ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนมัธยมวัดป่ามะไฟ
อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
หน่วยงาน โรงเรียนมัธยมวัดป่ามะไฟ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ผู้วิจัย นายวิสุทธิ์ ปังสมบูรณ์สุข
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนมัธยมวัดป่ามะไฟ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักและเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนมัธยมวัดป่ามะไฟ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก 2. สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก 3. ทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก และ 4. ประเมินรูปแบบการบริหาร โดยใช้ชุมชนเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน คณะกรรมการบริหารงานวิชาการ 5 คน คณะกรรมการบริหารงานบุคคล 5 คน คณะกรรมการบริหารงานงบประมาณ 5 คน คณะกรรมการบริหารงานทั่วไป 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลักของโรงเรียนมัธยม ป่ามะไฟ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี คือ สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คุณภาพรูปแบบการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ด้านการกระจายอำนาจ มีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรตามความต้องการ มีการระดมทรัพยากรและ การลงทุน สามารถบริหารงบประมาณเพื่อประโยชน์ของผู้เรียน มีการตรวจสอบการใช้เงิน มีการกำหนดมาตรฐาน การบริหารงาน มาตรการตรวจสอบ การประชาสัมพันธ์และนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีกระบวนการสรรหาและคัดเลือกกรรมการสถานศึกษา การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผน นำมติที่ประชุมไปสู่การปฏิบัติ และมีการบริหารเครือข่ายผู้ปกครอง การประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี ใช้ฐานข้อมูลและทรัพยากรของชุมชนในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การส่งเสริมและดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบการดำเนินงาน มีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยคณะกรรมการภายนอก และผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก โดยรวมเหมาะสมมากที่สุด