ชื่อโครงงาน ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
Solar energy dryer cabinets
ชื่อนักเรียน เด็กหญิงภทรพร แสนวงษ์
เด็กชายจักรพงศ์ หงษ์ทอง
เด็กชายคธาวุธ วิเศษรัตน์
ชื่อครูที่ปรึกษา นางสาวทัศนีย์ภรณ์ รัตนอ่อน
โรงรียน บ้านหนองนกเขียนโพนทัน อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี
บทคัดย่อ
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่มีวันหมด และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น อบอาหาร ตากอาหาร แต่วิธีการตากให้แห้งด้วยความร้อนจากดวงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว บางครั้งต้องใช้เวลานานประมาณ 1-3 วัน และการอบแห้งดังกล่าว ยังพบปัญหาอื่นๆ เช่น ฝน ฝุ่นละออง และ การรบกวนของแมลง ซึ่งทำให้ผลผลิตสกปรก หรือไม่แห้งในระยะเวลาที่ต้องการ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ คณะผู้จัดทำโครงงานจึงมองเห็นความสำคัญที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาประดิษฐ์ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดมลภาวะที่เกิดขึ้น โดยทางกลุ่มของเราได้นำวัสดุที่เหลือใช้ มาประดิษฐ์เป็นตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ใช้พลังงานทดแทนและเป็นพลังงานสะอาดไม่สร้างมลพิษ โดยการใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ในการถนอมอาหารและปรับปรุงคุณภาพของ การอบแห้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอบแห้งพืชสมุนไพร พบว่า อุณหภูมิภายในตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 49.33 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิภายนอกตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.67 องศาเซลเซียส มวลของน้ำในพืชสมุนไพรที่ลดลงคือ ตะไคร้ลดลง 12.33 กรัม ใบมะกรูดลดลง 15.67 กรัม และผิวมะกรูดลดลง 9 กรัม ซึ่งมากกว่าเมื่ออบแห้งด้วยการตากแบบธรรมชาติมวลของน้ำในพืชสมุนไพรที่ลดลงคือ ตะไคร้ลดลง 9 กรัม ใบมะกรูดลดลง 11.33 กรัม และผิวมะกรูดลดลง 7 กรัม แสดงว่า การอบแห้งด้วยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพการอบแห้งสูงกว่าการตากแห้งแบบวิธีธรรมชาติ