สุกัญญา แซ่ตั้ง. (2560). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านชุมแสง สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต2
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านชุมแสง ก่อนและหลังจัดกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ และ2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านชุมแสง ก่อนและหลังจัดกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านชุมแสง ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sample) ซึ่งเป็นห้องที่ผู้ศึกษาปฏิบัติการสอน ผู้รายงานเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยกำหนดการทดลองทั้งหมด 14 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวมระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 42 ครั้ง
เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้ แผนการจัดศิลปะแบบร่วมมือ คู่มือการจัดกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ และแบบประเมินการคิดแก้ปัญหา โดยแบบประเมินเป็นคำถามโดยใช้ภาพสถานการณ์ จากข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยผู้รายงาน แบบแผนการวิจัย คือ การวิจัยกึ่งทดลอง (Qusai Experimental Design) ได้ดำเนินการทดลองตามแบบ (One Group Pretest Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านชุมแสง หลังจัดกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ อยู่ในระดับ ดีมาก
2.การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านชุมแสง ก่อนและหลังจัดกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ การสูงกว่าก่อนกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01