การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสร้างรากฐานชีวิต ให้เด็กพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เห็นคุณค่าของตนเองและสังคม เนื่องจากเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 5 ปี เป็นช่วงที่พัฒนาทุกด้าน มีการเจริญเติบโตในอัตราที่สูงที่สุด โดยเฉพาะระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ และเป็นวัยที่มีการพัฒนาด้านบุคลิกภาพ ซึ่งพัฒนาการด้านต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนสามัคคีวิทยา (เชื้อผู้ดีอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยเนื้อหาที่ผู้ศึกษาใช้ในการทดลอง คือ การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 20 แผน ๆ ละ 40 นาที ซึ่งมีค่าคุณภาพเฉลี่ยตั้งแต่ 4.68-4.80 ซึ่งหมายความมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แก่เด็ก 3 ด้าน คือ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดริเริ่ม และด้านความคิดละเอียดลออ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า พบว่า
1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.19/83.79
2. วิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 52.45 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 52.45
3. เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้สมอง
เป็นฐาน หลังการทํากิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์โดยรวมทุกด้านเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 83.79 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
3.1 ด้านความคิดริเริ่ม ก่อนการทํากิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 52.70 หลังการทํากิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.90
3.2 ด้านความคิดละเอียดลออ ก่อนการทํากิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 65.33 หลังการทํากิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.60
3.3 ด้านความคิดคล่องแคล่ว ก่อนการทํากิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 69.20 หลังการทํากิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.00 เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานมีความคิดสร้างสรรค์หลังการทํากิจกรรมด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดละเอียดลออ และด้านความคิดคล่องแคล่ว สูงกว่าก่อนการทํากิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
โดยสรุป การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ทำให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงสมควรสนับสนุนให้นำกิจกรรมดังกล่าวไปใช้ต่อไป