ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
ประวัติความเป็นมานาฎศิลป์ไทย

ประวัติความเป็นมานาฎศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการแสดงประจำชาติ เป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าสูง เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้และได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นแบบแผนที่ยึดถือปฏิบัติแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การแสดงนาฏศิลป์เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำประกอบ เพื่อสื่อให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวของการแสดง ให้ได้รับความเพลิดเพลินมีความสุขที่ได้ชมได้ฟัง เป็นการแสดงที่มีความวิจิตรงดงามมีลีลาอ่อนช้อยตามแบบอย่างไทย ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม ความประณีตงดงามในศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้ คนไทยทุกคนควรจะตระหนัก เห็นคุณค่า ร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดสืบสานและร่วมส่งเสริม เพื่อให้ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทยคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

ความหมายของ “นาฏศิลป์ไทย”

คำว่า “นาฏศิลป์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 มีความหมายว่า ศิลปะแห่งการละคร หรือการฟ้อนรำ

ประทิน พวงสำลี (2541, 1) กล่าวไว้ว่า นาฏศิลป์ หมายถึง การร้องรำทำเพลง การให้ความบันเทิงใจอันร่วมด้วยความโน้มเอียงของอารมณ์และความรู้สึก ส่วนสำคัญส่วนใหญ่ ของนาฏศิลป์ อยู่ที่การละครเป็นเอก หากแต่ศิลปะประเภทนี้จำต้องอาศัยดนตรี และขับร้อง เข้าร่วมด้วยเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดคุณค่าในศิลปะยิ่งขึ้นตามสภาพหรือตามอารมณ์ต่างๆ กัน สุดแต่จะมุ่งหมาย นอกจากนี้ยังต้องถือเอาความหมาย การร้องการบรรเลงเข้าร่วมด้วย

ธนิต อยู่โพธิ์ (2516, 1) ได้กล่าวว่า นาฏศิลป์ หมายถึง การฟ้อนรำ

จาตุรงต์ มนตรีศาสตร์ (2517, 1) กล่าวไว้ว่า คำว่า “นาฏศิลป์” เป็นคำสมาส แยกได้เป็น 2 คำ คือ นาฏ และศิลป์

นาฏ หมายถึง การฟ้อนรำ

ศิลป์ ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ในเมื่อธรรมชาติไม่สามารถอำนวยให้แต่ต้องสร้าง ให้ประณีต ดีงาม และสำเร็จสมบูรณ์ ศิลปะเกิดขึ้นด้วยทักษะ คือ ความชำนาญในการปฏิบัติ

ซึ่งพอจะประมวลความได้ว่า นาฏศิลป์ หมายถึงการฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ในเมื่อธรรมชาติไม่อำนวยให้ แต่ต้องประณีตลึกซึ้งตรึงตาตรึงใจ ทั้งเพียบพร้อมไปด้วย ความวิจิตรบรรจงอันละเอียดอ่อนและปฏิบัติให้สมบูรณ์ได้โดยเกิดจากความชำนาญถือเอาความหมายของ การร้องและการบรรเลงเข้าร่วมด้วย

พาณี สีสวย (2523, 6-7) ได้กล่าวถึงคำว่า นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะในการฟ้อนรำ หรือ ความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม มีแบบแผน ให้ความบันเทิงอันโน้มน้าวอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัย การบรรเลงดนตรีและการขับร้องเข้าร่วมด้วย

อมรา กล่ำเจริญ (2542, 3) ได้กล่าวถึง คำว่า นาฏศิลป์ หมายถึง การฟ้อนรำที่มนุษย์ ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตอันลึกซึ้ง เพียบพร้อมไปด้วยความวิจิตรบรรจง อันละเอียดอ่อน นอกจากหมายถึงการฟ้อนรำระบำรำเต้นแล้วยังหมายถึงการร้องและการบรรเลง

รานี ชัยสงคราม (2544, 39) กล่าวไว้ว่า นาฏศิลป์ หมายถึง การร้องรำทำเพลง การให้ความบันเทิงใจด้วยความโน้มเอียงของอารมณ์และความรู้สึก ส่วนสำคัญส่วนใหญ่ของนาฏศิลป์อยู่ที่การละครเป็นเอก หากแต่นาฏศิลป์นั้นจะต้องอาศัยดนตรีและการขับร้องเข้าร่วมด้วย

เรณู โกศินานนท์ (2544, 51) ได้กล่าวถึง คำว่า นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลป์แห่ง การฟ้อนรำอันเป็นพื้นฐานที่แสดงถึงอารยธรรมความรุ่งเรืองของชาติที่รุ่งเรืองหรืออารยธรรมที่เก่าแก่ ย่อมมีวัฒนธรรมทางด้านดนตรีนาฏศิลป์ของตนเอง

ที่มาของนาฏศิลป์ไทย

การแสดงละคร ฟ้อน รำระบำ เต้น เป็นศิลปะที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งแต่มนุษย์ เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนมีวิวัฒนาการและการพัฒนาการเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องที่ไปสู่การละเล่นร้องรำทำเพลงแล้วมาเป็นการแสดงที่เล่นเป็นเรื่องเป็นราว ที่มาของการแสดงเหล่านี้ได้มี ผู้สันนิษฐานถึงมูลเหตุของที่มาไว้หลายประการ ซึ่งอาจประมวลได้ดังนี้

1. เกิดจากการเลียนแบบธรรมชาติ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวอิริยาบถตามธรรมชาติของมนุษย์ เช่น แขน ขา หน้าตา หรือการแสดงความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในกิริยาอาการต่างๆ เช่น ความโกรธ ความรัก โศกเศร้า เสียใจ มนุษย์ได้ใช้ลักษณะท่าทางต่างๆ เหล่านี้ในการสื่อความหมายและนำมาดัดแปลงให้นุ่มนวลน่าดูชัดเจนไปกว่าธรรมชาติ จนเกิดเป็นศิลปะ การฟ้อนรำขึ้นและใช้เป็นการแสดงโดยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนกระทั่งเกิดเป็น ท่าทางการร่ายรำที่งดงามที่เป็นพื้นฐานของการฟ้อนรำทางนาฏศิลป์ เรียกว่า ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ เช่น

2. เกิดจากการมนุษย์คิดประดิษฐ์เครื่องบันเทิงใจ เมื่อหยุดพักจากภารกิจประจำวัน เป็นการผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยโดยเริ่มจากการเล่าเรื่องต่างๆ สู่กันฟัง เช่น นิทาน นิยาย ต่อมาได้มีวิวัฒนาการโดยนำเอาดนตรีมาประกอบการเล่าเรื่องเหล่านั้นเรียกว่า การขับเสภา ภายหลังมีการประดิษฐ์ท่าทางต่างๆ และมีการพัฒนารูปแบบไปเป็นการร่ายรำจนถึงขั้นการแสดงเป็นเรื่องราว

3. เกิดจากการละเล่นเลียนแบบของมนุษย์ ที่มักหาความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการเลียนแบบแม้เรื่องราวของตนเอง เช่น เลียนแบบท่าทางของพ่อ แม่ ครู ผู้ใหญ่ หรือเลียนแบบธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น การเล่นงูกินหาง การเล่นขายของ การเล่นมอญซ่อนผ้า ความสนุกของการเล่นเลียนแบบอยู่ที่การได้เล่นเป็นคนอื่น ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ในเรื่องของ การแสดงขั้นต้นของมนุษย์ ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์

๔. เกิดจากการเซ่นบวงสรวงบูชาเทพเจ้า ในสมัยก่อนมนุษย์มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าพระผู้เป็นเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และจะเคารพบูชาในสิ่งที่ตนนับถือ เมื่อมนุษย์เกิดความหวั่นกลัว จะมีการเคารพสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เริ่มจากการอธิษฐานบวงสรวงบูชาด้วยอาหาร ต่อมา มีการบวงสรวงบูชาด้วยการร่ายรำ มีการเล่นเครื่องดนตรีดีดสีตีเป่าและมีการร้องประกอบ เพื่อให้เทพเจ้าพอใจมีความกรุณาผ่อนผันหนักเป็นเบาหรือประทานให้ประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่ปรารถนา

จากความเชื่อเหล่านี้ จึงได้เกิดลิทธิทางศาสนาและตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้า ในสมัยสุโขทัย มีหลักฐานสำคัญ คือ หลักศิลาจารึกที่ปรากฏคำว่า “ระบำรำเต้นเล่นทุกวัน” ทำให้เข้าใจได้ว่า สมัยสุโขทัยนี้มีระบำเกิดขึ้น แต่คำว่าละครยังไม่ปรากฏและในสมัยนี้ มีวัฒนธรรมของอินเดีย แพร่หลายเข้ามามากมายโดยเฉพาะศิลปะการฟ้อนรำอินเดียเป็นชาติที่มีความเจริญก่อนวัฒนธรรมจึงแพร่หลายเข้าไปในชมพูทวีป การฟ้อนรำของอินเดียมีตำราแต่โบราณ เรียกว่า “นาฏยศาสตร์” ประเทศไทย ก็ได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมนี้ในด้านการฟ้อนรำ โดยได้นำมาดัดแปลงแต่งเติมให้เหมาะสมตรงกับความนิยม

ตำนานการฟ้อนรำของอินเดีย

ในกาลครั้งหนึ่งที่ป่าตาระกะเป็นสถานที่อุดมด้วยพืชผลนานาชนิด มีความสงบร่มรื่นสวยงาม บรรดาฤๅษีทั้งชายและหญิงต่างพากันไปตั้งอาศรมบำเพ็ญพรตอยู่กันเป็นจำนวนมาก ต่อมาบรรดาฤๅษีเหล่านั้นได้ประพฤติผิดเทวบัญญัติมักมากไปด้วยกามราคะ ร้อนถึงพระอิศวร เมื่อทรงทราบเหตุดังนี้จึงชวนพระนารายณ์ลงไปปราบพญาอนันตนาคราช ซึ่งเป็นบัลลังก์ ของพระนารายณ์ก็ขอตามเสด็จไปด้วย พระอิศวรทรงแปลงร่างเป็นดาบสหนุ่มรูปงาม ส่วนพระนารายณ์ทรงแปลงร่างเป็นดาบสสินีสาวกสาว ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จมายังบริเวณป่าตาระกะและบริเวณอาศรมของฤๅษี บรรดาฤๅษีหญิงทั้งปวงแลเห็นดาบสหนุ่มรูปงามเดินเข้ามาต่างก็เกิดอารมณ์รัก พากันเข้ารุมล้อมพูดจายั่วยวนต่างๆ ส่วนพวกฤๅษีชายแลเห็นดาบสสินีสาวสวยต่างเข้ารุมล้อมเกี้ยวพาราสีจึงทำให้เกิดความหึงหวงกันทั้งสองฝ่าย ประหัตประหารกันเองจนได้รับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส พระอิศวรและพระนารายณ์ต่างกลายร่างกลับคืนตามเดิมพร้อมทั้งกล่าวสั่งสอน ให้รู้สำนึกผิดชอบชั่วดี

ได้มียักษ์ค่อมตนหนึ่งชื่อ มุยะละคะ (หรืออสูรมูลาคนี) เข้ามาขัดขวางพยายาม จะช่วยเหลือเหล่าบรรดาฤๅษีพวกนั้น พระอิศวรจึงลงโทษโดยเอาพระบาทเหยียบยักษ์ตนนั้นไว้ แล้วแสดงท่าทางการร่ายรำด้วยความงดงามอย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาในโลก

พญาอนันตนาคราชที่ได้ตามเสด็จมาในคราวนั้น ได้เห็นการร่ายรำของพระอิศวรเกิดความประทับใจชื่นชมใคร่อยากจะเห็นพระอิศวรทรงฟ้อนรำอีก จึงได้กราบทูลปรึกษาพระนารายณ์ และพระนารายณ์ได้ทรงแนะนำให้พญาอนันตนาคราชไปบำเพ็ญตบะ พญาอนันตนาคราช จึงไปนั่งบำเพ็ญตบะที่เขาไกรลาศซึ่งเป็นสถานที่ที่พระอิศวรประทับอยู่และเพ่งกระแสจิต อย่างแนวแน่ จนในที่สุดพระอิศวรก็ได้เสด็จลงมา พญาอนันตนาคราชจึงกราบทูลความประสงค์แก่พระอิศวร พระองค์จึงได้ประทานพรให้แสดงท่าทางการร่ายรำต่างๆ เหมือนครั้งก่อนตามที่ พญาอนันตนาคราชทูลขอ (ซึ่งต่อมาราว พ.ศ. 1800 ชาวอินเดียได้สร้างเทวสถานและได้สลัก รูปท่ารำต่างๆ ของพระอิศวรครบ ๑๐๘ ท่า เรียกว่า “เทวรูปปางนาฏราช”)

ของคนไทย ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของนาฏศิลป์ไทยจึงจำเป็นที่ผู้เรียนต้องเข้าใจเรื่องราวที่มาของการฟ้อนรำของอินเดียควบคู่ไปด้วย

ต่อมาพระอิศวรทรงมีประสงค์ที่จะให้เหล่าบรรดาเทวดานางฟ้าทั้งหลายได้เห็นการร่ายรำของพระองค์ จึงประกาศให้ประชุมเทวสภา พระอิศวรก็แสดงการร่ายรำท่ามกลางที่ประชุม เทวสภาด้วยท่าทาง อันสง่า สวยงาม เป็นที่นิยมยินดีโดยทั่วกัน พระนารทฤๅษีซึ่งอยู่ในที่นั้น ได้จดบันทึกสร้างเป็นตำราการฟ้อนรำขึ้น พระภรตฤๅษีเป็นผู้บัญญัติวิธีการแสดงละคร โดยแต่งเป็นโศลกบรรยายท่ารำต่างๆ ของพระอิศวรทั้ง 108 ท่า ให้รำเบิกโรงด้วยลีลารำตามโศลกที่ขับเป็นทำนองตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วจับเรื่องให้แสดงเรื่องกวนน้ำอมฤต ซึ่งตำนานการแสดงละครของพระภรตฤๅษีนี้มีชื่อว่า นาฏยศาสตร์ บางที่ก็เรียกว่า ภรตศาสตร์ ตามชื่อของท่านผู้แต่ง (พระภรตฤๅษีผู้รจนานาฏยศาสตร์ คนไทยนับถือเป็นปรมาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์)

พระภรตฤๅษีปฐมาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์

ที่มาของภาพ : สุนทรียศิลป์ 5, องค์การค้าคุรุสภา

ตำราของรำไทย

ตำรานาฏยศาสตร์ที่พวกพราหมณ์ชาวอินเดียนำเข้ามาในประเทศไทย รูปแบบเป็นอย่างไร ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่มีเค้าพอสันนิษฐานได้ว่าตำรานาฏศาสตร์ที่พวกพราหมณ์ชาวอินเดีย นำเข้ามานั้นคงจะได้แปลเป็นภาษาไทยเฉพาะบางส่วนน่าจะเป็นหลักฐานได้ว่าตำรารำของไทย แต่เดิมน่าจะแปลมาแต่ตำรานาฏยศาสตร์ของอินเดีย แต่จะแปลไว้อย่างไรข้อนี้ไม่ทราบเพราะตำราของไทยได้สูญหายไปเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ตำรารำที่ได้รวบรวมไว้มีเก่าที่สุด ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นตำราท่ารำต่างๆ เขียนเป็นรูประบายสีปิดทอง 1 เล่ม มีลักษณะชำรุด ขาดหาย อีกเล่มหนึ่งเป็นตำราท่ารำต่างๆ มีลักษณะเป็นระเบียบเดียวกัน แสดงว่าตำรารำ ที่ได้มาจาก พระราชวังบวรฯ น่าจะเป็นการคัดลอกมาจากตำรารำเล่มในรัชกาลที่ 1 และเป็นหลักฐานให้รู้ได้อีกว่าท่ารำต่างๆ ที่ขาดไปจากเล่มรัชกาลที่ 1 นั้นเป็นท่าใดบ้าง โดยอาศัยหลักฐานที่ได้จากตำรารำทั้งสองเล่มนี้เข้าใจว่าตำรารำแบบนี้ น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นถึง สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ครูละคร ทำตำราท่ารำขึ้นใหม่ไว้เป็นแบบแผน ครั้นต่อมาจึงโปรดให้เจ้านายในวังคัดลอกตำรานั้นไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับละคร

ความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์นอกจากจะเป็นเครื่องมือบันเทิงใจสำหรับมนุษย์แล้ว นาฏศิลป์ยังเป็น การแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมที่ดีของชาติ และมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในพิธีกรรมต่างๆ ตลอดทั้งยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของสังคม ซึ่งส่งผลให้นาฏศิลป์ มีความสำคัญดังนี้

1. นาฏศิลป์แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะ ที่สะท้อนถึงระดับจิตใจ สภาพความเป็นอยู่ ความรู้ความสามารถ ความเป็นไทย ความเจริญรุ่งเรือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ซึ่งอารยธรรมเหล่านี้มีกำเนิดจากศิลปะที่มีคุณค่า ทำให้เกิดความคิดที่จะช่วยกันสร้างสรรค์ ความเจริญก้าวหน้าให้แก่บ้านเมือง และตระหนักถึงความสำคัญที่จะต้องรักษานาฏศิลป์ไว้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ ดังที่เรณู โกศินานนท์ (2535, 6) กล่าวถึงนาฏศิลป์ไทยที่แสดงถึงความเป็นไทยไว้ดังนี้

1.1) ท่ารำอ่อนช้อยงดงามและแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทยมีความหมายกว้างขวาง

1.2) จะต้องมีดนตรีประกอบดนตรีนี้จะแทรกอารมณ์หรือรำกับเพลงที่มีแต่ทำนองก็ได้ หรือมีเนื้อร้องและให้ท่าไปตามเนื้อร้องนั้นๆ

1.3) คำร้อง หรือเนื้อร้องจะต้องเป็นคำประพันธ์ ส่วนมากจะเป็นกลอนแปด ซึ่งจะนำไปร้องกับเพลงชั้นเดียวหรือเพลงสองชั้นได้ทุกเพลง คำร้องนี้ทำให้ผู้สอน หรือผู้รำกำหนดท่ารำไปตามเนื้อร้อง

1.4) เครื่องแต่งกายละครไทย ซึ่งผิดแผกกับเครื่องแต่งกายละครของชาติอื่น มีแบบอย่างของตนโดยเฉพาะขนาดยืดหยุ่นได้ตามสมควร เพราะการสวมจะใช้กลึงด้วยด้ายแทนที่จะเย็บสำเร็จรูป การแต่งกายของละครไทยอาจจะคล้ายของเขมรก็เพราะได้แบบอย่างจากไทยไป

2. นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมของศิลปะแขนงต่างๆนาฏศิลป์ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องของ การร้องรำทำเพลงเท่านั้น แต่นาฏศิลป์ยังได้รวมเอาศิลปะประเภทอื่นๆ มาใช้ร่วมในการแสดงด้วย เช่น ศิลปะในการประพันธ์หรือวรรณคดี ศิลปะการออกแบบเครื่องแต่งกาย ตลอดจนไฟฟ้าแสงเสียงก็รวมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่านาฏศิลป์มีความสำคัญคือ เป็นแหล่งรวมของศิลปะสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยความประณีตละเอียดอ่อนและรอบคอบสุขุม ถึงจะสามารถทำให้การแสดงนาฏศิลป์สมบูรณ์แบบสวยงาม

จากความสำคัญของนาฏศิลป์ที่กล่าวมาในข้างต้น จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนนาฏศิลป์เพื่อสร้างความตระหนัก และส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีแก่นักเรียน ดังนี้

ความมุ่งหมายของการเรียนนาฏศิลป์โดยทั่วไปก็เพื่อ

- ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะมากยิ่งขึ้น

- เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของในสมบัติอันมีค่า และเพื่อให้มนุษย์ รู้ซึ้งถึงคุณค่าของศิลปะของตนเอง

- ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

- ฝึกปฏิบัติเพื่อเกิดความรู้ความชำนาญ ส่งเสริมการแสดงออกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

- เพื่อฝึกหัดอบรมให้เกิดความรู้ ความชำนาญ มีความแตกฉานสามารถปรับปรุงส่งเสริมให้ได้รับการยกย่อง ชมเชย

- เพื่อทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่และเจริญก้าวหน้า

- เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมค่านิยมทางศิลปะ เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย

ประโยชน์ของการเรียนนาฏศิลป์ไทย

1. มีโอกาสได้แสดงออกและมีความเพลิดเพลิน

2. ปลูกฝังให้มีนิสัยรักในศิลปะแขนงนี้

3. เป็นการสืบสานและร่วมกันรักษานาฏศิลป์ของไทยให้เป็นสมบัติอันมีค่าประจำชาติสืบไป

4. เป็นการสันทนาการที่ดีทางหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้แสดงเองก็ตามเพราะขณะที่ไปชมการแสดงก็จะมีความเข้าใจ เกิดความสนุก สามารถวิจารณ์ได้ถูกต้อง

5. ช่วยส่งเสริมความถนัด หากมีความสนใจ มีความถนัด และมีใจรักอาจเป็นแนวทางประกอบอาชีพได้

6. ร่วมแสดงและทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

7. ช่วยในการสร้างบุคลิกภาพ ให้มีการเคลื่อนไหวไม่ขัดตา ท่าทางสง่างาม น่าดู ไม่เก้อเขินและเหนียมอาย เมื่ออยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก

8. เป็นการออกกำลังกายที่ได้บริหารทุกส่วนของร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงด้วย

สรุป

นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการละครหรือฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม มีแบบแผน ให้ความบันเทิง และยังแสดงให้เห็นถึงอารยธรรมของชาติที่เจริญรุ่งเรือง มีวัฒนธรรมทางด้านดนตรี – นาฏศิลป์ สืบต่อกันมา

โพสต์โดย ครูอุ้ม : [10 ก.ย. 2560 เวลา 12:06 น.]
อ่าน [59436] ไอพี : 61.19.69.59
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 210,519 ครั้ง
สงครามครูเสด
สงครามครูเสด

เปิดอ่าน 10,800 ครั้ง
9 เรื่องเล็ก ๆ ที่จะทำให้คุณก้าวหน้า
9 เรื่องเล็ก ๆ ที่จะทำให้คุณก้าวหน้า

เปิดอ่าน 15,774 ครั้ง
สำเร็จครั้งแรก! นำเชื้อธรรมชาติเพาะ ‘เห็ดโคนคอนโด’
สำเร็จครั้งแรก! นำเชื้อธรรมชาติเพาะ ‘เห็ดโคนคอนโด’

เปิดอ่าน 8,162 ครั้ง
How To ทำวิทยฐานะแบบใหม่
How To ทำวิทยฐานะแบบใหม่

เปิดอ่าน 83,617 ครั้ง
10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์
10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์

เปิดอ่าน 18,890 ครั้ง
5 ต้นไม้ดูดสารพิษ ช่วยกรองอากาศแบบธรรมชาติ
5 ต้นไม้ดูดสารพิษ ช่วยกรองอากาศแบบธรรมชาติ

เปิดอ่าน 15,209 ครั้ง
ตกแต่งห้องให้ดูกว้างขึ้น
ตกแต่งห้องให้ดูกว้างขึ้น

เปิดอ่าน 14,991 ครั้ง
ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"
ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"

เปิดอ่าน 23,504 ครั้ง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง คลิกเลย
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง คลิกเลย

เปิดอ่าน 23,073 ครั้ง
การฝึกทักษะการพูดและฟังภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ
การฝึกทักษะการพูดและฟังภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ

เปิดอ่าน 71,925 ครั้ง
อีโมติคอน อักษรแสดงอารมณ์
อีโมติคอน อักษรแสดงอารมณ์

เปิดอ่าน 11,937 ครั้ง
1 ธันวา..วันเอดส์โลก
1 ธันวา..วันเอดส์โลก

เปิดอ่าน 15,064 ครั้ง
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร

เปิดอ่าน 80,374 ครั้ง
ดินสอทำไมมีตัว H กับตัว B
ดินสอทำไมมีตัว H กับตัว B

เปิดอ่าน 5,525 ครั้ง
รายชื่อ 31 จังหวัด เตรียมนำร่องถอดหน้ากากอนามัย ที่ไหนบ้างเช็กเลย !
รายชื่อ 31 จังหวัด เตรียมนำร่องถอดหน้ากากอนามัย ที่ไหนบ้างเช็กเลย !

เปิดอ่าน 2,458 ครั้ง
"ยางอินเดีย" ไม้มงคลยอดฮิต ปลูกประดับบ้าน
"ยางอินเดีย" ไม้มงคลยอดฮิต ปลูกประดับบ้าน
เปิดอ่าน 10,007 ครั้ง
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม
วิธีง่าย ๆ ในการเผาผลาญแคลอรีนอกยิม
เปิดอ่าน 22,473 ครั้ง
เคล็ดไม่ลับ!!!วิธีตอน"มะนาว"ด้วย"กะปิ" ได้กิ่งพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการ
เคล็ดไม่ลับ!!!วิธีตอน"มะนาว"ด้วย"กะปิ" ได้กิ่งพันธุ์ดี เป็นที่ต้องการ
เปิดอ่าน 1,396 ครั้ง
ส่อง 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ ปี 2023
ส่อง 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ ปี 2023
เปิดอ่าน 14,880 ครั้ง
ประโยชน์ ของการดื่มเบียร์
ประโยชน์ ของการดื่มเบียร์

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ