ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การศึกษารูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่องานประกันคุณภาพภายใน แบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพของโรง

การศึกษารูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่องานประกันคุณภาพภายใน แบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนเพชรละครวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินห้องเรียนคุณภาพโรงเรียนเพชรละครวิทยา ทั้ง 2 ระดับ โดยตนเอง ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษา 2) สังเคราะห์รูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่องานประกันคุณภาพภายในโดยกระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนเพชรละครวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่องานประกันคุณภาพภายในโดยกระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนเพชรละครวิทยา กลยุทธ์ในการพัฒนา ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการและ การนิเทศภายใน วิธีดำเนินการรายงาน โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วยการกำหนดมาตรฐาน (Standard) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) การสะท้อน (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมรายงาน (Research Participants) จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้รายงาน ครูหัวหน้าช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 1 คน ครูหัวหน้าช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 1 คน กลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ได้แก่ ครูโรงเรียน เพชรละครวิทยา จำนวน 43 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 16 คน ประกอบด้วย 1) ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 จำนวน 1 คน ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้การอบรม ปฏิบัติการนิเทศติดตาม สะท้อนผลกลยุทธ์ และประเมินผลการพัฒนา 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ทำหน้าที่สะท้อนผลการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จำนวน 1 ชุด ได้แก่ คู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ประเมินกลยุทธ์ในการพัฒนา จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบบันทึกกิจกรรม จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงบรรยาย

ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ

1.1 ผลการประเมินห้องเรียนคุณภาพ ของครูผู้สอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเพชรละครวิยา จากการประเมินตนเอง ประเมินโดยศึกษานิเทศก์ และประเมินโดยผู้บริหาร โดยใช้เกณฑ์การผ่านร้อยละ 80 พบว่า ห้องเรียนทุกห้องที่ถูกประเมินตามตัวชี้วัดสามารถผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ได้ทุกห้องเรียนคิดเป็นร้อยละ 100

1.2 การผลประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) หลังการดำเนินการกับการใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ปี 2560 พบว่า หลังการใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ มีผลการประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) ปีการศึกษา 2560 ผลสำเร็จผ่านเกณฑ์ร้อยละที่ตั้งไว้ จำนวน 15 มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 100

1.3 สังเคราะห์รูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการงานประกันคุณภาพภายในโดยชักระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนเพชรละครวิทยา

SPDCA ของโรงเรียนเพชรละครวิทยาประกอบด้วย

1. มาตรฐาน (Standard) คือ การกำหนดเป็นการล่วงหน้าไว้ให้กับสิ่ง 2 สิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้มีผลในทางนำไปปฏิบัติมาตรฐานที่เกิดจากข้อตกลงหรือพันธะร่วมที่ยอมรับระหว่างครูผู้สอน จะเป็นคุณสมบัติทางกายภาพของผลผลิตนั้นๆ หรือบริการนั้นๆ มาตรฐานอย่างนี้เปลี่ยนแปลงยากต้องใช้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือกำหนดขึ้นใหม่ทดแทน มาตรฐานที่เกิดจากเกณฑ์เฉลี่ยสมรรถนะของครูผู้สอน/ผู้ปฏิบัติงาน หรือเกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการ หรือการทำงานที่มีรูปแบบแน่นอน มาตรฐานประเภทนี้เปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อสถานการณ์หรือปัจจัยกระทบเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน ที่ดีต้องเป็นมาตรฐานที่ก้าวหน้า ย้ำการพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเท่านั้น

2. ขั้นตอนการวางแผน (Plan) การวางแผนที่ดีช่วยให้สามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้น ในอนาคต ช่วยลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งในด้านแรงงาน วัตถุดิบ ชั่วโมงการทำงาน เงิน เวลา ฯลฯ และช่วยให้รับรู้สภาพปัจจุบันพร้อมกับกำหนดสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการผสานประสบการณ์ ความรู้ และทักษะอย่างลงตัว การวางแผนที่ดีสามารถทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ควรมีลักษณะ ดังนี้ ครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ สามารถแสดงถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน พร้อมสู่การพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้างเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนั้นโดยระบุวิธีการเก็บข้อมูลให้ชัดเจน วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ และกำหนดทางเลือกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Do) ขั้นตอนการปฏิบัติเป็นการลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน ในขั้นนี้ต้องตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่า ได้ดำเนินไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วย ไม่ควรปล่อยให้ถึงวินาทีสุดท้ายเพื่อดูความคืบหน้าที่เกิดขึ้น หากเป็นการปรับปรุงในหน่วยงานผู้บริหารย่อมต้องการทราบความคืบหน้าอย่างแน่นอน เพื่อจะได้มั่นใจว่าโครงการปรับปรุงเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

4. ขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินผล (Check) การตรวจสอบและการประเมินผล เป็นขั้นตอนที่ทำให้เราทราบว่าการปฏิบัติในขั้นที่สองสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้าง และบ่อยแค่ไหน ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบจะเป็นประโยชน์สำหรับขั้นตอนถัดไป กรอบและแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล สรุปได้ดังนี้ 1) ตรวจสอบและประเมินผลขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ ขั้นการศึกษาข้อมูล มีการศึกษาข้อมูลได้ครบถ้วน ขั้นการเตรียมการ การเตรียมงานตามแผนงานมีความพร้อมหรือไม่ ขั้นดำเนินงาน มีบุคลากรและทรัพยากรหรือไม่ และขั้นตอนการประเมิน มีเครื่องมือและขั้นตอน การประเมินที่เหมาะสม 2) ตรวจสอบประเมินผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น DELTA PRINCIPLE คือเกณฑ์การประเมิน 3) ตรวจสอบและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลการรับบริการหรือการให้คำแนะนำจากผู้รับบริการโดยตรง และ 4) ตรวจสอบและประเมินคุณภาพทั้งองค์กร ได้แก่ บุคลากรมีคุณสมบัติ เหมาะสมกับงานหรือไม่ เพียงใด วัสดุอุปกรณ์สำนักงานหรือเครื่องใช้ว่ามีขีดความสามารถที่เหมาะสมและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพเพียงใด ระบบทำงาน เช่น ระบบการให้บริการระบบการสื่อสารภายในองค์กร มีความเหมาะสมมากพอกับการบรรลุเป้าหมายคุณภาพหรือไม่ ระบบการบริหารงาน ประกอบด้วย โครงสร้าง องค์กร การบริหารด้าน การผลิต และกำหนดเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร ความต้องการของผู้รับบริการเป็นอย่างไรงบประมาณ ที่ใช้ลงทุนมีความจำเป็นและเพียงพอกับการสร้างคุณภาพหรือไม่ และทัศนคติของบุคลากร มีความกระตือรือร้นต่อการทำงาน สามารถสร้างงานที่มีคุณภาพหรือไม่ อย่างไร เมื่อดำเนินงานตรวจสอบและประเมินคุณภาพแล้วควรมีการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลต่อฝ่ายบริหาร เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป

5. ขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนา (ACT) ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี

กรณีที่ 1 ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ ก็ให้นำแนวทางหรือกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทำให้เป็นมาตรฐานพร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งอาจจะหมายถึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิมหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิมหรือทำให้คุณภาพดียิ่งขึ้นก็ได้

กรณีที่ 2 ผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ ควรนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไร ต่อไปนี้มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้ ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ และเปลี่ยนเป้าหมายใหม่

1.5 ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการงานประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นหญิงมากที่สุด (ร้อยละ 53.49) เป็นชาย (ร้อยละ 46.51 ) อายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 44.19 ) รองลงมา คือ อายุ 41 – 50 ปี (ร้อยละ 27.91) ตามลำดับ อายุราชการน้อยกว่า 11-20 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 37.21) รองลงมา คือ อายุราชการน้อยกว่า 11 ปี (ร้อยละ 30.23) ตามลำดับ วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี มากที่สุด ( ร้อยละ 53.49 ) รองลงมาวุฒิปริญญาโท (ร้อยละ 41.86) ตามลำดับ ประสบการณ์ในการทำงานประกัน 5-10 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 41.86) รองลงมา 11 – 15 ปี (ร้อยละ 30.23) ตามลำดับ ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อ การงานประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ โดยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67,S.D. = 0.67) โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายเรื่อง พบว่า การนำกระบวนการกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อ การงานประกันคุณภาพภายในโดยใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพมาใช้ในโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80,S.D. = 0.41) รองลงมา การนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน( = 4.70,S.D. = 0.57) และมีการตรวจสอบ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ( = 4.65,S.D. = 1.59) ตามลำดับ โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจใกล้เคียงกัน

2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการรายงาน พบว่า กลยุทธ์ในการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน แบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ในวงรอบที่ 1 ได้แก่ การอบรมปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน พบว่า การอบรมปฏิบัติการ ประกอบด้วยกิจกรรม การเตรียมการอบรม การดำเนินการอบรม และการประเมินผลการอบรม โดยภาพรวมและ ทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และการนิเทศภายใน ประกอบด้วย กิจกรรมการ วางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศโดยภาพรวมและทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และในวงรอบที่ 2 มีการปรับปรุงกิจกรรมและกลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การนิเทศภายใน ประกอบด้วยกิจกรรมการดำเนินการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศ โดยผลการดำเนินงาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

ผลการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน แบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ในวงรอบที่ 1 พบว่า ระดับปฏิบัติงานและคุณภาพของการดำเนินงานจัดโครงสร้างองค์กรในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และการส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานอยู่ในระดับน้อย ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมและทั้ง 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดมาตรฐาน การวางแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานอยู่ในระดับปานกลาง และในวงรอบที่ 2 พบว่า มีการจัดโครงสร้างองค์กรในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีการส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยการนำผลการประเมินมาปรับปรุงอยู่ในระดับปานกลางและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมและทั้ง 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับมาก

โดยสรุป การพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการภายในแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ โดยใช้กลยุทธ์การอบรมปฏิบัติการและการนิเทศภายในครั้งนี้ กลยุทธ์ที่นำมาใช้มีความเหมาะสมสำหรับใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน แต่การนำไปใช้ควรให้ความสำคัญกับ การกำหนดมาตรฐาน การดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการ และการนิเทศตามแผนการนิเทศอย่างต่อเนื่อง โดยครูผู้นิเทศควรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานที่นิเทศ

โพสต์โดย ศศิมา นามวงษ์ : [11 มิ.ย. 2561 เวลา 18:19 น.]
อ่าน [4905] ไอพี : 182.53.49.75
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 26,842 ครั้ง
โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)
โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)

เปิดอ่าน 12,501 ครั้ง
"ผักติ้ว" ผักพื้นบ้านชาวอีสานที่ไม่ควรมองข้าม
"ผักติ้ว" ผักพื้นบ้านชาวอีสานที่ไม่ควรมองข้าม

เปิดอ่าน 4,435 ครั้ง
7 สาเหตุนอนไม่หลับและเคล็ดลับแก้ไข
7 สาเหตุนอนไม่หลับและเคล็ดลับแก้ไข

เปิดอ่าน 15,621 ครั้ง
10 ลักษณะนิสัยแห่งผู้ประสบความสำเร็จ
10 ลักษณะนิสัยแห่งผู้ประสบความสำเร็จ

เปิดอ่าน 22,087 ครั้ง
ระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูล

เปิดอ่าน 19,274 ครั้ง
แนวปฏิบัติการขอและการอนุมัติให้ ขรก.ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ระหว่างลาศึกษาต่อฯ
แนวปฏิบัติการขอและการอนุมัติให้ ขรก.ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ระหว่างลาศึกษาต่อฯ

เปิดอ่าน 19,639 ครั้ง
คลิปรวมท่าเต้นสนุกสนานของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ท่านทันเพลงไหนบ้าง
คลิปรวมท่าเต้นสนุกสนานของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ท่านทันเพลงไหนบ้าง

เปิดอ่าน 19,073 ครั้ง
มโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
มโนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา

เปิดอ่าน 18,953 ครั้ง
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

เปิดอ่าน 17,631 ครั้ง
ฮาอึแตก! คลิปชายเปลือยออกจากห้องในโรงแรม แต่ประตูห้องดันล็อกอัตโนมัติ เป็นท่านจะทำยังไง
ฮาอึแตก! คลิปชายเปลือยออกจากห้องในโรงแรม แต่ประตูห้องดันล็อกอัตโนมัติ เป็นท่านจะทำยังไง

เปิดอ่าน 23,776 ครั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ

เปิดอ่าน 26,406 ครั้ง
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT

เปิดอ่าน 13,166 ครั้ง
เทคนิคการบันทึกเบอร์โทรศัพท์ ที่มีเบอร์ต่อ
เทคนิคการบันทึกเบอร์โทรศัพท์ ที่มีเบอร์ต่อ

เปิดอ่าน 16,166 ครั้ง
Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน
Timeline เกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนเครือข่าย ของโรงเรียนดีใกล้บ้าน

เปิดอ่าน 26,953 ครั้ง
การนวดท้องแบบ"ชิเนซัง"(Shi-Nei-Tsang) ปลดปล่อยสารพิษในร่างกาย
การนวดท้องแบบ"ชิเนซัง"(Shi-Nei-Tsang) ปลดปล่อยสารพิษในร่างกาย

เปิดอ่าน 23,635 ครั้ง
บัญชีเงินเดือนใหม่ ต.ค.50
บัญชีเงินเดือนใหม่ ต.ค.50
เปิดอ่าน 9,060 ครั้ง
กังนัมสไตล์ ฮิตขนาดน้องหมาเลียนแบบ
กังนัมสไตล์ ฮิตขนาดน้องหมาเลียนแบบ
เปิดอ่าน 14,969 ครั้ง
เกษตรทำเงิน : ปลูกสตรอเบอร์รี่แซมยางพารา แก้วิกฤติราคายางตกต่ำ
เกษตรทำเงิน : ปลูกสตรอเบอร์รี่แซมยางพารา แก้วิกฤติราคายางตกต่ำ
เปิดอ่าน 1,633 ครั้ง
กรมอนามัย เผยวัยทำงานสุขภาพแย่ แนะกินถูกหลัก ออกกำลังกาย ลดเครียด
กรมอนามัย เผยวัยทำงานสุขภาพแย่ แนะกินถูกหลัก ออกกำลังกาย ลดเครียด
เปิดอ่าน 35,332 ครั้ง
จัดโต๊ะทำงาน ตามฮวงจุ้ย
จัดโต๊ะทำงาน ตามฮวงจุ้ย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ