอง
เปิดอ่าน 9,211 ครั้ง
How to งานถูกจิต เงินเดือน ถูกใจ

How to งานถูกจิต เงินเดือน ถูกใจ
เปิดอ่าน 7,734 ครั้ง
5 วิธีดี ๆ ที่ช่วยให้คุณสนุกกับการลดน้ำหนัก

5 วิธีดี ๆ ที่ช่วยให้คุณสนุกกับการลดน้ำหนัก
เปิดอ่าน 10,541 ครั้ง
โรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์
เปิดอ่าน 10,377 ครั้ง
แนะนำอาหารสำหรับผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID)

แนะนำอาหารสำหรับผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID)
เปิดอ่าน 2,576 ครั้ง
ผัก ผลไม้… กับมะเร็ง

ผัก ผลไม้… กับมะเร็ง
เปิดอ่าน 2,878 ครั้ง
8 วิธีถนอมหลังห่างไกลอาการปวด

8 วิธีถนอมหลังห่างไกลอาการปวด
เปิดอ่าน 13,890 ครั้ง
ทำไมถึงต้องใช้บริการบริษัท Digital Agency

ทำไมถึงต้องใช้บริการบริษัท Digital Agency
เปิดอ่าน 10,536 ครั้ง
10 อันดับเมืองที่มลพิษมากที่สุดในโลก

10 อันดับเมืองที่มลพิษมากที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 17,716 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

หมอเตือนเชื้อปนเปื้อน"ข้าวมันไก่"ถึงตาย ระบุ ทั้งเนื้อไก่และเลือดไก่บูดเน่าได้ง่าย
หมอเตือนเชื้อปนเปื้อน"ข้าวมันไก่"ถึงตาย ระบุ ทั้งเนื้อไก่และเลือดไก่บูดเน่าได้ง่าย
เปิดอ่าน 12,701 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
อยากเพิ่มหรือลดน้ำหนัก... 10 สีนี้ช่วยได้นะ
อยากเพิ่มหรือลดน้ำหนัก... 10 สีนี้ช่วยได้นะ
เปิดอ่าน 11,674 ☕ คลิกอ่านเลย

หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องที่ 2...ฝีมือกระจ๋องหรองแหรง
หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องที่ 2...ฝีมือกระจ๋องหรองแหรง
เปิดอ่าน 14,922 ☕ คลิกอ่านเลย

รวมเมนูอาหารเจ
รวมเมนูอาหารเจ
เปิดอ่าน 12,934 ☕ คลิกอ่านเลย

สางประวัติเน่า เปิดหนี้ไม่บันทึก เช็ก BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร!
สางประวัติเน่า เปิดหนี้ไม่บันทึก เช็ก BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร!
เปิดอ่าน 21,581 ☕ คลิกอ่านเลย

4 สมุนไพร สยบโรค
4 สมุนไพร สยบโรค
เปิดอ่าน 19,840 ☕ คลิกอ่านเลย

คาดคนอ้วนมี"โดปามีน"น้อย ต้นเหตุไร้ความสุข
คาดคนอ้วนมี"โดปามีน"น้อย ต้นเหตุไร้ความสุข
เปิดอ่าน 8,623 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!
ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!
เปิดอ่าน 10,020 ครั้ง

บุหรี่ “ไม่สูบ” ไม่ได้เหรอ?
บุหรี่ “ไม่สูบ” ไม่ได้เหรอ?
เปิดอ่าน 10,114 ครั้ง

หนังสือดี 100 เล่ม ที่ควรอ่าน-มีไว้ในห้องสมุด
หนังสือดี 100 เล่ม ที่ควรอ่าน-มีไว้ในห้องสมุด
เปิดอ่าน 47,649 ครั้ง

จังหวัดไหนมีความสุขมากที่สุดในประเทศไทย ปี 2557?
จังหวัดไหนมีความสุขมากที่สุดในประเทศไทย ปี 2557?
เปิดอ่าน 19,055 ครั้ง

ลายมือมหาเศรษฐี
ลายมือมหาเศรษฐี
เปิดอ่าน 28,880 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ