ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนด้วยหลัก 5E โดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน
เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหา วิชาเคมี 1 เรื่อง แบบจำลองอะตอม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
ผู้วิจัย นายรัชย์ชวินท์ ยะอนันต์
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง แบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน วิชาเคมี 1 เรื่อง แบบจำลองอะตอมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5 E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง แบบจำลองอะตอมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5E) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่อง แบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5 E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 15 ได้จาการสุ่มแบบเจาะจงของ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย เขต 36 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเคมีเพิ่มเติม วิชาเคมี 1 เรื่อง แบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน เวลา 20 ชั่วโมง 2)แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน วิชาเคมี 1 เรื่องแบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5 E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 1 ฉบับ 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง แบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 1 ฉบับ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่องแบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5 E) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยประเมิน 4 ด้านครูผู้สอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้าoบรรยากาศการเรียนการสอน จำนวน 20 ข้อ 1 ฉบับ
การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและทดสอบ หลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน จากคะแนนแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t-test(Dependent) และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t-test (Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
ในการวิจัย เรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนด้วยหลัก 5 E โดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาวิชาเคมี 1 เรื่องแบบจำลองอะตอม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเคมี 1 เรื่อง แบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5E) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.82/86.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเคมี 1 เรื่องแบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี 1 เรื่อง แบบจำลองอะตอม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แบบจำลองอะตอมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5 E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด