คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนวัดหนองทองทราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
---------------------------------------------
หลักการและเหตุผล
การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีหลากหลายรูปแบบ กิจกรรมหนึ่งที่สามารถจัดได้ คือการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กจะต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเป็นกิจกรรมการทดลองที่เด็กได้เรียนเล่นผ่านสื่อวัสดุที่ปลอดภัย มีขั้นตอนง่าย ชัดเจน และมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งเด็กสามารถร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน และส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมาย และการลงความเห็นจากข้อมูล จากกิจกรรมและการเล่น ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้จากการเล่น การใช้ประสาทสัมผัส การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนกับผู้ใหญ่ กับครู (กุลยา ตันติผลาชีวะ.2550:24-25) ซึ่งกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ(2546 ข : 5) ได้กำหนดหลักการจัดประสบการณ์ไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ไว้ดังนี้ คือ จัดประสบการณ์การเล่น การเรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ เพื่อพัฒนาเด็กเป็นองค์รวม ดังที่จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) กล่าวว่า เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Learning by doing) และสอดคล้องกับเพียเจต์ (Piaget : อ้างอิงจากสิริมา ภิญโญอนันตพงษ์.2547:36-39) คือให้เด็กเรียนรู้โดยให้โอกาสเด็กในการเล่น สำรวจ ทดลอง มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง จึงสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมที่ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ สามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจากขั้นตอนการทดลองซึ่งเด็กจะสามารถสำรวจ สังเกตรูปร่างลักษณะ สี ขนาด สถานะ ของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมศิลปะ ในขณะทำกิจกรรมเด็กจะได้สังเกตเห็นกระบวนการทำกิจกรรม และกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม ซึ่งการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของทักษะทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งขณะที่เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม เด็กจะได้มีโอกาสสังเกต สัมผัสกับสื่ออุปกรณ์ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องรูปร่าง รูปทรง ขนาด ผิวสัมผัสและคุณลักษณะทางกายภาพอื่นๆที่เปลี่ยนแปลงได้เมื่อถูกกระทำ ซึ่งผลจากการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวจะส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ของเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมการทดลองที่เด็กปฐมวัยได้เรียนเล่นผ่านสื่อวัสดุที่ปลอดภัย มีขั้นตอนง่าย ชัดเจน และมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งเด็กสามารถร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติ สังเกต สำรวจ ค้นคว้า แสวงหาความรู้ โดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองและครูมีบทบาทในการจัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 42 กิจกรรมได้แก่กิจกรรมเรียนรู้สัมผัสทั้งห้า , มือสัมผัส, จมูกดมกลิ่น,อาหาร,ข้าวที่เรากิน,ผักดีมีประโยชน์, ลักษณะของผลไม้,ผลไม้แสนอร่อย,การทำ น้ำผลไม้,ชื่อของผัก,ลักษณะของผักชนิดต่าง ๆ ,ชนิดของผัก,ลักษณะของต้นไม้,เรียนรู้ใบไม้,ลักษณะของสิ่งมีชีวิต,ลักษณะของสิ่งไม่ไม่มีชีวิต,ความเหเมือนความต่าง,หนัก-เบา,ภาพลวงตา,อะไรหนักกว่ากัน,สถานนะของน้ำ,เครื่องกรองน้ำ,ทรายแปลงร่าง,อะไรอยู่ในดิน, หิน ดินทรายเป็นอย่างไร,สีสันแสนสวย, ประโยชน์ของสี, สีจากธรรมชาติ,อากาศอยู่ที่ไหน,คุณสมบัติของอากาศ,อากาศเคลื่อนที่ได้,เสียงมาจากไหน, เสียงดังเสียงเบา,เสียงจากโทรศัพท์,ความมือความสว่าง, ดวงอาทิตย์ยิ่งใหญ่,กลางวันกลางคืน,ด้านดอกไม้เปลี่ยนสี,ดอกไม้ให้สีสวยและกิจกรรมการเรียนรู้แมลงชอบดอกไม้สีอะไรผู้รายงานซึ่งได้รับมอบหมายเป็นครูประจำชั้น ได้ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการระดับการศึกษาปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดหนองทองทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จึงให้ความสนใจในการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ ทั้ง 42 กิจกรรมมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยยึดแนวทางตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา และเป็นกระบวนการที่สามารถใช้แก้ปัญหาโดยครูผู้สอนสามารถนำความรู้มาดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพสติปัญญา และธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ผู้รายงานได้นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมการทดลองที่เด็กได้เรียนเล่นผ่านสื่อวัสดุที่ปลอดภัย มีขั้นตอนง่าย ชัดเจน และมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งเด็กสามารถร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน และส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท และการสื่อความหมาย ได้อย่างเหมาะสม มาจัดกิจกรรมในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 14 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 42 กิจกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการสื่อความหมาย เพื่อเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1. เพื่อให้เด็กบอกขั้นตอนและร่วมชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้
2. เพื่อให้เด็กสามารถแสดงความเห็นและตอบคำถามได้
3. เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตให้กับเด็กปฐมวัย
4. เพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภทให้กับเด็กปฐมวัย
5. เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อความหมายให้กับเด็กปฐมวัย
การประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถ ที่เด็กปฐมวัยแสดงออกด้วยแสดงความเห็น และแสดงพฤติกรรมในการแสวงหาความรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้ การค้นหาความรู้ และการแก้ปัญหาด้วยทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะดังต่อไปนี้
1. ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ
เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆโดยไม่ใส่ความรู้สึกของผู้สังเกตลงไป
2. ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุสิ่งของที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ ตามคุณลักษณะ ขนาด ประเภท รูปร่างโดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งและสามารถระบุเกณฑ์ในการจัดแบ่งได้ที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง
3. ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลดิบที่ได้จากการสังเกตการทดลองหรือจากแหล่งต่าง ๆ มาบอกบรรยายหรือจัดกระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำเสนอหรือสื่อความหมายให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
บทบาทของเด็กในการร่วมกิจกรรม
1. พยายามมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมการทดลองด้วยตนเอง
2. เด็กสามารถลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
3. แสดงความเห็น ตอบคำถามที่เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อคุณลักษณะการสังเกตทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม
บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
1. ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ให้เข้าใจ
2. จัดเตรียมสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยการจัดวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ให้ครบถ้วน
3. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ซึ่งขณะดำเนินกิจกรรมครูต้องประเมินกิจกรรมตลอดเวลาว่ากิจกรรมนั้นกระตุ้นให้เด็กคิดหรือไม่เด็กได้แสดงออกจริงไหม เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือไม่เด็กเรียนอะไรเพิ่มเติม
4. ระหว่างการดำเนินกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้ ครูกระตุ้นเด็กโดยใช้คำถามเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การจำแนกประเภท และการสื่อความหมายที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่ผู้รายงานได้พัฒนาขึ้น
5. ให้การเสริมแรงเพื่อให้เด็กสนใจกิจกรรมอย่างต่อเนื่องต้องทำให้เด็กเห็นว่าครูใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอพร้อมชี้แนะสิ่งที่นำไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์
ระยะเวลาการศึกษาครั้งนี้
การศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรม น่ารู้ของเด็กปฐมวัยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ใช้เวลาในการพัฒนา 14 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 20 นาที ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 9.00 - 09.20 น. ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 รวมทั้งสิ้น 42 กิจกรรม
ตารางการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้
เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดหนองทองทราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
สัปดาห์ที่ 1
21-22-23 พ.ย. 2560 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรียนรู้ประสาทสัมผัส กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้สัมผัสทั้งห้า
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ด้วยมือหนูน้อย
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ด้วยจมูกดมกลิ่น
สัปดาห์ที่ 2 28-29-30พ.ย. 2560 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
ฉลาดกินแข็งแรง กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้อาหารดีมีประโยชน์
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้เรื่องข้าวที่เรากิน
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้อาหารผักดีมีประโยชน์
สัปดาห์ที่ 3 6-7-8 ธ.ค.2560 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ผลไม้ดีมีประโยชน์ กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ ลักษณะของผลไม้
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ผลไม้แสนอร่อย
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้การทำน้ำผลไม้
สัปดาห์ที่ 4 12-13-14 ธ.ค. 2560 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
พืชผักรอบตัว กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ชื่อของผัก
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ลักษณะของผักชนิดต่าง ๆ
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ประโยชน์ของผัก
สัปดาห์ที่ 5 19-20-21 ธ.ค. 2560 ธรรมชาติรอบตัว/
ต้นไม้ให้ประโยชน์ กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ส่วนประกอบของต้นไม้
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ลักษณะของใบไม้
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ดอกไม้สีสวย
สัปดาห์ที่ 6 26-27-28 ธ.ค. 2560 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เรียนรู้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ลักษณะของสิ่งไม่มีชีวิต
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ความเหมือนความต่าง
สัปดาห์ที่ 7 3-4-5 ม.ค. 2561 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก สิ่งของรอบตัว
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้สิ่งใดหนักเบา
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ภาพลวงตา
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ว่าอะไรหนักกว่ากัน
สัปดาห์ที่ 8 9-10-11 ม.ค. 2561 ธรรมชาติรอบตัว/น้ำดีมีประโยชน์
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้น้ำร้อนน้ำเย็น
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้น้ำไหลไปไหน
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้น้ำกรองสะอาด
สัปดาห์ที่ 9 17,18,19ม.ค. 2561 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก/หิน ดิน ทรายน่าเล่น
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ว่าทรายแปลงร่าง
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้กันว่าอะไรอยู่ในดิน
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ หิน ดิน ทราย เป็นอย่างไร
สัปดาห์ที่ 10 23,24,25ม.ค. 2561 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก/สีสวยรอบตัว
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้สีสันแสนสวย
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ประโยชน์จากสี
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้สีจากธรรมชาติ
สัปดาห์ที่ 11 30-31 มค. 1 ก.พ. 2561 ธรรมชาติรอบตัว/อากาศรอบตัว
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ว่าอากาศอยู่ที่ไหน
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ถึงคุณสมบัติของอากาศ
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ว่าอากาศเคลื่อนที่ได้
สัปดาห์ที่ 12 6-7-8 ก.พ. 2561 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก /เสียงต่างๆรอบตัว
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ว่าเสียงมาจากไหน
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้เสียงดังเสียงเบา
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้เสียงจากโทรศัพท์
สัปดาห์ที่ 13 13-14-15 ก.พ. 2561 ธรรมชาติรอบตัว/กลางวัน กลางคืน
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ความมืดและความสว่าง
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ดวงอาทิตย์ยิ่งใหญ่
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้เวลากลางวันและกลางคืน
สัปดาห์ที่ 14 20-21-22 ก.พ. 2561 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก /ดอกไม้สีสวย
กิจกรรมที่ 1 เรียนรู้ก้านดอกไม้เปลี่ยนสี
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ดอกไม้ให้สีสวย
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้แมลงชอบดอกไม้สีอะไร
การศึกษาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หนูทำได้
เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1
วันที่ 16-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ
สัปดาห์ที่ วันที่ หน่วยการเรียนรู้ สาระที่ควรรู้
1 21,22,23 พ.ย. 2560 เรียนรู้หนูทำได้ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2 28,29,30 พ.ย. 2560 ฉลาดกินแข็งแรง เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
3 6-7-8 ธ.ค. 2560 ผลไม้ดีมีประโยชน์ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
4 12-13-14 ธ.ค. 2560 พืชผักรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
5 19-20-21 ธ.ค. 2560 ต้นไม้ให้ประโยชน์ ธรรมชาติรอบตัว
6 26-27-28 ธ.ค. 2560 สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
7 3 - 4-5 ม.ค. 2561 สิ่งของรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
8 9 10- 11 ม.ค. 2561 น้ำดีมีประโยชน์ ธรรมชาติรอบตัว
9 17- 18 -19 ม.ค. 2561 หิน ดินทราย น่าเล่น สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
10 23-24-25 ม.ค. 2561 สีสันมากมาย สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
11 30-31 ม.ค.-1 ก.พ. 2561อากาศรอบตัว ธรรมชาติรอบตัว
12 6 - 7 - 8 ก.พ. 2561 เสียงต่างๆรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
13 13-14-15 ก.พ. 2561 กลางวันกลางคืน ธรรมชาติรอบตัว
14 20-21-22 ก.พ. 2561 ดอกไม้สีสวย สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
26-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลัง ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ