ชื่อเรื่อง : รายงานการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน โดยการ
จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา : ชนิตร์นันท์ ห้องแซง
ปีที่วิจัย : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม รูปแบบของการศึกษาคือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 15 แผน แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน จำนวน 15 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.39 0.79 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 0.66 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะเรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ 0.41 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2 หาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้โดยใช้ E.I. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้สถิติ t-test (Dependent t-test) และหาความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค
STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
81.27/76.03 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2) ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 61.18 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.18
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51