ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรี

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนประชาพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑

ผู้ศึกษา นางวราภรณ์ หวังกุหลำ

ตำแหน่ง ครู โรงเรียนประชาพัฒนา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑

บทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนประชาพัฒนา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๓ โรงเรียนประชาพัฒนา ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๑๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๔ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๒๒ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน ๑๐ ข้อ ดำเนินการสอนซ่อมเสริม ในระหว่างเวลา ๑๕.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. สัปดาห์ละ ๓ วัน ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ถึงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ โดยใช้เวลาในการสอนรวม ๒๒ ชั่วโมง

ผลการศึกษาพบว่า

๑. ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๘.๔๑ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๘.๕๒ ดังนั้น ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีค่าเท่ากับ ๘๘.๔๑/๘๘.๕๒

๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐.๓๙ คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๖๓ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๖.๕๖ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๕๒ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เฉลี่ย ๑๖.๑๗ คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๘๙

๓. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๕๒ คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๓๓

ข้อเสนอแนะ

๑. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ควรนำแบบฝึกพัฒนาทักษะ การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เพราะจากผลการศึกษายืนยันความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๘.๔๑/๘๘.๕๒ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้สูงขึ้นได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

๒. จากการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ พบว่า ด้านระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนในแต่ละวันนั้น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อาจอธิบายได้ว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะให้กับนักเรียนนั้นอาจยังมีประเด็นซึ่งไม่เป็นที่พึงพอใจของนักเรียน เนื่องจากครูเป็นผู้กำหนดระยะเวลาหลังเลิกเรียน ให้นักเรียนทำกิจกรรม ส่งผลให้นักเรียนมีความกังวลใจหลายๆ เรื่อง เช่น มีความกระสับกระส่ายรอคอยผู้ปกครองมารับ อยากไปเล่นกับเพื่อนๆ ที่เลิกเรียนแล้ว ฝนตกทำให้นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน เป็นต้น ดังนั้น ครูควรพิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนในแต่ละวันให้สอดคล้องกับสภาพและวัยของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

โพสต์โดย เนาะห์ : [6 พ.ย. 2559 เวลา 12:52 น.]
อ่าน [3433] ไอพี : 118.172.56.82
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 38,961 ครั้ง
3 วิธีแกะกล่องพัสดุให้ปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19
3 วิธีแกะกล่องพัสดุให้ปลอดภัยห่างไกลจากโควิด-19

เปิดอ่าน 21,222 ครั้ง
ปลูกต้นไม้เหมาะกับทิศ
ปลูกต้นไม้เหมาะกับทิศ

เปิดอ่าน 5,096 ครั้ง
ปวดคอ แบบไหนอันตราย
ปวดคอ แบบไหนอันตราย

เปิดอ่าน 19,100 ครั้ง
โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์
โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์

เปิดอ่าน 18,796 ครั้ง
ยูทูป ห้องเรียนใหม่ พลังการเรียนรู้ ที่ไม่รู้จบ
ยูทูป ห้องเรียนใหม่ พลังการเรียนรู้ ที่ไม่รู้จบ

เปิดอ่าน 16,587 ครั้ง
ไดร์ผมตรงอย่างมืออาชีพ
ไดร์ผมตรงอย่างมืออาชีพ

เปิดอ่าน 8,838 ครั้ง
PowerPoint ชี้แจงหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี
PowerPoint ชี้แจงหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี

เปิดอ่าน 16,164 ครั้ง
ตัวอย่างบริษัท ที่ไม่ควรทำงานด้วย
ตัวอย่างบริษัท ที่ไม่ควรทำงานด้วย

เปิดอ่าน 15,066 ครั้ง
มะเร็งเน็ต...ภัยร้ายชนิดใหม่ เสี่ยงตายไม่รู้ตัว
มะเร็งเน็ต...ภัยร้ายชนิดใหม่ เสี่ยงตายไม่รู้ตัว

เปิดอ่าน 21,866 ครั้ง
จำปาดะ
จำปาดะ

เปิดอ่าน 10,267 ครั้ง
เทคนิค"อ่านเร็ว"ใช้ไม่ได้ผล
เทคนิค"อ่านเร็ว"ใช้ไม่ได้ผล

เปิดอ่าน 17,493 ครั้ง
10 ขั้นตอนบริหารใบหน้าชะลอแก่
10 ขั้นตอนบริหารใบหน้าชะลอแก่

เปิดอ่าน 12,974 ครั้ง
เพลงลูกเทวดา ฮอตฮิต! ถูกค้นมากสุดในปี
เพลงลูกเทวดา ฮอตฮิต! ถูกค้นมากสุดในปี '53

เปิดอ่าน 10,729 ครั้ง
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน

เปิดอ่าน 22,533 ครั้ง
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (ลาว)
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (ลาว)

เปิดอ่าน 18,763 ครั้ง
การแสดงเครื่องหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องทำอย่างไร
การแสดงเครื่องหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องทำอย่างไร
เปิดอ่าน 72,944 ครั้ง
"โมเต็ล"แตกต่างจาก "โฮเต็ล" (Hotel) อย่างไร
"โมเต็ล"แตกต่างจาก "โฮเต็ล" (Hotel) อย่างไร
เปิดอ่าน 25,316 ครั้ง
 กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน พ.ศ.2551
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน พ.ศ.2551
เปิดอ่าน 13,176 ครั้ง
10 ข้อดีของฟองน้ำ ที่มากกว่าแค่ใช้ล้างจาน
10 ข้อดีของฟองน้ำ ที่มากกว่าแค่ใช้ล้างจาน
เปิดอ่าน 21,919 ครั้ง
ความหมายของมัลติมีเดีย
ความหมายของมัลติมีเดีย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ