ผู้ศึกษา นางสาวพวงผกา เทพคำ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ปีการศึกษา 2561
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (E1/ E2) เท่ากับ 80/80 (2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลและและร้อยละความก้าวหน้าของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองน่าน จำนวน 32 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 แผน (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ (E1/ E2) ทดสอบค่าที (t test) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และร้อยละความก้าวหน้า
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.45/81.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (E1/ E2) เท่ากับ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การหาค่าดัชนีประสิทธิผลและร้อยละความก้าวหน้าของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.63 และค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 30.52
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยการใช้กระบวนการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59 , = 0.50)