Advertisement
ทำไม E = mc กำลัง 2
เป็นผลของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ถ้าอยากรู้ละเอียดลองหาหนังสือสัมพัทธภาพพิเศยอ่านดู ในปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิซชั่น
ส่วนใหญ่เขาจะใช้นิวตรอนพลังงานต่ำ
เป็นยิงเข้าไปในธาตุกัมมันตรังสี เพื่อให้ธาตุเกิดการแตกตัวออกเป็นธาตุเล็กๆ
|
|
|
เขาพบว่ามวลรวมหลังจากการเกิดปฏิกิริยามีค่าลดลง
และมีพลังงานความร้อนในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(ความร้อน)เพิ่มขึ้น พร้อมกับให้นิวตรอนเเพิ่มจากเดิมหลายเท่าตัวเพื่อไปทำปฏิกิริยาต่อ กลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ถ้าเป็นกรณีของเตาปฏิกรณ์ปรมณู
จะมีแท่งคาร์บอนช่วยดูดซับนิวตรอนพวกนี้ แต่ถ้าไม่มีตัวดูดซับนิวตรอนก็ไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ได้ ปฏิกิริยานี้ก็จะกลายเป็นระเบิดปรมณูไป
|
|
|
สามารถแปลความหมายของสมการนี้ได้คือ
"มวลคือพลังงาน พลังงานคือมวล" ที่มาของสมการนี้ต้องไปดูในหนังสือที่เกี่ยวกับ special theory of relativity ดูนะครับ มันเป็นผลของคณิตศาสตร์ กับการลดรูปโน่นนี่อ่ะนะครับ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เกิดขึ้นภายในนิวคลีออนของอะตอม มองภาพว่า
นิวคลีออนก่อนแตกตัวมีมวลค่าหนึ่ง แต่พอแตกตัวออกมา มวลรวมของมันกลับน้อยลง ..
|
|
|
มวลหายไปไหน ??
มวลที่หายไป (มวลพร่อง) กลายเป็นพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกมานั่นคือคำตอบ
|
|
ถ้าจะพูดให้ละเอียดเข้าไปอีกก็คือ ใน
นิวคลีออน อนุภาคจะถูกยึดเหนี่ยวกันด้วยพลังงานอย่างหนึ่ง คือพลังงานยึดเหนี่ยว ซึ่งเป็นแรงนิวเคลียร์ มีพิสัยสั้น (ไม่เหมือนแรงคูลอมป์ ที่มีพิสัยยาว)
|
|
จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมประจุบวกกับประจุบวก (โปรตอนหลายตัว)
ถึงอัดแน่นอยู่ที่นิวเคลียสได้ และเมื่อเราวัดมวลของอะตอมนั้น เราได้วัดมวลของพลังงานยึดเหนี่ยวเข้าไปด้วย เมื่อนิวคลีออนเกิดการแตกตัว พลังงานยึดเหนี่ยวถูกปลดปล่อยออกมา ทำให้เราวัดมวลรวมของนิวคลีออนได้ลดน้อยลงไปครับ
|
|
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์ วิชาการ ดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
|
|
สำเนาข้อมูลมาจาก teenee.com
Advertisement
 เปิดอ่าน 181,662 ครั้ง  เปิดอ่าน 28,890 ครั้ง  เปิดอ่าน 61,599 ครั้ง  เปิดอ่าน 23,416 ครั้ง  เปิดอ่าน 9,656 ครั้ง  เปิดอ่าน 956 ครั้ง  เปิดอ่าน 25,473 ครั้ง  เปิดอ่าน 32,098 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,661 ครั้ง  เปิดอ่าน 17,373 ครั้ง  เปิดอ่าน 135,332 ครั้ง  เปิดอ่าน 24,019 ครั้ง  เปิดอ่าน 26,904 ครั้ง  เปิดอ่าน 33,497 ครั้ง  เปิดอ่าน 309 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,511 ครั้ง
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
|