โครงงานเรื่อง เกมอาเซียนน่ารู้ พัฒนาจากโปรแกรม Microsoft Excel ๒๐๑๐
ประเภทโครงงาน โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้จัดทำโครงงาน ๑. เด็กหญิงกานดา ตรีอินทอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๒. เด็กหญิงอุทัยรัตน์ น้อยบุตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๓. เด็กหญิงธนัชพร พรมสุวรรณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
บทคัดย่อ
การจัดทำโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เกมอาเซียนน่ารู้ พัฒนาจากโปรแกรม Microsoft Excel ๒๐๑๐ คณะผู้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างเกมอาเซียนน่ารู้ ใช้เล่นได้จริง ๒) เพื่อศึกษาการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel ๒๐๑๐ ๓) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกลุ่มสมาชิกประเทศอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ คณะผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น
เกมคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และยังมีบทบาทในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ซึ่งในการพัฒนา อาจจะแสดงในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอและการใช้ประสบการณ์โดยเน้นที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เล่น ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และเล่นด้วยตนเอง รวมถึงการเล่นเป็นหมู่คณะ เกมอาเซียนน่ารู้นี้ คณะผู้จัดทำจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจเล่นเกมกลับมาเล่นเกมที่ฝึกทักษะ แก้ปัญหาเด็กนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียน ความสนใจในการเรียนที่ถดถอย สามารถนำเกมอาเซียนน่ารู้มาให้ทดลองเล่น หรือมาพัฒนาในกลุ่มสาระอื่น ๆ ได้
จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง เกมอาเซียนน่ารู้ พัฒนาจากโปรแกรม MS-Excel ๒๐๑๐ ทำให้ได้เรียนรู้เรื่อง ประชาคมอาเซียนอาเซียน การใช้โปรแกรม MS-Excel ๒๐๑๐ ในการสร้างเกม ซึ่งเกมอาเซียนน่ารู้นอกจากจะให้ความรู้แล้ว ยังมีความสวยงาม น่าสนใจ และใช้งานได้จริง และเมื่อนำมาพัฒนาเป็นเกม กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองเล่นเกมอาเซียนน่ารู้ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ โพศรี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒-๔ ครูฝึกสอน ครู/อาจารย์ รวมทั้งสิ้น ๑๐๔ คน ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองเล่นเกมอาเซียนน่ารู้ พบว่า ก่อให้เกิดทักษะการคิดการใช้สมองประลองปัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๕ เกมมีรูปแบบความน่าสนใจ น่าเล่น อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นร้อยละ ๔๕ เหมาะสมที่จะใช้ประกอบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๓ สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๕ นำไปพัฒนาต่อยอดในกลุ่มสาระวิชาอื่น ๆ ได้ อยู่ในระดับ ๕๒.๕ กระตุ้นให้ผู้เล่นเกิดความสนใจ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๓ ความชัดเจนของภาพที่ใช้ประกอบเกม อยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๐ ความชัดเจนของรูปแบบตัวอักษรที่ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๕ ความเหมาะสมของการเลือกใช้สี อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นร้อยละ ๔๐ และความเหมาะสมของเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๕ ตามลำดับ
คณะผู้จัดทำ