ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดดยการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 มาตรา 22 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 ที่ยึดหลักว่านักเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและตามศักยภาพ นอกจากนั้นการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เน้นถึงความสำคัญของการมุ่งให้นักเรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงและรู้จักสร้างองความรู้ด้วยตนเอง จึงทำให้บทบาทของครูในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีตจากที่เคยเป็นครูผู้สอนและถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นผู้ที่จะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ใหม่ เป็นผู้ช่วยเหลือ แนะนำ และส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะและกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เช่น การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การเชื่อมโยง ตลอดจนเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดในลักษณะต่างๆ เช่น คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม(ไพฑูรย์สินลารัตน์. 2546:1) ดังนั้นคุณควรจะมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิควิธีต่างๆ เพื่อให้นักเรียนบรรลุตามเป้าประสงค์ของทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553(สุรีพร ศิรินามมนตรี. 2552:1)

การศึกษาในยุคปัจจุบันมีลักษณะที่สอดคล้องกับความสามารถส่วนตัวมากขึ้น นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้เท่าที่ตัวเองมีความพร้อม แต่ปัญหาคือขาดปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอน ดังนั้นวิธีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนสามารถใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เช่น วิธีการสอนแบบอภิปราย วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา วิธีการสอนแบบเน้นการเรียนด้วยตนเอง (cooperative learning) เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจให้แก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อน สมาชิกในกลุ่มจะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม (วัฒนาพร ระงับสุกข์. 2541: 38)

คณิตศาสตร์ บทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์

คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็นแก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 261) (พี่น้อย)กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดให้มีการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ตลอดชีวิตตามศักยภาพ ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่พอเพียง สามารถนำความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งปรับวิธีการคิดวุฒิภาวะ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการฝึกปฏิบัติ ฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา กิจกรรมการเรียนการสอนต้องผสมผสานสาระทางด้านเนื้อหาและทักษะกระบวนการ ตลอดจนปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่ดีถูกต้อง และเหมาะสมให้แก่ผู้เรียน(กรมวิชาการ 2545:1-3)

ปัจจุบันการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะในระดับช่วงชั้นที่ 3 ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จากผลรายงานการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2558 - 2559 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาพรวมวิชาคณิตศาสตร์มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ และในระดับสถานศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนดงมะไฟพิทยาคมปีการศึกษา 2558- 2559 ค่อนข้างต่ำ (22.28/17.89) จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ทราบว่าการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญมาก ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและในระดับโรงเรียน ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พบว่า ปัญหาต่าง ๆ เช่น ครูใช้การสอนที่เน้นการอธิบายหน้าชั้นเรียน ไม่มีการใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนน้อย นักเรียนไม่ค่อยกล้าที่จะคิดหรือตอบคำถามเมื่อครูถามในขณะทำการเรียนการสอน

ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นครูสอนคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้พบปัญหาการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะเรื่อง อสมการ การหาคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และเรื่องที่เป็นปัญหาสำคัญมากของการเรียนอสมการ คือ โจทย์ปัญหาอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดวิเคราะห์ ทำความเข้าใจปัญหา การวิเคราะห์ลักษณะของโจทย์ พร้อมทั้งแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ในการเรียนรู้นักเรียนบางกลุ่มจะเรียนรู้ได้เร็วเข้าใจง่าย เมื่อมีการทดสอบก็จะทำคะแนนได้ในระดับดี แต่มีนักเรียนบางกลุ่ม(กลุ่มปานกลางและอ่อน)เรียนรู้ได้ช้า ไม่เข้าใจหลักการแก้อสมการและการแก้โจทย์ปัญหาอสมการ โดยเฉพาะยังขาดการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาอสมการ ทำให้ไม่สามารถแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรตัวแปรเดียวได้ เมื่อมีการทดสอบเก็บคะแนนระหว่างเรียนและหลังเรียนนักเรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อนจะได้คะแนนค่อนข้างต่ำ

การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆเป็นกระบวนการที่ผสมผสานระหว่างทักษะของการอยู่ร่วมในสังคมและทักษะด้านเนื้อหาวิชาต่างๆเป็นการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญโดยจัดให้นักเรียนมีความสามารถต่าง ๆ (Mixed Ability) กันเรียนและทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มกลุ่มละสี่คนโดยมีจุดมุ่งหมาย (Goal) เดียวกันช่วยเหลือกันและกันภายในกลุ่ม ผู้ที่เรียนเก่งช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนอ่อนกว่า และต้องยอมรับซึ่งกันและกันเสมอความสำเร็จของกลุ่มอยู่กับสมาชิกทุกคนภายในกลุ่ม รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เป็นที่นิยมมีหลายวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ (Teams Assisted Individualization) หรือ TAI เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการเรียนแบบร่วมมือที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนรายบุคคล ยั่วยุให้นักเรียนสนใจที่จะเรียนประหยัดเวลา ทั้งผู้เรียนและผู้สอน และยังช่วยส่งเสริมความร่วมมือในการทำงาน ซึ่งจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอน แบบฝึกทักษะได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อยโดยการเรียงเนื้อหาจากง่ายไปหายาก แบบฝึกทักษะที่มีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน ทำให้นักเรียนเกิดความสามารถที่จะคิดคำนวณหรือแก้โจทย์ปัญหาในเรื่องที่เข้าใจแล้วด้วยเทคนิควิธีการต่าง ๆ สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจให้เป็นทักษะที่ชำนาญได้ กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์จึงมีความจำเป็นต้องให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งได้แก่ การทำแบบฝึกหัด(ศรีสุดา ญาติปลื้ม. 2546:4) และหน้าที่ของนักเรียนไม่ใช่ทำงานเป็นกลุ่มเท่านั้นแต่ต้องเรียนเป็นกลุ่มด้วยเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการสอนข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือที่ต้องการคำตอบที่แน่นอน(สมบัติ กาจนรักพงษ์. 2547:37) ซึ่งสลาวิน(Slavin. 1995:64) สรุปข้อดีของการสอนแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้(Teams Assisted Individualization) หรือ TAI ดังนี้ (1) ช่วยให้เกิดแรงจูงใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตน (2) ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความช่วยเหลือ (3) แก้ปัญหาเด็กอ่อนในห้องเรียนได้ (4) สนองความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี เด็กที่เรียนช้ามีเวลาศึกษาและฝึกฝนเรื่องที่ไม่เข้าใจมากขึ้น และเด็กที่เรียนเร็วใช้เวลาศึกษาน้อย (5) ช่วยให้เกิดการยอมรับในกลุ่มโดยเด็กเก่งยอมรับเด็กอ่อน และเด็กอ่อนเห็นคุณค่าของเด็กเก่ง (6) ช่วยแบ่งเบาภาระของครู ทำให้ครูมีเวลาสร้างสรรค์งานสอน ปรับปรุงการสอนมากขึ้น (7) ปลูกฝังนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม (8) เสริมแรงให้เกิดขึ้นทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล (9) ช่วยให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเองให้มากยิ่งขึ้น และทราบความก้าวหน้าของตนเองอยู่ตลอดเวลา(สุรีพร ศิรินามมนตรี. 2552:4)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กับเกณฑ์ที่กำหนดให้ร้อยละ 70

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนจากการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ

สมมติฐานการวิจัย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดงมะไฟ

พิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน จำนวน 45 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนดงมะไฟพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

4. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย

4.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ(TAI)

4.2 ตัวแปรตาม ได้แก่

4.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

4.2.2 ความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนจากการเรียนคณิตศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์หรือสื่อการเรียนการสอน

ที่จัดทำขึ้น โดยใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ เกิดความรู้ความชำนาญจนสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อสร้างองค์ความรู้และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ขั้นตอนการเรียนรู้ โดยจัดทำในรูปแผนการจัดการเรียนรู้

3. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกันสมาชิกทุกคนต้องร่วมกันทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตัวและส่วนรวมผลงานและรางวัลของกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับผลงานของสมาชิก

4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดงมะไฟพิทยาคม อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ด้วยเทคนิค TAI ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน มาจากนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ เก่งปานกลาง อ่อน เข้ากลุ่มเรียนรู้ร่วมกันตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนรายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และเน้นการฝึกทักษะ จากทักษะย่อย ๆ ไปสู่ทักษะรวม เรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก มีตัวอย่างและแบบฝึกทักษะ ส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานกลุ่มร่วมมือการเรียนรู้ ซึ่งเทคนิค TAI มีขั้นตอนดังนี้

4.1 ขั้นเตรียม ครูแนะนำทักษะให้นักเรียนเรียนรู้ร่วมกัน และจัดเป็นกลุ่ม ทกลุ่มละ 4-5 คนตามระดับความสามารถสูง ปานกลาง ต่ำ มีอัตราส่วน 1:2:1 ครูแนะนำเกี่ยวกับระเบียบของกลุ่มบทบาทและหน้าที่ของของสมาชิก แจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนและทำกิจกรรมร่วมกัน และการฝึกฝนทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทำกิจกรรมกลุ่ม

4.2 ขั้นสอน ครูนำเข้าสู่บทเรียน แนะนำเนื้อหา แนะนำแหล่งข้อมูล นักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้ว และมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม

4.3 ขั้นตอนทำกิจกรรมกลุ่ม ครูมอบหมายงานและบทบาทที่ให้นักเรียนรู้เรียนรู้ร่วมกัน และมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างทั่วถึง แล้วให้ทุกคนทำแบบฝึกทักษะเล่มที่ 1 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ให้เพื่อนที่เก่งช่วยอธิบายให้เข้าใจ และทำแบบฝึกทักษะเล่มที่ 2 หรือเล่มที่ 3 จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จึงทำแบบทดสอบร่วมกันทั้งชั้น

4.4 ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ นักเรียนตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบครบถ้วนหรือยัง ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร ผลงานกลุ่มและรายบุคคลผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์ โดยให้ผู้เสนอผลงานนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และส่งผลงานให้ครูตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง อาจทำงานเพิ่มเติม เพื่อซ่อมเสริมสิ่งที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ หรือขาดตกบกพร่อง จากนั้นเป็นการทดสอบความรู้

4.5 ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนและแจ้งคะแนนกลุ่มให้นักเรียนทราบหากกลุ่มใดทำคะแนนเฉลี่ยได้สูง ครูจะให้รางวัลเป็นใบประกาศเกียรติคุณหรือติดประกาศชมเชย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนร่วมมือและช่วยเหลือกันและกัน ถ้ามีสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ ครูจะอธิบายเพิ่มเติม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันพิจารณาว่าอะไรคือจุดเด่นของงาน และอะไรเป็นสิ่งที่ควรปรับปรุง เพื่อให้ผลงานของกลุ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ คุณภาพของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 ดังนี้

70 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละ 70 ของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการประเมินการทำใบกิจกรรมกลุ่ม การทำแบบฝึกทักษะ จากการทำแบบทดสอบระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

70 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละ 70 ของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เมื่อสิ้นสุดลงซึ่งได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

6. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งวัดได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

7. แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง ลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบร่วมมือ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้สาระสำคัญ ผลการเรียนที่รู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล ที่เตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบจำนวน 13 แผน

8. ความพึงพอใจในการเรียนรู้ หมายถึง การแสดงออกถึงความรู้สึกที่ดี เอาใจใส่ต่อการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งประเมินได้ตามแบบวัดความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลการวิจัยจะเป็นข้อสนเทศในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องอื่นและชั้นอื่นต่อไป

โพสต์โดย Manna : [4 มิ.ย. 2561 เวลา 16:44 น.]
อ่าน [3660] ไอพี : 159.192.252.154
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 12,851 ครั้ง
นมปั่นสูตรเพิ่มพลังงาน
นมปั่นสูตรเพิ่มพลังงาน

เปิดอ่าน 11,799 ครั้ง
คู่มือการจัดหาประโยชน์จากที่ดิน ของสถานศึกษา
คู่มือการจัดหาประโยชน์จากที่ดิน ของสถานศึกษา

เปิดอ่าน 14,474 ครั้ง
แฉ! ภัยร้านซ่อมคอมพ์ที่คุณต้องรู้
แฉ! ภัยร้านซ่อมคอมพ์ที่คุณต้องรู้

เปิดอ่าน 140,761 ครั้ง
ตุ๊กตา "เฟอร์บี้" คืออะไร ทำไมมีราคาแพงและเป็นที่นิยมนัก
ตุ๊กตา "เฟอร์บี้" คืออะไร ทำไมมีราคาแพงและเป็นที่นิยมนัก

เปิดอ่าน 201,213 ครั้ง
ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร

เปิดอ่าน 16,523 ครั้ง
ฮือฮา พญานาคโผล่รับเครื่องสักการะ หลังพิธีบุญกฐินน้ำ
ฮือฮา พญานาคโผล่รับเครื่องสักการะ หลังพิธีบุญกฐินน้ำ

เปิดอ่าน 11,589 ครั้ง
9 สถานที่ท่องเที่ยว สุดประทับใจ คุณไปมารึยัง?
9 สถานที่ท่องเที่ยว สุดประทับใจ คุณไปมารึยัง?

เปิดอ่าน 12,290 ครั้ง
ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?
ดูให้ชัด รัฐธรรมนูญ ม.286 ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแน่ หรือ?

เปิดอ่าน 16,464 ครั้ง
วิธีการเรียงกระสอบทราย ให้ถูกวิธี ป้องกันน้ำท่วม ได้ผลชัวร์
วิธีการเรียงกระสอบทราย ให้ถูกวิธี ป้องกันน้ำท่วม ได้ผลชัวร์

เปิดอ่าน 20,564 ครั้ง
พิสูจน์พบ “น้ำแข็งแห้ง” เป็นหิมะตกบนดาวอังคาร
พิสูจน์พบ “น้ำแข็งแห้ง” เป็นหิมะตกบนดาวอังคาร

เปิดอ่าน 13,843 ครั้ง
กังนัมอะยาย ศึกประชัน เต้นกังนัมสไตล์ ระหว่าง ยาย VS โคโยตี้
กังนัมอะยาย ศึกประชัน เต้นกังนัมสไตล์ ระหว่าง ยาย VS โคโยตี้

เปิดอ่าน 29,456 ครั้ง
หลัก 10 ประการ ช่วยให้นอนหลับ
หลัก 10 ประการ ช่วยให้นอนหลับ

เปิดอ่าน 13,677 ครั้ง
เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย
เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย

เปิดอ่าน 17,344 ครั้ง
ร่ม ประโยชน์ที่มากกว่าการกันฝน
ร่ม ประโยชน์ที่มากกว่าการกันฝน

เปิดอ่าน 8,841 ครั้ง
พบกล้องโทรทรรศน์
พบกล้องโทรทรรศน์'ไอสไตน์'ที่หายสาบสูญไปนาน

เปิดอ่าน 32,456 ครั้ง
การประเมินผลการเรียนรู้โดยการสังเกตการณ์
การประเมินผลการเรียนรู้โดยการสังเกตการณ์
เปิดอ่าน 23,668 ครั้ง
เกร็ดประวัติวัดโพธิ์
เกร็ดประวัติวัดโพธิ์
เปิดอ่าน 10,393 ครั้ง
กิน"กระเทียม"ดีต่อสุขภาพหัวใจ
กิน"กระเทียม"ดีต่อสุขภาพหัวใจ
เปิดอ่าน 48,481 ครั้ง
หลักสูตรการสอบภาค ก ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558
หลักสูตรการสอบภาค ก ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558
เปิดอ่าน 13,245 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา : จิตวิญญาณครู สำคัญที่สุด
ตูนส์ศึกษา : จิตวิญญาณครู สำคัญที่สุด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ