Advertisement
Advertisement
 |
ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ (ภาพทั้งหมดจากคลิปอธิบายการไม่มีชั้นบรรยากาศบนดาวอังคารจากนาซา) |
|
 |
แม้ว่ามีการศึกษาที่ชี้ว่าดาวอังคาร (อาจจะ) ไม่มีสภาพที่ชุ่มน้ำ หรืออบอุ่น แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยก็เชื่อว่าเมื่อนานมาแล้วดาวแดงเคยมีสภาพบรรยาากาศที่หนาแน่นพอที่จะทำให้มีน้ำในรูปของเหลวอยู่บนพื้นผิวได้ และหากเป็นเช่นนั้นดาวอังคารก็น่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์
หากแต่ด้วยเหตุผลบางประการดาวอังคารได้สูญเสัยบรรยากาศส่วนใหญ่ไปในอวกาศ ทำให้บรรยากาศที่บางเบาไม่สามารถรักษาน้ำไว้ที่พื้นผิวดาวเคราะห์ได้ สภาพปัจจุบันของดาวเพื่อนบ้านดวงนี้จึงทั้งแห้งแล้งและหนาวเหน็บ
ยูนิเวอร์สทูเดย์ ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์เองก็ยัง ไม่แน่ใจว่าการสูญเสียบรรยากาศของดาวอังคารนั้นเกิดขึ้นอย่างไรหรือเหตุใดจึงเกิดขึ้น แต่หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่จะอธิบายเรื่องนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า “สปัตเตอริง” (sputtering) ซึ่งในกระบวนการนี้อะตอมจะถูกกระแทกออกจากชั้นบรรยากาศเนื่องจากการพุ่งชนของอนุภาคที่มีพลังงานสูง
เหตุเพราะดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูง บรรยากาศของดาวเคราะห์จึงถูกลมสุริยะกร่อนไปเรื่อยๆ ดังแสดงในคลิปจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) |
นอกจากนี้ สภาพของระบบสุริยะในยุคเริ่มต้นนั้นยังเสริมให้กระบวนการสปัตเตอริงรุนแรงขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงทำให้การสูญเสียบรรยากาศของดาวอังคารนั้นเกิดขึ้นจากหลายกลไกที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
อย่างไรก็ดี นาซากำลังจะส่งยานอวกาศมาเวน (MAVEN) หรือยานมาร์สแอทโมสเฟียร์แอนด์โวลาไทล์อีโวลูชัน (Mars Atmosphere and Volatile Evolution) ขึ้นไปหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
|
 |
นาซาวางแผนส่งยานมาเวนขึ้นไปหาคำตอบว่าทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ |
|
 |
ยานดังกล่าวมีเซนเซอร์ 8 ตัวที่จะทำหน้าที่ในการค้นคำตอบดังกล่าว และยังเป็นยานอวกาศลำแรกที่จะทำการวัดชั้นบรรยากาศของดาวอังคารโดยตรง รวมถึงเป็นภารกิจแรกที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจถึงการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น
ตามกำหนดยานมาเวนจะถูกส่งไปดาวอังคารในปี 2013 ซึ่งมีหน้าต่างการปล่อยจรวด (launch window) ระหว่าง 18 พ.ย.-7 ธ.ค.2012 และจะเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารประมาณกลางเดือน ก.ย.2014 และจะปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องไปอย่างน้อง 1 ปีโลก หรือประมาณครึ่งปีดาวอังคาร โดยจะส่งข้อมูลกลับมาว่าก๊าซในบรรยากาศดาวอังคารนั้นสูญเสียสู่อวกาศไปอย่างไรและเร็วแค่ไหน และใช้รายะเอียดดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต
การศึกษาการสูญเสียบรรยากาศไปในอวกาศของดาวอังคารนี้ ยูนิเวอร์สทูเดย์ ระบุว่า จะเผยให้เห็นร่องรอยเกี่ยวกับการปะทะของอนุภาคมีประจุที่เปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศ ภูมิศาสตร์ และธรณีเคมีของดาวอังคาร ซึ่งสภาพทั้งหมดนั้นมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจว่า ดาวอังคารมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตหรือไม่
|
 |
ภาพจำลองสาธิตอนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์พุ่งปะทะชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ |
|
 |
|
 |
อนุภาคมีประจุชนอะตอมก๊าซบรรยากาศบนดาวอังคาร ทำให้แตกตัวเป็นไอออน |
|
 |
|
 |
ไอออนวิ่งไปตามเส้นสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ |
|
 |
|
 |
บางครั้งไอออนก็ปะทะอะตอมก๊าซอื่นๆ ของดาวอังคารจนกระเด็นหลุดสู่อวกาศ |
|
 |
|
 |
ดาวอังคารปัจจุบันแห้งแล้งและเหน็บหนาว |
|
 |
|
 |
ยานมาเวน |
|
|
Advertisement
|
เปิดอ่าน 29,532 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,144 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,193 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,269 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,335 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,635 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,970 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,113 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,668 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,989 ครั้ง |
เปิดอ่าน 42,682 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,700 ครั้ง |
เปิดอ่าน 63,831 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,406 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,625 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 21,384 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 46,673 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,599 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 21,886 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 30,735 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 21,047 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 56,863 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 9,481 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 20,100 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,239 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 27,446 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 17,462 ครั้ง |
|
|