ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
จัดอันดับทุนมนุษย์
บทความการศึกษา 4 มิ.ย. 2558 เปิดอ่าน : 7,119 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

จัดอันดับทุนมนุษย์
Advertisement

คอลัมน์ CSR Talk โดย ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) รายงานผลการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital Index) ปี 2015 พบว่า ฟินแลนด์ได้รับเลือกให้เป็นประเทศที่มีการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นอันดับ 1 ของโลก จาก 124 ประเทศ ตามมาด้วยนอร์เวย์ (2) สวิตเซอร์แลนด์ (3) แคนาดา (4) และญี่ปุ่น (5)

โดยประเทศในทวีปยุโรปติด 10 อันดับมากที่สุดถึง 7 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในลำดับปานกลางคืออันดับที่ 57 ขณะที่ประเทศในกลุ่มเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ (อันดับที่ 24) เกาหลีใต้ (30) ฟิลิปปินส์ (46) มาเลเซีย (52) เวียดนาม (59) และจีน (64) ส่วนหลายประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกามีคะแนนรั้งท้าย เนื่องจากความเหลื่อมล้ำ โดยผู้หญิงมีโอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าผู้ชาย

การจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์มุ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุน และการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ วิธีการวิเคราะห์จะประเมินจากผลลัพธ์ 2 ด้าน ได้แก่ การเรียนรู้ และการจ้างงาน โดยมีตัวชี้วัดย่อยทั้งหมด 46 ตัว อาทิ คุณภาพการศึกษา จำนวนการเข้าเรียน ระดับการศึกษาสูงสุดของประชากร การเรียนรู้ต่อเนื่องระหว่างทำงาน โอกาส และการเรียนรู้ในที่ทำงาน ทักษะการทำงาน และอัตราการจ้างงาน เป็นต้น

สาเหตุที่ฟินแลนด์ได้รับเลือกให้เป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะมีมาตรการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและมีการพัฒนาทักษะ การฝึกอบรมในทุกกลุ่มอายุตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจ ส่วนญี่ปุ่นติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก โดยเป็นประเทศตัวอย่างการพัฒนาทักษะความรู้แก่ประชากรผู้สูงวัย

สำหรับประเทศไทย การประเมินสมรรถนะของทุนมนุษย์ในแต่ละช่วงอายุ พบว่าประชากรอายุต่ำกว่า 15 ปี ไทยอยู่อันดับที่ 68 โดยประเมินจากจำนวนการเข้าเรียนทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษา คุณภาพของประถมศึกษา และการใช้แรงงานเด็ก

ประชากรช่วงอายุระหว่าง 15-24 ปีถือเป็นเยาวชน ไทยอยู่อันดับที่ 41 ประเมินจากจำนวนการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา การเรียนสายอาชีพ คุณภาพของระบบการศึกษา และการอ่านออกเขียนได้ ประชากรกลุ่มช่วงอายุระหว่าง 25-54 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มวัยแรงงาน ไทยอยู่อันดับที่ 57 จุดเน้นการประเมินคือ การเรียนรู้ต่อเนื่องระหว่างการทำงาน ทักษะฝีมือการทำงาน ระดับการศึกษาขั้นสูงสุด และโอกาสในการจ้างงาน ประชากรช่วงอายุระหว่าง 55-64 ปี และอายุมากกว่า 65 ปี ไทยอยู่อันดับที่ 71 และ 73 ตามลำดับ โดยพิจารณาจากระดับการศึกษาขั้นสูงสุด โอกาสการจ้างงานและการใช้ชีวิต และช่วงเวลาที่จะมีสุขภาพดีในวัยสูงอายุ

ผลการประเมินของไทยข้างต้นชี้ให้เห็นว่าไทยมีจุดอ่อนเกือบทุกตัว แต่ที่ค่อนข้างรั้งท้ายคือกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 55-64 ปี และอายุมากกว่า 65 ปี โดยจากการวิเคราะห์ประชากรกลุ่มนี้ร้อยละ 80-90 มีระดับการศึกษาขั้นสูงแค่ประถมศึกษา

ผลเช่นนี้ เมื่อดูข้อมูลของการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์สามารถสรุปเป็นเรื่อง ๆ ได้ดังนี้

- การพัฒนาศักยภาพ และใช้ประโยชน์จากทุนมนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยฟินแลนด์ที่อยู่ในอันดับแรกของโลก การพัฒนาศักยภาพประชากรทำได้เพียงร้อยละ 86 ขณะที่ไทยทำได้เพียงร้อยละ 67 โดยแนวทางการพัฒนาศักยภาพประชากร นอกจากการลงทุนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับตลาดแรงงานแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่องก็มีความสำคัญ

- ระบบการศึกษาในหลายประเทศยังขาดความเชื่อมโยงเรื่องการเรียน และการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การจัดการศึกษาเพียงลำพังของระบบโครงสร้าง และสถาบันที่เป็นทางการไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่รวดเร็ว กำลังเป็นช่องว่างระหว่างการศึกษาและตลาดแรงงานออกไป

ที่สำคัญ ระบบการศึกษาในปัจจุบันยังคงเน้นเรื่องเนื้อหาและความจำ ขณะที่ทักษะความสามารถ เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหากลับมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น เส้นแบ่งระหว่างโลกวิชาการและตลาดแรงงานจึงต้องจางลง หรือหายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการเรียนรู้และนวัตกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลาในวงจรชีวิตการทำงาน

ภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับนักการศึกษาและรัฐบาล เพื่อช่วยให้ระบบการศึกษาสามารถตามทันความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งนี้การจะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่รวดเร็วแบบนี้จำเป็นต้องอาศัยทัศนคติของผู้กำหนดนโยบายที่ต้องสามารถก้าวข้ามวงจรทางการเมืองให้ได้

สิ่งหนึ่งที่กำลังเป็นปัญหาคล้ายกันทั่วโลกรวมทั้งไทย คือการผลิตบัณฑิตไม่ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจ หลายประเทศ เช่น ชิลี, อาร์เจนตินา, ไอร์แลนด์ และสเปน มีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ตำแหน่งว่างงานมีน้อย จึงทำให้ผู้ที่จบการศึกษาจะต้องทำงานในวุฒิที่ต่ำกว่า ซึ่งไทยก็เข้าข่ายนี้

เพราะปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษาไทยที่ลงเรียนสายสังคมศาสตร์ ธุรกิจและกฎหมายสูงที่สุดจำนวนถึง 1,337,272 คน (หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของนักเรียนทั้งหมด) ขณะที่สายวิศวกรรม การผลิต และการก่อสร้างมีเพียง 247,883 คน หรือร้อยละ 9 สายวิทยาศาสตร์ (ร้อยละ 8) การบริการ (ร้อยละ 1.8)

การพัฒนาประชากรทุกกลุ่มให้ได้รับการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถทางการแข่งขัน และมีความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในอนาคต

วันนี้ความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ที่ใครมีเงินทุนมากกว่ากันอีกต่อไป แต่วัดกันที่ศักยภาพการพัฒนา และใช้ประโยชน์จากทุนมนุษย์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมโยงกับห่วงโซ่ทรัพยากรมนุษย์ในระดับนานาชาติจากเศรษฐกิจไร้พรมแดน

เพราะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาจากฐานความรู้และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราไม่สามารถรู้ว่าอนาคตข้างหน้าลักษณะอาชีพจะเปลี่ยนไปอย่างไร จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้คนยุคต่อไปมีศักยภาพในการปรับตัว และการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง 

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 3 มิถุนายน 2558


TAGS ที่เกี่ยวข้อง >> จัดอันดับทุนมนุษย์ << คลิกอ่านเพิ่มเติม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน
เปิดอ่าน 9,009 ครั้ง
ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย

ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย
เปิดอ่าน 6,804 ครั้ง
8 โรงเรียนนวัตกรรมโลกตามหลัก Education 4.0 : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.3

8 โรงเรียนนวัตกรรมโลกตามหลัก Education 4.0 : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP.3
เปิดอ่าน 2,972 ครั้ง
คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน
เปิดอ่าน 15,818 ครั้ง
"ครู" ผู้เปลี่ยนชีวิต "ศิษย์"

"ครู" ผู้เปลี่ยนชีวิต "ศิษย์"
เปิดอ่าน 10,737 ครั้ง
เทคนิคการอ่านเพื่อให้เกิดทักษะ

เทคนิคการอ่านเพื่อให้เกิดทักษะ
เปิดอ่าน 15,276 ครั้ง
การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)

การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)
เปิดอ่าน 37,405 ครั้ง
เราสอบไปเพื่ออะไร?

เราสอบไปเพื่ออะไร?
เปิดอ่าน 18,787 ครั้ง
การขับเคลื่อน "6 ยุทธศาสตร์" ด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ

การขับเคลื่อน "6 ยุทธศาสตร์" ด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ
เปิดอ่าน 15,739 ครั้ง
การศึกษาเท่านั้นที่ทำให้ประเทศเจริญ : โดย สุกรี เจริญสุข

การศึกษาเท่านั้นที่ทำให้ประเทศเจริญ : โดย สุกรี เจริญสุข
เปิดอ่าน 15,158 ครั้ง
ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21

ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21
เปิดอ่าน 30,538 ครั้ง
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา

ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
เปิดอ่าน 31,529 ครั้ง
8 วิธีปรับโฉม “โรงเรียน” ใหม่…จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

8 วิธีปรับโฉม “โรงเรียน” ใหม่…จัดอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
เปิดอ่าน 19,103 ครั้ง
สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้

สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้
เปิดอ่าน 4,910 ครั้ง
คู่แข่ง 4.0 คือการศึกษาและคุณภาพชีวิต : โดย สุกรี เจริญสุข

คู่แข่ง 4.0 คือการศึกษาและคุณภาพชีวิต : โดย สุกรี เจริญสุข
เปิดอ่าน 18,454 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ปฏิรูปการศึกษาไทย ไปทางไหน ?
ปฏิรูปการศึกษาไทย ไปทางไหน ?
เปิดอ่าน 8,271 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
หลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะครูแนวใหม่หวังฉุดการศึกษาไทยให้สูงขึ้น?
เปิดอ่าน 18,625 ☕ คลิกอ่านเลย

แบ่งเกรดมหาลัย ความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่
แบ่งเกรดมหาลัย ความรวดร้าวของบัณฑิตจบใหม่
เปิดอ่าน 15,288 ☕ คลิกอ่านเลย

กรณีตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
กรณีตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เปิดอ่าน 45,952 ☕ คลิกอ่านเลย

ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน
เปิดอ่าน 11,181 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
เปิดอ่าน 8,875 ☕ คลิกอ่านเลย

การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
เปิดอ่าน 15,101 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กินแอปเปิ้ล ลดไข้
กินแอปเปิ้ล ลดไข้
เปิดอ่าน 36,541 ครั้ง

ประเภทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ประเภทของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เปิดอ่าน 75,267 ครั้ง

ผักบำรุงสมอง
ผักบำรุงสมอง
เปิดอ่าน 30,279 ครั้ง

ชมย้อนหลัง แมทช์ประวัติศาตร์! น้องเมย์ล้มมือ1 คว้าแชมป์โลก ที่อายุน้อยที่สุด
ชมย้อนหลัง แมทช์ประวัติศาตร์! น้องเมย์ล้มมือ1 คว้าแชมป์โลก ที่อายุน้อยที่สุด
เปิดอ่าน 23,716 ครั้ง

การกระทำระหว่างเซต (Operation Between Sets)
การกระทำระหว่างเซต (Operation Between Sets)
เปิดอ่าน 21,834 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ