บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
โรงเรียนวัดประดู่ ปีการศึกษา 2559
ชื่อผู้รายงาน นางสาววัชราภรณ์ นิยม
ปีที่รายงาน 2559
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดประดู่ ปีการศึกษา 2559 ในการประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ตรวจสอบโครงการและพัฒนาโครงการด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตามลักษณะของโครงการที่ดี และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 29 คน ครู จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 29 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และหาค่าความเชื่อมั่น (- Coefficient) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียน วัดประดู่ ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดประดู่ ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนวัดประดู่ ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในภาพรวม เฉลี่ยร้อยละ 75.15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดประดู่ ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดประดู่ ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ด้านข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ พบว่า ด้านสภาพแวดล้อม ควรชี้แจงนโยบายโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดประดู่ ปีการศึกษา 2559 ให้ทุกฝ่าย ทุกคนทราบอย่างชัดเจนและทั่วถึง สำรวจความต้องการของนักเรียน และผู้ปกครองเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างเครือข่ายการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านกับโรงเรียนอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ด้านปัจจัยเบื้องต้น ให้โรงเรียนสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการให้มากขึ้นกว่าเดิม วางแผนเรื่องงบประมาณร่วมกัน เพื่อให้งบประมาณเพียงพอกับการดำเนินงาน ปรับปรุงห้องสมุดให้ได้มาตรฐาน และมีสื่อที่ทันสมัยเพียงพอกับจำนวนนักเรียน ด้านกระบวนการ ให้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากกว่าเดิม จัดทำเอกสารให้เพียงพอเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบขั้นตอนการดำเนินงาน และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานทุกครั้ง ด้านผลผลิต การประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของโครงการให้ชุมชนได้รับทราบด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นหรือจูงใจในการสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน ให้จัดทำข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล และศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังจากการดำเนินโครงการโดยมีจุดเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. จากผลการประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม ที่พบว่า อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนั้น โรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับการประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการรับรู้อย่างสม่ำเสมอ สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินการตลอดจนจูงใจให้มุ่งมั่นที่ดำเนินงานต่อไป
2. จากผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้นที่พบว่า อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์
การประเมิน ดังนั้น โรงเรียนควรศึกษาแนวทางการดำเนินงานสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รวมถึงการระดมทุนให้เพียงพอต่อการดำเนินงานโครงการเพราะงบประมาณมักเป็นปัญหาอันดับต้นๆ เสมอในการดำเนินงานโครงการ แม้จะจัดสรรกันด้วยความรอบคอบเพียงใดก็ยังขาดแคลนได้เช่นกัน ดังนั้น การแสวงหารายได้เพิ่มจึงเป็นทางเลือกที่ต้องให้ความสำคัญ โดยการขอความอนุเคราะห์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน และหน่วยงานอื่นๆ
3. จากผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ ที่พบว่า อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนั้น การดำเนินโครงการโรงเรียนต้องจัดทำแผนให้ชัดเจน ระบุกิจกรรม เวลา แหล่งงบประมาณ ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการและครูทุกคนควรร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหาร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมิน และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. จากผลการประเมินด้านผลผลิต ที่พบว่า ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ดังนั้น โรงเรียนควรดำเนินการต่อเนื่องและควรใช้ข้อมูลจากการสำรวจความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานทุกปี เพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
5. จากผลการประเมินด้านผลผลิต ที่พบว่า พฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก จึงควรนำกิจกรรมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสอดแทรกในวิถีชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. จากผลการประเมินด้านผลผลิต ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นโรงเรียนควรดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านควบคู่กับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข
7. จากผลการประเมินด้านผลผลิต ที่พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนจึงควรให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการรับรู้ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินความพึงพอใจ เพื่อปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการของนักเรียน
8. จากผลการประเมินด้านผลผลิต ที่พบว่า ความพึงพอใจของครู และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โรงเรียนควรมีแผนการประชุมร่วมกัน เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ การสรุปผลการดำเนินงาน โรงเรียนต้องรายงานผลให้ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถดำเนินงานได้ประสบผลสำเร็จ
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินเกี่ยวกับรูปแบบในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเพื่อจะได้คัดสรรรูปแบบที่ใช้ในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนวัดประดู่ ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนได้ดียิ่งขึ้นต่อไป
2. ควรมีการประเมินโครงการที่เน้นเฉพาะผลผลิตในด้านการประเมินประสิทธิผลของโครงการ (Effectiveness) และการประเมินผลกระทบของโครงการ (Impact Evaluation) เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการต่อไป
3. ควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการดำเนินการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนอย่างแท้จริง โดยเน้นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research : PAR.)
4. ควรมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร เอกชน และชุมชนเพื่อระดมทรัพยากรในการดำเนินโครงการอย่างพอเพียงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านงบประมาณ ซึ่งได้รับจัดสรรในจำนวนที่ค่อนข้างจำกัดเพื่อให้การดำเนินงานครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น