บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ (2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ประชากร คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนศรีแก้วพิทยา อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 2 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 31 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 27 คน รวม 58 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนศรีแก้วพิทยา อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม แล้วจับสลากมา 1 ห้อง ได้ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เป็นห้องกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 แผน (3) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.77 มีอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.79
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผลและสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชา สุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.41/81.72 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.67 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.67 หรือคิดเป็นร้อยละ 67
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนโดยเอกสารประกอบการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาสุขศึกษา 1 พ31101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก