ผู้ศึกษา นางมะลิวัลย์ ซุยทอง
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ จำนวน 8 ชุด แบบสอบถามความพึงใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 10 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง มีผลดังนี้ คะแนนจากการทดสอบระหว่างเรียน คิดเป็นร้อยละ 84.15 (E1) และคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 88.20 (E2)
2) คะแนนจากการทดสอบระหว่างเรียน คิดเป็นร้อยละ 89.91 (E1) และคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 86.43 (E2) ดังนั้นแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพ 89.91/86.43 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 เท่ากับ 0.70 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 70
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38)
สรุปได้ว่าแบบฝึกทักษะที่ผ่านกระบวนการสร้างที่เป็นระบบ มีความสอดคล้องกับ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื้อหามีความละเอียด ชัดเจน กิจกรรมที่หลากหลายสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ