Advertisement
วันขึ้นปีใหม่
--------------------------------------------------------------------------------
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการฉลองเทศกาลตลอดทั้งปี ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธและพราหมณ์ กาลเวลาผ่านไป เทศกาลต่าง ๆ ก็ถูกดัดแปลงให้สอดคล้องกับสากลนิยม
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย โบราณมาเราถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต้องด้วยพระพุทธศาสนา ถือเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี สมัยโบราณวันขึ้นปีใหม่ ถือคติพราหมณ์ ใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเป็นเช่นนั้นตลอดมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2432 แห่งรัชกาลที่ 5 จึงเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้เนื่องจากทางราชการนิยมใช้หลักสุริยคติ แต่ยังคล้องตามคติพราหมณ์อยู่นั่นเอง เพราะเดือน 5 ก็ตรงกับเดือนเมษายนเรื่อยมา
ต่อมาทางราชการประกาศเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปฏิทิน พ.ศ.2483 และเริ่มใช้เมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2483 รัฐบาลจึงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่
ดังนั้น ในปี พ.ศ.2483 จึงมีเพียง 9 เดือนเท่านั้น คือเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสากล ประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2483 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้ในนานาประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก แต่ก็ไม่สำคัญเท่าที่เราได้ฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีไทยแต่โบราณกาล ซึ่งเราได้ละทิ้งเสียโดยอิทธิพลของพราหมณ์กลับมาใช้ใหม่
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ย่อมเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย ทั้งในส่วนเกี่ยวข้องกับชาติของเราเอง และทางสัมพันธ์กับชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย ไทยจึงถือวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยจวบจนทุกวันนี้
แม้ว่าวันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วยเช่นกัน
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนชาวไทยจะมีงานรื่นเริง และมหรสพ ตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม จนถึงวันที่ 1 มกราคม มีการจัดกิจกรรมร่วมนับถอยหลัง เพื่อก้าวสู่วันใหม่ มีการแลกบัตรอวยพรและของขวัญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่แก่พุทธศาสนิกชน และบุคคลสำคัญ ในช่วงเช้าของวันที่ มกราคม ประชาชนก็จะทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่รับพร และอวยพรซึ่งกันและกันเพื่อความสุขความเจริญ มีการจัดกิจกรรมเพื่อการกุศลที่จัดให้มีขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ในขณะเดียวกัน หลายๆ บริษัทก็จะถือเอาโอกาสนี้แจกโบนัสและประกาศเลื่อนขั้นพนักงาน
จะเห็นได้ชัดว่า คนไทยจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ 3 ครั้งต่อปีเลยก็ว่าได้ กล่าวคือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีหรือวันสงกรานต์ วันที่ 1 มกราคม และวันตรุษจีน ใน 3 วันนี้ วันสงกรานต์เป็นโอกาสที่สนุกสนานที่สุด เพราะว่าประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมฉลองเป็นเวลานับสัปดาห์ ในขณะที่วันตรุษจีนก็มีความสำคัญเท่า ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดของทางราชการ บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็จะหยุดดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทั้งนายจ้างและพนักงานได้เข้าร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ร่วมกับญาติ ๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ใช้วันหยุดตามสถานที่ที่ตนพอใจ
ขอบคุณที่มา http://www.aksorn.com
Advertisement
เปิดอ่าน 22,662 ครั้ง เปิดอ่าน 54,692 ครั้ง เปิดอ่าน 1,908 ครั้ง เปิดอ่าน 85,062 ครั้ง เปิดอ่าน 18,254 ครั้ง เปิดอ่าน 21,817 ครั้ง เปิดอ่าน 18,360 ครั้ง เปิดอ่าน 21,245 ครั้ง เปิดอ่าน 79,130 ครั้ง เปิดอ่าน 14,490 ครั้ง เปิดอ่าน 20,376 ครั้ง เปิดอ่าน 24,666 ครั้ง เปิดอ่าน 47,876 ครั้ง เปิดอ่าน 19,775 ครั้ง เปิดอ่าน 19,510 ครั้ง เปิดอ่าน 20,884 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 15,120 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,532 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,666 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,444 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,427 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,775 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,552 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,587 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,769 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,582 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,171 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,533 ครั้ง |
|
|