บทคัดย่อ
พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการบูรณาการการใช้สมองเป็นฐาน
ร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการบูรณาการการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการบูรณาการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิผล 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการบูรณาการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการบูรณาการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะครูผู้สอนระดับอนุบาลและเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี ปีการศึกษา 2560 2561 รวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น คู่มือสำหรับครู ประกอบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง การคิดวิเคราะห์ จำนวน 15 แผน ใช้เวลา 15 ชั่วโมง ซึ่งไม่รวมกับการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย โดยให้เด็กเลือกเขียนเครื่องหมายกากบาท (x) ทับภาพตามคำสั่ง จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) อยู่ระหว่าง 0.46 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.50 0.98 และมีค่าความเชื่อมั่น (KR 20) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.647 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเที่ยง ( ) เท่ากับ 0.74 ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยทั้งหมดนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว และมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการบูรณาการการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปได้ว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.76/85.85
2. ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิภาพ (E.I.) รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการบูรณาการการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปได้ว่า มีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8185 หรือคิดเป็นร้อยละ 81.85
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการบูรณาการการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน โดยการบูรณาการการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของคณะครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.31 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.54 และของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.59
สรุปได้ว่า การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการบูรณาการการใช้สมอง
เป็นฐานร่วมกับเทคนิคหมวกความคิดหกใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีส่วนช่วยให้มีรูปแบบการเรียนการสอนที่ดี และที่มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป