ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน
ผู้ศึกษา นายวัชรายุทธ ประกอบของ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน บ้านแม่ตะมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
เชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 เล่ม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบ t (t-test)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1.จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.48/88.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 ที่ตั้งไว้
2.ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( = 26.48) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 16.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในระดับมาก