ชื่อรายงาน :
รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านหนองแวงใหญ่
ผู้รายงาน :
นายอภิเชษฐ สุวรรณโคตร
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่รายงาน : 2559
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหนองแวงใหญ่ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ดำเนินการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 ถึง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 และใช้เวลาในการทดลองใช้แบบฝึก จำนวน 19 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนสะกดคำ รวม 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจ จำแนก (r) ค่าความแปรปรวน ค่าความเชื่อมั่น (KR-21) การหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 80/80 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t (t-Test)
ผลการศึกษาพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนด ดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ
89.02/87.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกแตกต่างกัน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ค่าเฉลี่ย = 87.68 สูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ค่าเฉลี่ย = 28.79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียน สะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่ ค่าเฉลี่ย = 4.98 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.03 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้