ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ
เรื่อง ไตรยางค์และการผันวรรณยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ผู้รายงาน นางแมมูเน๊าะ ดือรามะ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านตะลุบัน สังกัดเทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางค์และการผันวรรณยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านตะลุบันอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านตะลุบัน เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๒๓ คน เนื่องจากนักเรียนชั้นนี้มีปัญหา ในการเรียน เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๕ เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ ๒๐ แผน ๒๐ ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-๒๐) ๐.๘๑ และแบบสอบถามความพึงพอใจมีความเหมาะสมเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๔ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
ผลการวิจัย พบว่า
๑. แบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ ๘๔.๙๙/๘๕.๘๗ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๔.๗๖