Advertisement
ข่าวสะเทือนใจในช่วงสองวันที่ผ่านมา เห็นจะไม่พ้นประเด็นคนไทยถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตที่แกรนด์ แคนยอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ข่าวนี้บีบหัวใจผู้อ่านตรงที่ผู้เสียชีวิต 2 รายนั้น เพิ่งฉลองวิวาห์ไปเมื่อ 12 ก.ค.2556 ที่ผ่านมา แถมฝ่ายชายยังเป็นบุคลากรทางด้านการศึกษา "ดร.อารัมภ์ กาวีวงศ์" อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะที่ภรรยาสาวเป็นหมอ "ทันตแพทย์หญิง รัชยา ตันตรานนท์" โดยทั้งคู่อยู่ในวัย 30 ปีเท่ากัน
เมื่อข่าวนี้ถูกรายงาน หลายคนที่เคยมีประสบการณ์เดินทางไปท่องเที่ยวยังแกรนด์ แคนยอน จุดเกิดเหตุแบ่งปันข้อมูลว่า สถานที่ดังกล่าวมักเกิดปรากฎการณ์ฟ้าฝ่าอยู่เป็นประจำ
สำหรับข้อมูลจากอุทยานแห่งชาติ แกรนด์ แคนยอน สหรัฐ เปิดเผยไว้ว่า ช่วง ค.ศ.1997-2000 เกิดฟ้าผ่าที่แกรนด์ แคนยอน นับได้ 104,294 ครั้ง หรือเฉลี่ย 26,073 ครั้งต่อปี ด้วยความถี่มากมายเช่นนี้ จึงมีการออกประกาศเตือนระวังอันตรายจากฟ้าผ่า โดยเฉพาะช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน
อย่างไรก็ตาม ข่าวนี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า ฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเหตุใดที่แกรนด์ แคนยอน จึงเกิดฟ้าผ่าอยู่บ่อยๆ การสืบค้นข้อมูลเรื่องฟ้าผ่า พบว่า อ.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยกล่าวไว้ในงานเสวนา "ฟ้าผ่า ภัยธรรมชาติที่มาพร้อมฤดูมรสุม" ซึ่งเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์เผยข้อมูลนี้ไว้
ใจความสำคัญของการเกิดฟ้าผ่า อ.สธน เผยไว้ว่า "เกิดจากเมฆคิวมูโลนิบัสหรือเมฆฟ้าคะนอง เมื่อหยดน้ำในเมฆมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถต้านแรงดึงดูดของโลกไว้ได้ จะเริ่มตกลงสู่พื้นดิน เป็นกระแสอากาศไหลลง (Downdraft) การเกิดทั้งกระแสลมพัดขึ้นและลงนี้จะทำให้เกิดการแยกประจุบวกและลบภายในก้อนเมฆขึ้น โดยด้านบนของเมฆจะเป็นประจุบวกและด้านล่างซึ่งเป็นฐานเมฆจะเป็นประจุลบ แต่เนื่องจากฐานเมฆอยู่ใกล้กับพื้นดินมาก จึงเกิดการเหนี่ยวนำให้สิ่งของต่างๆ ทั้งต้นไม้บ้านเรือน ตึก คน บริเวณใต้ฐานเมฆเป็นประจุบวก ประจุลบที่ฐานเมฆจะเคลื่อนที่ลงมายังพื้นดินที่เป็นประจุบวก เกิดเป็นฟ้าผ่าขึ้นในที่สุด"
ด้วยสภาพของแกรนด์ แคนยอน เป็นสถานที่กลางแจ้ง มีโขดหิน ลานหิน ผาหิน ถือว่าเข้าข่ายเป็นที่โล่งแจ้งจึงมักเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าเป็นประจำ
จะว่าไปปรากฏการณ์ฟ้าผ่าไม่ไกลตัวบ้านเรา เพราะกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่าถึง 46 ราย อย่างไรก็ตาม ผู้ถูกฟ้าผ่ามีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ 30 โดยมีสาเหตุจากหัวใจหยุดเต้นด้วยกระแสไฟฟ้าแรงสูง ช็อกทันที
เมื่อเป็นเช่นนี้ กรมควบคุมโรคจึงออกคำแนะนำเพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า เริ่มจากหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ในขณะฝนตกฟ้าคะนอง หรือสวมใส่อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าทั้งทองคำ เงินทองแดง นากและสร้อยโลหะ หากจำเป็นต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งควรนั่งหมอบ ย่อตัวให้ต่ำและชิดกับพื้นให้มากที่สุด แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา เพราะฟ้าผ่าลงที่สูง
ต่อมาห้ามอยู่ใกล้หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น เครื่องมือการเกษตร โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์สาธารณะ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนประกอบที่เป็นแผ่นโลหะ สายอากาศและแบตเตอรี่ที่เป็นตัวล่อไฟฟ้าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้
ควรหลบในอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้า จะช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้ แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะในขณะฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องไฟฟ้าทุกชนิด เพราะกระแสไฟจากฟ้าผ่าอาจไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสื่อไฟฟ้าต่างๆ ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้
กรณีอยู่ในรถ ควรปิดกระจกทุกบาน หากฟ้าผ่าลงรถควรตั้งสติ ไม่ควรออกจากรถโดยเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าที่ไหลตามผิวโลหะของตัวถังรถจะไหลลงสู่พื้นดิน หากออกนอกรถจะมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้าผ่าสูง การหลบอยู่ในรถจึงปลอดภัยที่สุด เพราะโครงสร้างรถยนต์เป็นโลหะนำไฟฟ้าที่ไม่ดีนัก จะช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2556
ไฟโซล่าเซลล์ สปอร์ตไลท์ led Solar light ไฟโซล่า ไฟ solar cell IP67 กันน้ำและป้องกันฟ้าผ่ 10000W รับประกัน30ปี
฿199 - ฿1,358https://s.shopee.co.th/6pmJMLjlQH?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 24,892 ครั้ง  เปิดอ่าน 34,874 ครั้ง  เปิดอ่าน 24,043 ครั้ง  เปิดอ่าน 22,586 ครั้ง  เปิดอ่าน 31,743 ครั้ง  เปิดอ่าน 59,383 ครั้ง  เปิดอ่าน 66,539 ครั้ง  เปิดอ่าน 23,532 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,531 ครั้ง  เปิดอ่าน 23,960 ครั้ง  เปิดอ่าน 5,105 ครั้ง  เปิดอ่าน 1,810 ครั้ง  เปิดอ่าน 31,984 ครั้ง  เปิดอ่าน 21,901 ครั้ง  เปิดอ่าน 26,613 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,868 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 9,957 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 41,682 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 27,530 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 20,744 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,224 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 18,225 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 4,682 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 16,198 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 6,298 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,265 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,832 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 54,170 ครั้ง |
|
|