ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้ กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561
ผู้รายงาน : นายวุฒิชัย นวลแก้ว
รองผู้อำนวยการโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2561
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม 2. ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3. ประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ 4. ประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการดำเนินงานแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน 3) จำนวนการติด 0 ร มส. ของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการ 5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ประชากรครูจำนวน 43 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 234 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 234 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 3 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.900 0.953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการ การแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่าด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.41, S.D. = .60) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และรองลงมา คือ กลุ่มครู มีความคิดเห็นว่าบริบทของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.35,  = .46) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, .= .50) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับ มาก ( = 4.48, = .51) รองลงมา คือ ด้านงบประมาณมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, = .54) ส่วนด้านหน่วยงานที่สนับสนุน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.21, = .65) ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นว่าด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.53, S.D. = .46) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่าด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.49, S.D. = .50) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีความคิดเห็นว่าด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ( = 4.41, = .48) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตจำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.51, S.D. = .47) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.42, S.D. = .46) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มครู มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.31,  = .48) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง โครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.48, S.D. = .47) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.39, S.D. = .47) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มครู มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.30, = .53) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินการติด 0 ร มส. รายวิชา ตามระเบียบการวัดผลประเมินผลระดับสถานศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 1-6 โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า โดยภาพรวมปีการศึกษา 2560 ผลการประเมินการติด 0 ร มส เฉลี่ยร้อยละ 60.33 ปีการศึกษา 2561 ภาพรวมมีผลการประเมินการติด 0 ร มส. เฉลี่ยร้อยละ 16.52 ปีการศึกษา 2561 มีจำนวนการติด 0 ร มส. ลดลงจากปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 74.39 39 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2560 โดยเพิ่มขึ้น 1.50 ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน และ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า ค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2561 สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ระดับชั้น ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์ประเมิน สรุปผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนร่วมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ การแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ การแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.45, S.D. = .48) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มครูมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ การแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( = 4.42, = .46) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกรายการที่ประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.33, S.D. = .52) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP-Model) ทั้ง 4 ด้าน คะแนนรวม 100 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ P.S. Model โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2561 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนอื่นๆที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาการติด 0 ร มส. ของนักเรียน เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ในการดำเนินการครั้งต่อไปให้ประเมินเฉพาะผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนโดยตรง ได้แก่ ครูและนักเรียนเท่านั้น เพราะจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงและเที่ยงตรง
2. ควรศึกษา Input Process และ Output ซึ่งมีอิทธิพลต่อการติด 0 ร มส. ของนักเรียนจะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอาจใช้ การสังเกต สัมภาษณ์ หรือการสนทนากลุ่ม เพราะจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง
4. ถ้าผู้บริหารจะนำโครงการนี้ไปใช้จะต้องเน้นที่ปัญหา และกระบวนการวัดผลของครูที่ส่งผลให้นักเรียนติด 0 ร มส.