ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมGraphics & Multimedia  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
เทคนิคใหม่จากสิงคโปร์ทำภาพสีไม่ใช้หมึกคมชัดกว่าเลเซอร์เจ็ท
Graphics & Multimedia 24 ก.ย. 2555 เปิดอ่าน : 12,043 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

เทคนิคใหม่จากสิงคโปร์ทำภาพสีไม่ใช้หมึกคมชัดกว่าเลเซอร์เจ็ท
Advertisement

a) ภาพจากกล้องจุลทรรศน์เชิงแสงก่อนใส่แผ่นโลหะนาโน ยังเป็นภาพสีเทา b) ภาพเดียวกันหลังใส่แผ่นโลหะและมองผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงแสงเช่นเดียวกัน ได้เป็นภาพสี c) ภาพขยายของปลายดวงตาที่เผยภาพสีที่ยังชัดเจน และเมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนก็เห็นโครงสร้างนาโนของบริเวณปลายดวงตาที่เห็นชัดเจน (Phys.org/A*STAR) ขีดสีแดงแสดงสเกล 10 ไมโครเมตร
นักวิจัยสิงคโปร์ ได้แรงบันดาลใจจากกระจกสีตกแต่งหน้าต่าง ใช้นาโนเทคโลยีทำภาพโดยไม่ใช้หมึกได้หลากสีและคมชัดกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์เจ็ท สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งจอภาพสีสะท้อนแสง ภาพป้องกันการปลอมแปลง หรือการบันทึกข้อมูลเชิงแสงความละเอียดสูง

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยและวิศวกรรมวัสดุ (Institute of Materials Research and Engineering: IMRE) สำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการวิจัย (Agency for Science, Technology and Research) หรือเอ*สตาร์ (A*STAR) สิงคโปร์ ได้พัฒนาวิธีสร้างภาพสีที่คมชัดหลากสีถึง 100,000 จุดต่อนิ้ว (dpi) โดย Phys.org เผยว่า ทีมวิจัยได้ใช้ชิ้นโลหะตัดแปะที่มีโครงสร้างเล็กขนาดนาโนเมตร สร้างภาพสีขึ้นมาโดยไม่ใช้หมึกหรือสีย้อม

ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องพิมพ์ปัจจุบันทั้งระบบอิงค์เจ็ทและเลเซอร์เจ็ทสร้างภาพที่มีรายละเอียดสูงสุดเพียงแค่ 10,000 dpi ส่วนเทคนิคในระดับวิจัยให้ภาพสีย้อมได้เพียงสีเดียวเท่านั้น

นวัตกรรมใหม่นี้ทลายกฎการสร้างสีที่อิงเฉพาะหมึกอย่างเดียวไปสู่การใช้วัตถุการพิมพ์บนแผ่นเรียบแทน ซึ่งมีศักยภาพพอที่จะปฏิวัติวิธีการพิมพ์ภาพ และสามารถพัฒนาไปสู่การใช้ในจอภาพสีสะท้อนแสงที่มีความละเอียดสูง รวมถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลเชิงแสงที่มีความจุสูง

แรงบันดาลใจของงานวิจัยนี้ Phys.org ระบุว่า มาจากกระจกสีตกแต่งหน้าต่าง ซึ่งมีวิธีการผลิตด้วยการผสมเศษโลหะชิ้นเล็กชิ้นน้อยเข้าไปในแก้ว และมีการค้นพบว่าเศษโลหะเหล่านั้นจะกระเจิงแสงผ่านแก้ว แล้วทำให้กระจกสีตกแต่งนั้นเกิดสีต่างๆ ขึ้น

ด้วยแนวคิดเดียวกับการทำกระจกสีดังกล่าวผสานนาโนเทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้นักวิจัยกำหนดรูปแบบของโครงสร้างโลหะระดับนาโนได้อย่างแม่นยำ แล้วออกแบบพื้นผิวโลหะเพื่อสะท้อนแสงให้ได้ภาพสีออกมา และได้ตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ลงวารสารเนเจอร์นาโนเทคโนโลยี (Nature Nanotechnology)

“ความละเอียดของภาพสีที่พิมพ์ออกมานั้นขึ้นอยู่ขนาดและช่องว่างระหว่าง “นาโนดอท” (nanodot) ของสีแต่ละจุด ยิ่งแต่ละจุดใกล้กันมากเท่าไร ความละเอียดของภาพก็ยิ่งสูงขึ้น และด้วยความสามารถที่สามารถกำหนดจุดสีขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ ทำให้เราสาธิตการพิมพ์ภาพสีที่มีความละเอียดสูงสุดตามทฤษฎีได้ถึง 100,000 dpi” ดร.คาร์ธิก คูมาร์ (Dr.Karthik Kumar) หนึ่งในทีมวิจัยหลักอธิบายถึงการทำงาน

นอกจากนี้ ดร.โจเอล หยาง (Dr.Joel Yang) หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าแทนที่จะใช้สีย้อมที่แตกต่างกันเพื่อสร้างสีต่างๆ นั้น ทีมวิจัยได้อาศัยการใส่รหัสข้อมูลสีเป็นขนาดและตำแหน่งของแผ่นโลหะเล็กๆ ซึ่งแผ่นโลหะเหล่านั้นจะทำอันตรกริยากับแสงผ่านปรากฏการณ์ “พลาสมารีโซแนนซ์” (plasmon resonance)

“ทีมวิจัยได้สร้างฐานข้อมูลของสีที่สัมพันธ์กับรูปแบบ ขนาดและพื้นที่ของโครงสร้างนาโนอันจำเพาะ ซึ่งโครงสร้างนาโนเหล่านั้นจะถูกจัดตำแหน่งตามลักษณะเฉพาะเหล่านั้น คล้ายภาพวาดสำหรับเด็กที่กำหนดสีด้วยตัวเลข ซึ่งขนาดและตำแหน่งของโครงสร้างนาโนนี้ก็คือ “ตัวเลข” ในการกำหนดสีนั่นเอง” ดร.หยางกล่าว และบอกว่าแทนที่จะให้สีด้วยหมึกสีต่างกัน ก็ใช้วิธีวางตำแหน่งแผ่นโลหะซึ่งจะปรากฏสีตามรหัสที่กำหนดไว้

สำหรับงานนี้นักวิจัยจาก IMRE ยังมีความร่วมมือกับนักวิจัยสถาบันคอมพิวเตร์สมรรถนะสูง (Institute of High Performance Computing: IHPC) จากเอ*สตาร์เช่นเดียวกัน เพื่อออกแบบรูปแบบแผ่นโลหะโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์และสร้างแบบจำลอง และตอนนี้ทีมวิจัยกำลังทำงานร่วมกับบริษัทเอกซ์พลอยท์เทคโนโลจีส์พีทีอี (Exploit Technologies Pte Ltd: ETPL) ซึ่งเป็นบริษัทสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีของสำนักงานวิทยาศาสตร์สิงคโปร์

 

 

ขอบคุณที่มาจาก Manager Online


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ภาพแบบ Bitmap

ภาพแบบ Bitmap
เปิดอ่าน 20,820 ครั้ง
ภาพแบบ Vector

ภาพแบบ Vector
เปิดอ่าน 17,193 ครั้ง
กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต

กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต
เปิดอ่าน 28,501 ครั้ง
มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ

มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ
เปิดอ่าน 22,575 ครั้ง
สร้าง logo Icon ใส่ใน Favorite

สร้าง logo Icon ใส่ใน Favorite
เปิดอ่าน 16,657 ครั้ง
ประโยชน์ของมัลติมีเดีย

ประโยชน์ของมัลติมีเดีย
เปิดอ่าน 29,272 ครั้ง
พิกเซล (Pixel)

พิกเซล (Pixel)
เปิดอ่าน 2,009 ครั้ง
องค์ประกอบของระบบกราฟิก

องค์ประกอบของระบบกราฟิก
เปิดอ่าน 22,461 ครั้ง
ความสำคัญของงานกราฟิก

ความสำคัญของงานกราฟิก
เปิดอ่าน 69,213 ครั้ง
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ

คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
เปิดอ่าน 54,843 ครั้ง
ความหมายของมัลติมีเดีย

ความหมายของมัลติมีเดีย
เปิดอ่าน 20,963 ครั้ง
ประเภทของระบบภาพกราฟิก

ประเภทของระบบภาพกราฟิก
เปิดอ่าน 18,244 ครั้ง
ระบบสี Subtractive

ระบบสี Subtractive
เปิดอ่าน 25,362 ครั้ง
บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย

บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย
เปิดอ่าน 27,549 ครั้ง
สีบนจอภาพคอมพิวเตอร์

สีบนจอภาพคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 12,051 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
เปิดอ่าน 54,843 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความสำคัญของงานกราฟิก
ความสำคัญของงานกราฟิก
เปิดอ่าน 69,213 ☕ คลิกอ่านเลย

คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
เปิดอ่าน 54,843 ☕ คลิกอ่านเลย

การจับจอภาพโดยใช้ความสามารถ Clipboard
การจับจอภาพโดยใช้ความสามารถ Clipboard
เปิดอ่าน 16,521 ☕ คลิกอ่านเลย

สร้าง logo Icon ใส่ใน Favorite
สร้าง logo Icon ใส่ใน Favorite
เปิดอ่าน 16,657 ☕ คลิกอ่านเลย

กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต
กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต
เปิดอ่าน 28,501 ☕ คลิกอ่านเลย

มาตรฐาน Image Metadata
มาตรฐาน Image Metadata
เปิดอ่าน 23,597 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงสวยน้อยลง
สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงสวยน้อยลง
เปิดอ่าน 10,014 ครั้ง

"ประกาศสงกรานต์" ปี 2556
"ประกาศสงกรานต์" ปี 2556
เปิดอ่าน 25,831 ครั้ง

หน่วยจัดประสบการณ์และหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยจัดประสบการณ์และหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3
เปิดอ่าน 9,456 ครั้ง

อะโวคาโด
อะโวคาโด
เปิดอ่าน 9,639 ครั้ง

สรรพคุณทางยาของ "ผักหวานบ้าน"
สรรพคุณทางยาของ "ผักหวานบ้าน"
เปิดอ่าน 18,276 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ