ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

การใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

อรุณรัตน์ ระวิโชติ*

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) สร้างแบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.63/80.12 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6542 หรือมีความรู้เพิ่มขึ้นจริงคิดเป็นร้อยละ 65.42 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียน โดยสูงขึ้น 12.19 คะแนน 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ ทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกด, แบบฝึกทักษะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

*ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ

บทนำ

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย ภาษาไทยถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทำให้ผู้ติดต่อสื่อสารกันสามารถประกอบกิจธุระ การงานและการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ควรแก่การอนุรักษ์และสืบสานการเรียนรู้ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กรมวิชาการ. 2551 : 37) ซึ่งการจัดกิจกรรมการการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในปัจจุบันมิได้มุ่งหวังให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถนำความรู้ความสามารถ ด้านภาษาไทยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งต้องรักษาภาษาไทยไว้ในฐานะที่เป็นสมบัติของชาติด้วย (กรมวิชาการ. 2544 : 21)

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองอย่างมีความสุขมีวิธีแสวงหาความรู้ เชื่อมโยงความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ใช้ทักษะทางภาษาเพื่ออภิปรายรายงานจดบันทึก รวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ เรียนรู้อย่างมีอิสระมีความรับผิดชอบมีวินัย มีค่านิยมที่พึงประสงค์อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้จะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ มีกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงถึงสภาพและลักษณะของผู้เรียนที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น (กรมวิชาการ. 2544 : 21) ส่วนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกายความรู้ คุณธรรม จึงกำหนดจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 4-5)

ด้วยความสำคัญดังกล่าว หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง กระทรวงศึกษาธิการ (2551 : 37)

ดังนั้นเด็กไทยทุกคนควรเรียนรู้และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทุกโอกาส ซึ่งการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การอ่านและการฟังเป็นทักษะของการรับรู้เรื่องราว ความรู้ ประสบการณ์ ส่วนการพูดและการเขียนเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ การเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสาร ให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์ สามารถนำความรู้ ความคิดมาเลือกใช้เรียบเรียงคำมาใช้ตามหลักภาษาได้ถูกต้องตรงตามความหมาย กาลเทศะและใช้ภาษา

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2549 : 80)

นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2559 เพื่อให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานของประเทศไทยมีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพสูงสุดในตน มีความรู้และทักษะที่แข็งแกร่งและเหมาะสมเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ระดับสูงขึ้นไป และดำรงชีวิตในอนาคต ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป้าประสงค์ที่ 1 นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย และมีคุณภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการนำการทดสอบ NT, O-NET การประเมินของ PISA และระบบการทดสอบกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดคุณภาพแก่ผู้เรียน อีกทั้งได้มีประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องแนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 18 เมษายน 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ให้สถานศึกษามีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการยกระดับคุณภาพนักเรียน ให้สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะที่จำเป็นในทศวรรษที่ 21 รวมทั้งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 โดยให้ใช้ข้อสอบกลางที่พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการสอบปลายปี ร้อยละ 20 ของคะแนนสอบทั้งหมด ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,4,5 และมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 (ข้อ 8) มีรายละเอียดกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ใช้แบบทดสอบมาตรฐานกลางในระดับชั้นต่างๆ ดังนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย,คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษาฯ และภาษาต่างประเทศ

แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นสี่ปี 2560-2564 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีเป้าประสงค์ให้สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในทศวรรษที่ 21 (3Rx8C) และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการจัดโครงสร้างหลักสูตร ให้นักเรียนได้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 200 ชั่วโมงต่อปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 160 ชั่วโมงต่อปี ในทุกปีการศึกษาที่ผ่านมา โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สนองนโยบายทั้งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้จัดให้มีการทดสอบ NT ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และสอบ O-NET ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีการทดสอบข้อสอบสมรรถนะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีการศึกษา 2560 ได้ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เข้าร่วมทดสอบตามนโยบายอ่านออกเขียนได้ (RT) และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,4,5 เข้าร่วมทดสอบข้อสอบมาตรฐานกลาง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและสนองนโยบายการศึกษาแห่งชาติ นโยบายด้านการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นโยบายของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และนโยบายของโรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ และผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้เป็นครูผู้สอนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อสร้างเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 1 ที่ต้องสามารถอ่านออกเขียนได้ สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2558-2559 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 47.36 และ 59.44 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ต่ำ คือ ปี 2558 มีคะแนนเฉลี่ย 41.83 ปี 2559 มึคะแนนเฉลี่ย 39.84 ครูผู้สอนต้องมีบทบาทในการปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนและมีหน้าที่ส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและพัฒนาทักษะการเขียนไปพร้อมกัน

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยซึ่งเป็นครูผู้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เกิดแนวคิดว่าแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนจะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยเติมเต็มและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นระดับชั้นเรียนที่ผู้วิจัยเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้สอนโดยนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นี้ เป็นกลุ่มนักเรียนที่น่าสนใจที่จะนำมาทำการวิจัย กล่าวคือ เป็นนักเรียนที่ต้องฝึกฝนการอ่าน และเขียนคำมาตราตัวสะกดให้ถูกต้อง และมีความสามารถในการอ่านได้คล่องเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ผู้วิจัยจึงต้องการที่จะนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยนำแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom’s Revised Taxonomy in 2001 มาสร้างแบบฝึกการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกด มี 6 ขั้นตอน มาใช้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้สูงขึ้นและเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80

2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ขอบเขตของการวิจัย

1. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังเรียนอยู่ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 28 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้

2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 เล่ม

3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก มี 30 ข้อ

4. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่องมาตราตัวสะกด ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยศึกษาหลักสูตร เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดทำแผนการจัดเรียนรู้ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning : BBL) จำนวน 9 แผน

1.1 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ที่ผู้วิจัยเขียนเสร็จแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อพิจารณาตรวจสอบ แล้วนำแผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะแล้วนำมาเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอีกครั้ง

1.2 นำแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าเฉลี่ยซึ่งผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ถึง 4.84 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 หมายความว่า แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด มีความเหมาะสมที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

1.3 นำแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องมาตราตัวสะกด จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในด้านกิจกรรม เนื้อหากระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้พร้อมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

2. การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยศึกษาหลักสูตร หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้ที่ได้มาสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด จำนวน 9 เล่ม ผู้วิจัยได้โดยนำแนวคิดการสร้างแบบฝึก ตามแนวทฤษฏีการเรียนรู้ของ Bloom’s Revised Taxonomy 2001 มี 6 ขั้น จากง่ายไปยาก เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขในเรื่องจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา การใช้ภาษา ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น

2.1 การหาคุณภาพของแบบฝึกทักษะจากผู้เชี่ยวชาญ นำคะแนนจากแบบประเมินฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกดของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าเฉลี่ย สำหรับเกณฑ์การผ่านการประเมินจะต้องมีค่า IOC เท่ากับ 0.5 ขึ้นไป หมายความว่าใช้ได้จากการประเมินพบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 0.92

2.3 นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปทดลองใช้ควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องมาตราตัวสะกด โดยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน 31 คน ปีการศึกษา 2560 เพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้จริง โดยมีการทดลองตามลำดับขั้นตอนดังนี้

ครั้งที่ 1 การทดลองรายบุคคล ผู้วิจัยทดลองกับนักเรียน 3 คน โดยสุ่มนักเรียน ที่มีผลการเรียนดี 1 คน ผลการเรียนปานกลาง 1 คน และผลการเรียนอ่อน 1 คน (ผลการเรียนเรียนดูจากแบบกรอกคะแนนการประเมินผลประจำปี ปีการศึกษา 2559) การทดลองรายบุคคลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความยากง่ายของภาษาที่ใช้ ความเหมาะสมของคำ และเวลาที่ใช้ในแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง ผลการทดลองรายบุคคลพบว่า ต้องมีการปรับทางด้านภาษา ขนาดของคำ และขั้นตอนของกิจกรรมในแบบฝึกที่ต้องปรับให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมจากง่ายไปยากได้ชัดเจนมากขึ้น

ครั้งที่ 2 ทดลองแบบกลุ่มย่อย ผู้วิจัยได้นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ปรับปรุงครั้งที่ 1 ไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบกลุ่มย่อยจำนวน 9 คน โดยสุ่มนักเรียนที่มีผลการเรียนดีจำนวน 3 คน ผลการเรียนปานกลางจำนวน 3 คน และผลการเรียนอ่อนจำนวน 3 คน มาเป็นกลุ่มทดลองย่อย (ผลการเรียนเรียนดูจากแบบกรอกคะแนนการประเมินผลประจำปี ปีการศึกษา 2559) โดยทดลองสอนเหมือนจริง เพื่อดูความเหมาะสมของเนื้อหา ระยะเวลาที่ใช้ในการสอนในแต่ละเล่มจากการทดลองแบบกลุ่มย่อยกับนักเรียนจำนวน 9 คนพบว่า นักเรียนสามารถอ่านเขียนแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้อย่างถูกต้องและทำแบบฝึกทันเวลาที่กำหนด จากนั้นผู้วิจัยนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบพิจารณา และขอคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง

ครั้งที่ 3 ทดลองแบบกลุ่มใหญ่ ผู้วิจัยได้นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ปรับปรุงครั้งที่ 2 ไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบกลุ่มใหญ่ จำนวน 30 คน โดยสุ่มนักเรียนที่มีผลการเรียนดีจำนวน 10 คน ผลการเรียนปานกลางจำนวน 10 คน และผลการเรียนอ่อนจำนวน 10 คน มาเป็นกลุ่มทดลองกลุ่มใหญ่ (ผลการเรียนเรียนดูจากแบบกรอกคะแนนการประเมินผลประจำปี ปีการศึกษา 2559) โดยทดลองสอนเหมือนจริง เพื่อดูความเหมาะสมของเนื้อหา ระยะเวลาที่ใช้ในการสอนในแต่ละเล่มจากการทดลองแบบกลุ่มใหญ่กับนักเรียนจำนวน 30 คนพบว่า นักเรียนสามารถอ่านเขียนแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้อย่างถูกต้องและทำแบบฝึกทันเวลาที่กำหนด จากนั้นผู้วิจัยนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบพิจารณา และขอคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง

2.4 นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผ่านการทดลองใช้แล้วทั้งรายบุคคล แบบกลุ่มย่อย และแบบกลุ่มใหญ่มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญเป็นแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ฉบับสมบูรณ์แล้วนำไปใช้สอนจริงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ที่กำลังเรียนอยู่ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์หาค่ามีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 85.63/80.12

3. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน โดยศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์เนื้อหา เวลาเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือกจำนวน 50 ข้อ 50 คะแนน และโดยสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้แล้ว

3.1 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม เพื่อตรวจพิจารณาความเหมาะสม ความถูกต้องของเนื้อหาและคำตอบ พร้อมกับการให้ข้อเสนอแนะจากนั้นผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มาปรับปรุงแก้ไข ตามที่ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะไว้ จากนั้นนำนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาอีกครั้ง

3.2 ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กับจุดประสงค์การเรียนรู้ (Index of Item Objective Congruence : IOC) มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี. 2537 : 167)

ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าแบบทดสอบข้อนั้นวัดหาจุดประสงค์การเรียนรู้

ให้คะแนน 0 เมื่อแน่ใจว่าแบบทดสอบข้อนั้นวัดตามจุดประสงค์การเรียนรู้

ให้คะแนน –1 เมื่อแน่ใจว่าแบบทดสอบข้อนั้นวัดตามจุดประสงค์การเรียนรู้

ผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป

3.3 คัดเลือกแบบทดสอบไว้จำนวน 30 ข้อ แล้วนำไปทดลองควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้แบบฝึกทักษะภาษาไทย กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน เทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย

3.4 นำผลการสอบของนักเรียนมาวิเคราะห์หาค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ของข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ จะต้องมีค่าความยาก (P) ระหว่าง .20-.80 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .20–1.00 (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 84 - 92) ผลปรากฏว่าผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.40-0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20-0.33

3.5 หาค่าความเชื่อมั่น่ของแบบทดสอบทั้งฉบับโดยใช้สูตร KR20 ของ Kuder – Richardson (บุญชม ศรีสะอาด. 2553 : 103 - 104) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.56

3.6 จัดพิมพ์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วเป็นฉบับสมบูรณ์ นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

4. การสร้างแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนโดยศึกษา เอกสาร ตำรา รายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสร้างแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 16 ข้อ โดยผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงมาจากเกณฑ์การประเมินของบุญชม ศรีสะอาด (2545: 163) มีเกณฑ์การประเมินดังนี้

ค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ

4.51 – 5.00 หมายถึง มากที่สุด

3.51 – 4.50 หมายถึง มาก

2.51 – 3.50 หมายถึง ปานกลาง

1.51 – 2.50 หมายถึง น้อย

1.00 – 1.50 หมายถึง น้อยที่สุด

นำแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ฉบับร่างเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม เพื่อตรวจพิจารณาให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไข ผู้วิจัยจึงได้นำได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงคำถามในบางข้อในแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

4.1 นำแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่แก้ไขปรับปรุงเสร็จแล้วเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจพิจารณาอีกครั้ง

4.2 จัดพิมพ์แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ผลปรากฏว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย 4.64

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้

1. แบบแผนการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pre–test Post-test Design (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 248-249)

2. ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

2.1. ทดสอบก่อนเรียน (Pre–test) กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ก่อนทำการวิจัยผู้วิจัยด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 ข้อ

2.2. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเอง ตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน ใช้เวลา 54 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

2.3. ทดสอบหลังเรียน (Post-test) เมื่อสิ้นสุดการสอนโดยการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดเดียวกับการทดสอบก่อนเรียน

2.4. นำผลการตรวจให้คะแนนไปวิเคราะห์ข้อมูล

2.5. วัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ ดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 โดยการหาประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์

2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I)

3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยหาค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.63/80.10 ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6542 แสดงว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความรู้เพิ่มขึ้นจริงคิดเป็นร้อยละ 65.42

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

1. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.63/80.10 ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้สร้างขึ้นโดยผ่านขั้นตอนการสร้างที่มีประสิทธิภาพ มีระบบและได้ผ่านการตรวจแก้ไขข้อบกพร่อง รวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในการสร้างแบบฝึกทักษะก่อนที่จะนำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจริง ในการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ต้องอาศัยลักษณะและรูปแบบที่หลากหลายจัดเรียงเนื้อหาเป็นไปตามลำดับความยากง่าย สอดคล้องกับซึ่งการทำแบบฝึกทักษะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น จดจำความรู้ได้นานและคงทน รวมทั้งพัฒนาความรู้ทักษะและเจตคติด้านต่าง ๆ ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น ผู้รายงานได้สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวทางการสร้างแบบฝึกทักษะที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ปัญหาและความต้องการ วิเคราะห์เนื้อหาและทักษะที่เป็นปัญหาออกเป็นเนื้อหาย่อยแล้วดำเนินการสร้างตามหลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดี ของสุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 60-61) กล่าวว่าแบบฝึกทักษะที่ดีควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยา การเรียนรู้ ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ความครอบคลุม ความสอดคล้องกับเนื้อหา รูปแบบน่าสนใจ และคำสั่งชัดเจน และ ฐานิยา อมรพลัง (2548 : 78) ได้เสนอลักษณะที่ดีของแบบฝึก คือ แบบฝึกที่เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีรูปภาพประกอบ มีรูปแบบน่าสนใจ หลากหลายรูปแบบ โดยอาศัยหลักจิตวิทยาในการจัดกิจกรรมหรือจัดแบบฝึกให้สนุก ใช้ภาษาเหมาะสมกับวัย มีการจัดกิจกรรมการฝึกที่เร้าความสนใจ และแบบฝึกนั้นควรทันสมัยอยู่เสมอ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เป็นแบบฝึกทักษะที่ใช้ร่วมกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้นำเอากิจกรรมต่าง ๆ มาจัดให้สอดคล้องกันในแต่ละแผน ซึ่งประกอบด้วยเกม ภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระในลักษณะที่จะส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยถือว่าสื่อแต่ละอย่างให้คุณค่าแตกต่างกัน จากเหตุผลดังกล่าวแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จึงเป็นแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พนมวัน วรดลย์ (2542) ได้ศึกษาการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 87.74/82.11 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตรงกับงานวิจัยของนิลวรรณ อัคติ (2548) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการผันวรรณยุกต์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนภูแล่นช้างคเชนทร์พิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 3 เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะและแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 87.85/80.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับสมใจ นาคศรีสังข์ (2549) ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตลาดเกาะแรต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 21 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 83.98/84.46 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน หมายความว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการใช้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีการพัฒนาในการเรียนรู้เรื่อง มาตราตัวสะกดสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ แบบฝึกทักษะมาตราตัวสะกด มีเนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย มีแบบฝึกจากง่ายไปยาก ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม 2001 มี 6 ขั้นตอน นอกจากนี้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกดได้ผ่านการสร้างที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับ พนมวัน วรดลย์ (2556) ได้ศึกษาการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า แบบฝึกทัษะการเขียนสะกดคำมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 87.74/82.11 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตรงกับงานวิจัยของ นิลวรรณ อัคติ (2555) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การผันวรรณยุกต์ โดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนภูแล่นช้างคเชนทร์พิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะและแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 87.85/80.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 ที่ตั้งไว้ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับ ลุลา ศรีกุตา (2553) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.43/86.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ผลที่เกิดกับนักเรียนหลังการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 พบว่านักเรียนมีทักษะการอ่านและเขียนดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานสูงขึ้น มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.47

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้อาจเนื่องจากแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนได้เป็นรายบุคคล นักเรียนแต่ละคนสามารถที่จะเรียนตามศักยภาพของตนเองได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนรู้และทำให้นักเรียนมีความเข้าใจชัดเจนขึ้น และได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง จึงทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตรา 22 ที่กำหนดว่าการศึกษาจะต้องยึดหลักว่านักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่านักเรียนมีความสำคัญสุด นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนจะต้องจัดให้มีความสอดคล้องกับนักเรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางสติปัญญา ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความถนัด ความสนใจ และมีการวัดผล ประเมินผล ตามสภาพจริง (กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 5) สอดคล้องกับงานวิจัยของ พีรพงษ์ ใหญ่สิมา (2559) ได้ศึกษาการพัฒนาการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

จากผลการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการเรียนสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนได้ดีขึ้น แบบฝึกทักษะสามารถช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จทางจิตใจและเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนของนักเรียนให้คงทน (ประทีป แสงเปี่ยมสุข. 2538 :53 ) นอกจากนี้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ยังช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้นิทานมาตราตัวสะกด คำศัพท์พื้นฐานของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้กว้างขวาง เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนักเรียนยังสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในการอ่านและการเขียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มได้ดี และนำข้อคิดจากเรื่องที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 จากผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะในระดับมากที่สุด ดังนั้นสถานศึกษาควรสนับสนุนให้ครูได้นำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านและพัฒนาการเขียนของนักเรียนได้ หรือประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนหรือการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยในเนื้อหาอื่นได้

1.2 ผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผ่านการประเมินหาประสิทธิภาพเรียบร้อยแล้วไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นเดียวกันในโรงเรียนสังกัดเทศบาล เพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อไป

1.3 การนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยไปใช้ ครูผู้สอนควรศึกษาขั้นตอนในการใช้ให้เข้าใจ มีการวางแผน กำหนดกิจกรรมการฝึกไว้ให้ชัดเจน และทำการฝึกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะทำให้การสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะนั้นเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

1.4 ครูควรจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพราะจะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ ความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่ายต่อการร่วมกิจกรรม ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนของนักเรียนดีขึ้น

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในเนื้อหาอื่นและระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป

2.2 ควรมีการสอนเปรียบเทียบรูปแบบการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กับวิธีการสอนแบบอื่นๆ

2.3 ควรมีการศึกษาเจตคติ ความคงทนในการเรียนรู้ที่นักเรียนมีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

2.4 ควรมีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในการเรียนรู้ระหว่างการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กับการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2551.

กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย.พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2540.

ฉวีลักษณ์ บุญกาญจน. จิตวิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด, 2547.

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์,

2545.

ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ. แบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนและการจัดทำ

ผลงานวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

ธารอักษร, 2550.

เทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ,โรงเรียน. หลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559). 2552.

นภดล จันทร์เพ็ญ. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : แสงศิลป์การพิมพ์, 2535.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

.................... การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2543.

ประเทิน มหาขัน. การสอนอ่านเบื้องต้น. พระนครศรีอยุธยา : โอเดียนสโตร์, 2540.

ประวีณา เอ็นดู. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ

โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

เปลื้อง ณ นคร. ศิลปะแห่งการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์, 2544.

เผชิญ กิจระการและสมนึก ภัททิยธนี. “ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.),”

การวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.8 : 30-36 ; กรกฎาคม, 2545.

.................... “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2),”

การวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.7 : 44–62 ; กรกฎาคม, 2544.

พนมวัน วรดลย์. การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2542.

พินิจ จันทร์ซ้าย. การสร้างหนังสือและแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง บุญผะเหวดร้อยเอ็ด.

วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป

แบเนจ เม็นท์. 2548.

พัชรินทร์ จันทร์หัวโทน. การศึกษาผลการสอนตามหลักการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ในวิชา

วิทยาศาสตร์เรื่องน้ำเพื่อชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ขอนแก่น :

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหาร

การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2540.

มะลิ อาจวิชัย. การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การพัฒนาสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา

ตัวสะกดแม่กน แม่กด และแม่กบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์

กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2540.

ยุพดี ทรงทอง. ภาษาไทย 1. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราอาจารย์นิมิตจิวะสันติการ, 2540.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์-

พรินท์, 2546.

รัญจวน อินทรกำแหง. วรรณกรรมสำหรับเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : ดวงกมล, 2550.

รุจาภา ประถมวงษ์. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทักษะกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ เรื่องสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียน

ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) กับการจัดการเรียนรู้

แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E).วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 2551.

เรวดี อาษานาม. พฤติกรรมการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน.

มหาสารคาม : สถาบันราชภัฏมหาสารคาม, 2537.

ลินจง จันทรวราทิตย์. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการอ่านเพื่อชีวิต. นครปฐม :

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สถาบันราชภัฏนครปฐม, 2542.

วรรณภา ไชยวรรณ. การพัฒนาแผนการอ่านภาษาไทย เรื่อง อักษรควบและอักษรนำ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 2549.

วรรณี โสมประยูร. การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

ไทยวัฒนาพานิช, 2539.

.................... การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช,

2544.

วิจิตรา แสงพลสิทธิ์. การใช้ภาษาไทย (ไทย 101). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ม.ป.ป.

วิเศษ แปวไธสง. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะประกอบการเรียน กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่อง ลูกอ๊อดหาแม่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.

การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.

สนิท สันโยภาส. การสอนภาษาไทยแก่เด็กประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2532.

.................... ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. กรุงเทพฯ : เซ็นจูรี่, 2545.

สมใจ นาคศรีสังข์. การสร้างแบบฝึกการอ่านและเขียนสะกดคำจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 2549.

สมนึก ภัททิยธนี และคณะ. พื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา.กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์,

2548.

.................... การวัดผลการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์, 2546.

สัมภาษณ์ ฉัตรบุปผา. การศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูงกับนักเรียนที่มีความสามารถ

ทางการเรียนต่ำ ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2539.

สายใจ ทองเนียม. ภาษาไทย 1 ฉบับวรรณกรรมสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์, 2542.

สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดใต้โพธิ์ค้ำ ตาม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา.

กาฬสินธุ์ : 2551.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สรุปผลการประชุมสัมมนาประสานแผนและแลกเปลี่ยน

องค์ความรู้การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :

ไทยวัฒนาพานิช, 2545.

สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ. ผลงานทางวิชาการสู่...การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ :

อี เค บุคส์, 2550.

อกนิษฐ์ กรไกร. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กาพย์ยานี 11 ด้วยแบบฝึกทักษะ ชั้นระถมศึกษา

ปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ Co-op Co–op และแบบเดี่ยว. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.

Bloom, B.S. Human Characteristic and School Learning. New York :Mcgraw - Hill,

1982.

Wolman, Benjamin B. Dictionary of Behavioral Science. New York : Van Nostrand

Reinhold, 1973.

โพสต์โดย นก : [7 ส.ค. 2562 เวลา 19:20 น.]
อ่าน [4789] ไอพี : 115.87.129.72
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 16,810 ครั้ง
การลำดับรุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์
การลำดับรุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์

เปิดอ่าน 15,294 ครั้ง
"ข่า" แก้ไอเจ็บคอเสมหะผู้ใหญ่
"ข่า" แก้ไอเจ็บคอเสมหะผู้ใหญ่

เปิดอ่าน 35,134 ครั้ง
ว1/2559 การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ฯ
ว1/2559 การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ฯ

เปิดอ่าน 26,290 ครั้ง
ISO นั้นสำคัญไฉน
ISO นั้นสำคัญไฉน

เปิดอ่าน 24,715 ครั้ง
เหตุผลที่ต้องซื้อ "กล้องดิจิตอล"
เหตุผลที่ต้องซื้อ "กล้องดิจิตอล"

เปิดอ่าน 20,471 ครั้ง
จิตรกรรม
จิตรกรรม

เปิดอ่าน 8,876 ครั้ง
15 นาทีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
15 นาทีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

เปิดอ่าน 12,567 ครั้ง
3 จุดหมายยอดฮิตที่คนไทยต้องทำประกันเดินทางก่อนไปเที่ยว
3 จุดหมายยอดฮิตที่คนไทยต้องทำประกันเดินทางก่อนไปเที่ยว

เปิดอ่าน 13,236 ครั้ง
ดูพี่ตำรวจเค้าทำ รถเกือบชนกันระนาว !
ดูพี่ตำรวจเค้าทำ รถเกือบชนกันระนาว !

เปิดอ่าน 39,763 ครั้ง
บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา
บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา

เปิดอ่าน 1,313 ครั้ง
4 จุดภายในบ้าน ที่ควรตรวจสอบ ป้องกันผู้สูงวัยลื่นล้ม เสี่ยงอันตราย
4 จุดภายในบ้าน ที่ควรตรวจสอบ ป้องกันผู้สูงวัยลื่นล้ม เสี่ยงอันตราย

เปิดอ่าน 15,485 ครั้ง
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด

เปิดอ่าน 18,346 ครั้ง
"ดอกอัญชัน" สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม
"ดอกอัญชัน" สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม

เปิดอ่าน 25,945 ครั้ง
เลขคณิตคิดไม่ยาก : คุณรู้จัก "29 กุมภา" ดีแค่ไหน
เลขคณิตคิดไม่ยาก : คุณรู้จัก "29 กุมภา" ดีแค่ไหน

เปิดอ่าน 12,079 ครั้ง
จุ่มลวก (หรือลวง)
จุ่มลวก (หรือลวง)

เปิดอ่าน 9,109 ครั้ง
พระสังฆราชประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา
พระสังฆราชประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา
เปิดอ่าน 8,593 ครั้ง
ประโยชน์ของการหัวเราะ
ประโยชน์ของการหัวเราะ
เปิดอ่าน 26,706 ครั้ง
การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ
การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ
เปิดอ่าน 15,858 ครั้ง
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
เปิดอ่าน 15,562 ครั้ง
สาวเกาหลีเต้น กังนัมสไตล์
สาวเกาหลีเต้น กังนัมสไตล์

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ