ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"


บทความการศึกษา 27 เม.ย. 2558 เวลา 05:21 น. เปิดอ่าน : 7,636 ครั้ง
Advertisement

"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"

Advertisement

พูดกันมามากกับวิกฤติ “กับดักรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap) หรือสภาวะที่ไม่มีศักยภาพพอจะขึ้นไปแข่งขันในระดับบน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถลงไปแข่งขันในระดับล่างได้ ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ “ติดหล่ม” ดังกล่าว เพราะแรงงานไทยมีค่าจ้างสูงขึ้น แต่ยังขาดทักษะชั้นสูงเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และวันนี้วิกฤติดังกล่าวได้เริ่มส่งผลกระทบ
ให้เห็นแล้ว

ล่าสุดกับการเปิดเผย “ดัชนีคุณภาพชีวิตคนไทย” เมื่อ 21 เม.ย. 2558 โดย ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า “ด้านเศรษฐกิจ” เป็นสิ่งที่คนไทยกังวลที่สุด โดยเฉพาะหัวข้อรายได้เพียงพอกับรายจ่าย ได้เพียง 2.85 จาก 5 คะแนน และหัวข้อการเก็บออมเงิน ได้เพียง 2.94 จาก 5 คะแนนเท่านั้น ขณะที่เมื่อไปดูเศรษฐกิจในภาพรวม พบว่าความสามารถในการส่งออกลดลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ..คือบรรดา “เอสเอ็มอี” หรือธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม

หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป..เราอาจสู้ไม่ได้แม้แต่ “ประเทศเพื่อนบ้าน” ที่กำลัง “เร่งเครื่อง” ตามมาทุกขณะ!!!

ดร.เกียรติอนันต์ย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ต้องไปโทษรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่ต้องโทษทุกรัฐบาล เพราะทั้งๆ ที่เราบอกว่าปฏิรูปการศึกษามากว่า 15 ปีแล้ว แต่วันนี้ปัญหาเดิมๆ กลับยังคงอยู่ นั่นคือเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการทุกครั้งที่ไปสำรวจ มักตอบกลับมาว่า “คิดไม่ได้-ทำไม่เป็น”

หนทางแก้ไข.. ผช.รองอธิการฯ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เสนอแนะไว้ 3 ส่วน ส่วนแรก ว่าด้วยแนวทางการศึกษาของโลกที่เริ่มเปลี่ยนไป ตำราเรียนและการสอนแยกเป็นรายวิชาเริ่มมีความสำคัญน้อยลง แต่จะให้ความสำคัญกับการนำสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาวิเคราะห์ด้วยศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น โดยจะไม่สอนแยกเป็นรายวิชา แต่จะกำหนดเหตุการณ์สักเรื่องหนึ่งขึ้น จากนั้นจึงค่อยนำวิชาต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ฯลฯ เข้าไปใส่ในเรื่องนั้นๆ

พร้อมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดตลอดเวลา!!!

“สิงคโปร์ก็เริ่มเปลี่ยนการสอนเป็นแบบนี้แล้ว เช่นคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ เขาพาเด็กไปดูถังน้ำมันแล้วถามว่าทำไมถังน้ำมันถึงกลม แล้วให้เด็กมานั่งคิดกัน แล้วกลับมาห้องทดลองแล้วอัดก๊าซเข้าไปในถังน้ำมันที่เป็นสี่เหลี่ยมและวงกลมด้วยความดันเท่ากัน แล้วบอกว่าอะไรระเบิดก่อนระเบิดหลังให้เด็ก จับเวลาเพื่อสอนให้เด็กนับ นี่เด็กประถมนะครับ เทียบว่าระเบิดเร็วกว่าหรือช้ากว่ากันเท่าไร หรือโอกาสระเบิดก่อนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ของระเบิดหลัง เด็กก็จะเรียนจากสิ่งที่เป็นจริง ความรู้ที่ได้ก็จะนำไปใช้ได้จริง เพราะเด็กรู้แล้วว่าความรู้มันมีประโยชน์”

ผช.รองอธิการฯ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าว ขณะที่ ส่วนที่สอง สำหรับโรงเรียนเล็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลที่ครูไม่ครบทุกวิชา รัฐควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ให้สามารถเรียนทางไกล เชื่อมต่อกับครูเก่งๆ ในพื้นที่เมือง ย่อมดีกว่ายุบโรงเรียน ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้รุนแรงขึ้น เพราะแม้ว่าจะจัดยานพาหนะรับ-ส่งนักเรียนไปยังโรงเรียนใหม่ แต่ต้องไม่ลืมว่าเส้นทางในชนบทมักกันดารเดินทางลำบาก เด็กต้องตื่นเช้าและกลับบ้านเย็นมากขึ้น ประกอบกับผู้ปกครองที่ส่วนใหญ่ฐานะยากจน ก็ยังอยากให้บุตรหลานช่วยงานทางบ้านไปด้วย

“บทบาทของครูในโรงเรียนเล็ก ไม่จำเป็นต้องสอนทุกวิชา แต่เป็นคนที่สามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกวิชาด้วยการสอนทางไกล เอาการเรียนรู้ทางไกลเข้ามาเพิ่ม แล้วครูไม่จำเป็นต้องอยู่โรงเรียนทุกวิชาหรือเปล่า? ในบางวิชาบางหัวข้อ อาจมีครูประจำจังหวัดเข้าไปสอนเป็นบางเรื่องบางครั้ง วันนี้โรงเรียนนึง อีกอาทิตย์ไปอีกโรงนึง ใช้ครูกลุ่มเดิมแต่เดินทางแบบหน่วยจรยุทธ์เข้าไปช่วยโรงเรียน” ดร.เกียรติอนันต์ ให้ความเห็น

ส่วนที่สาม ไม่เพียงแต่วัยเรียนเท่านั้นที่ต้องพัฒนา หากต้องเป็นคนไทยทุกคน ซึ่งทักษะสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้อยู่รอดในยุคนี้ได้คือ “การวิจัย” ที่ไม่ได้หมายถึงการเขียนออกมาเป็นตัวเลขเชิงสถิติอย่างที่ทำกันในทางวิชาการเท่านั้น แต่หมายถึงการสังเกตและวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขชีวิตของตนให้ดีขึ้น

“กระบวนการวิจัยมันอยู่ที่การตั้งคำถามและหาคำตอบ พยายามสังเกตทุกสิ่งรอบตัวแล้วก็ตั้งคำถามว่าจะทำสิ่งเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร? สิ่งที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นเพราะอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างอาหารตามสั่ง เคยสังเกตไหมครับ? ทำไมลูกค้าบางคนบอกไม่ใส่คะน้า? บอกว่าไม่เอาถั่วฝักยาว?

แล้วสังเกตนะครับ ลูกค้ากลุ่มนี้จะต่างจากลูกค้ากลุ่มที่สั่งอะไรก็ได้ เพราะลูกค้ากลุ่มที่ไม่เอาคะน้าไม่เอาถั่วฝักยาว เขาอาจจะได้ข่าวเรื่องสารพิษที่อยู่ในพวกนี้ ก็เลยรักสุขภาพมากกว่า มันอาจเป็นช่องทางให้เราขายของพรีเมียมได้ เช่น ขายข้าวผัดผักเกษตรอินทรีย์ เพิ่มสามบาทห้าบาทเอาไหม? นี่ไงครับ สังเกตและตั้งคำถามแล้วหาคำตอบ มันจะนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นครับ” ผช.รองอธิการฯ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ฝากทิ้งท้าย

SCOOP@NAEWNA.COM

ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 


"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"ปฏิรูปการศึกษาทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน

เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน


เปิดอ่าน 12,973 ครั้ง
การศึกษาในกะลา

การศึกษาในกะลา


เปิดอ่าน 11,448 ครั้ง
แสงส่องทางจากการศึกษา

แสงส่องทางจากการศึกษา


เปิดอ่าน 12,163 ครั้ง
คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 16,949 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

PISA ที่ผ่านมาบอกอะไรให้เราทราบบ้าง

เปิดอ่าน 9,776 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เข้าใจธรรมชาติของเด็ก มิติใหม่ครูไทยยุคดิจิตอล
เข้าใจธรรมชาติของเด็ก มิติใหม่ครูไทยยุคดิจิตอล
เปิดอ่าน 10,194 ☕ คลิกอ่านเลย

ครูไทย 4.0 ตอนที่ 1 : โดย ดิเรก พรสีมา อดีตประธานกรรมการคุรุสภา
ครูไทย 4.0 ตอนที่ 1 : โดย ดิเรก พรสีมา อดีตประธานกรรมการคุรุสภา
เปิดอ่าน 79,274 ☕ คลิกอ่านเลย

โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)
โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)
เปิดอ่าน 11,986 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
เปิดอ่าน 10,838 ☕ คลิกอ่านเลย

กก.อิสระปฏิรูปการศึกษาช่วยที : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
กก.อิสระปฏิรูปการศึกษาช่วยที : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักสูตรการผลิตครู ควรเป็น 4 หรือ 5 ปีดี โดย : ดิเรก พรสีมา
หลักสูตรการผลิตครู ควรเป็น 4 หรือ 5 ปีดี โดย : ดิเรก พรสีมา
เปิดอ่าน 21,345 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"ครูใจร้าย" คลิปสั้นสะท้อนบทบาทครูไทย (คลิปรางวัลชนะเลิศ เล่าเรื่องด้วยหัวใจจากศิษย์ถึงครู)
"ครูใจร้าย" คลิปสั้นสะท้อนบทบาทครูไทย (คลิปรางวัลชนะเลิศ เล่าเรื่องด้วยหัวใจจากศิษย์ถึงครู)
เปิดอ่าน 62,878 ครั้ง

พบสัตว์ประหลาดทะเลลึกเฉียด 2 หมื่นสายพันธุ์
พบสัตว์ประหลาดทะเลลึกเฉียด 2 หมื่นสายพันธุ์
เปิดอ่าน 12,056 ครั้ง

เลือกกระเบื้องให้เข้ากับห้อง
เลือกกระเบื้องให้เข้ากับห้อง
เปิดอ่าน 17,901 ครั้ง

หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 32,296 ครั้ง

สกว. แฉอันตรายเส้นก๋วยเตี๋ยว
สกว. แฉอันตรายเส้นก๋วยเตี๋ยว
เปิดอ่าน 9,056 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ