บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและ
หลังการใช้กิจกรรมแนะแนว ตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียว สอบก่อนและหลัง (One group pretest posttest desing) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามีดังนี้ 1) แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 16 แผน และ 2) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบผลคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้ค่าสถิติทดสอบค่าที (t test Dependent)
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 18.88 คิดเป็นร้อยละ 47.2 ส่วนคะแนนผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 26.21 คิดเป็นร้อยละ 65.53 เมื่อเปรียบเทียบผลคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า มีผลคะแนนผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและผลคะแนนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05