ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้ฯ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้

กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ชื่อผู้ศึกษา นางประภาพร บุณยโพธิ

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการ ความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2.2 เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการความรู้หลังเรียนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียนจำนวน 72 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งจัดห้องเรียนโดยคละความสามารถของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธรได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม

สรุปผลการวิจัย

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สรุปผลการวิจัยดังนี้

ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้

1. สัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ดังนี้

1.1 การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

1.1.1 แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนนอกจากการสอนโดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และการสอนแบบบรรยายประกอบใบความรู้แล้ว ยังใช้วิธีการให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติมจากหนังสือในห้องสมุด จากอินเทอร์เน็ต จากปราชญ์ชาวบ้าน หรือแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น วัด สถานประกอบการ แหล่งโบราณคดี เป็นต้น และมีการตรวจสอบความเข้าใจโดยการใช้คำถาม ใช้วิธีการให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยให้ใบงาน ตรวจสอบความถูกต้องและความเข้าใจจากการทำใบงาน และการอภิปรายเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น

1.1.2 ปัญหาจากการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ปัญหาจากการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พบว่า หนังสือที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การค้นคว้าเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนก็มีจำนวนน้อยมากและหนังสือก็จะเป็นหนังสือที่ค่อนข้างเก่าที่ข้อมูลก็เก่ามากไม่เป็นปัจจุบัน และในห้องสมุดประชาชนเท่าที่เคยให้รุ่นพี่ไปศึกษาค้นคว้าในปีก่อนทราบว่าหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นก็มีจำนวนน้อย และหนังสือส่วนมากก็จะเก่าและค่อนข้างชำรุด สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์จากปราชญ์ชาวบ้านค่อนข้างมีปัญหาในการเก็บข้อมูล เนื่องจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เฉพาะด้านในปัจจุบันมีน้อยคน ส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ และถ้าเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่อายุน้อยจะไม่ค่อยมีเวลาในการถ่ายทอดความรู้ เพราะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน

1.2 สื่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

สำหรับสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะใช้หนังสือเรียน หรือ ใบความรู้ประกอบการบรรยายเนื้อหา และมีการใช้สื่อที่เป็นสถานการณ์จริง เช่น การร่วมกิจกรรม แห่เทียนพรรษา กิจกรรมบุญบั้งไฟ บุญข้าวจี่ เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น วัด โบสถ์ วิหาร ถ้ำพิพิธภัณฑ์ สถานประกอบการ ชุมชน บ้านปราชญ์ชาวบ้านสาขาต่าง ๆ

1.3 แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะใช้แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ หรือแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้โรงเรียน เช่น วัด สถานที่ราชการ ห้องสมุดประชาชน จะใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี เช่น ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีบุญบั้งไฟ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นชุมชน จะใช้ในการเรียนการสอนประเพณี เช่น บุญข้าวจี่ บุญข้าวประดับดิน การเรียนการสอนที่บ้านนักปราชญ์ในสาขาภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น งานศิลปหัตถกรรม งานกสิกรรมจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นผู้รู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร

1.4 การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนจะใช้วิธีการวัดผลด้านเนื้อหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้แบบทดสอบและใบงาน ถ้าเป็นชิ้นงานจะวัดและประเมินผลตามเกณฑ์

โดยพิจารณาตามเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)

1.5 ข้อเสนอแนะอื่นๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนควรมีเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูผู้สอน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ผู้บริหาร ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ปกครอง นักเรียน ในการเรียนการสอน ควรจัดครูผู้สอนเข้าสอนตรงกับสาขาวิชา ถ้าจัดครูผู้สอนเข้าสอนไม่ตรงกับสาขาวิชาจะทำให้การถ่ายทอดเนื้อหาได้ไม่ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือมาตรฐานการเรียนรู้ ถ้าพื้นฐานความรู้เดิมของนักเรียนจากระดับชั้นที่ผ่านมาไม่ครอบคลุม ก็จะทำให้การถ่ายทอดเนื้อหาในระดับที่สูงขึ้นล่าช้าที่สำคัญ ถ้าครูผู้สอนมีความรู้ด้านเทคโนโลยีน้อย ก็จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลใหม่ ๆ ที่จะนำมาใช้ในการเรียน การสอนไม่ทันยุคสมัย จะทำให้ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้

2 สัมภาษณ์นักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

สัมภาษณ์นักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนักเรียนมีความคิดเห็นโดยสรุป ดังนี้

ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูพบว่า สอดคล้องกับครูผู้สอนคือ ใช้การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอนเช่นหนังสือใบความรู้ถาม-ตอบ เป็นต้น

ด้านแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับครูผู้สอน คือ ใช้หนังสือเรียนหนังสือในห้องสมุดค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตสัมภาษณ์ผู้ปกครองปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปศึกษาที่จากแหล่งเรียนรู้จากสถานที่จริงเป็นต้น

ด้านการเผยแพร่ผลงานสอดคล้องกับครูผู้สอน คือ นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปจัดป้ายนิเทศหรือจัดนิทรรศการหรือนำไปเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตเป็นต้น

ด้านประโยชน์ของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อนักเรียนสอดคล้องกับครูผู้สอน ซึ่งนักเรียนเห็นว่ามีประโยชน์มากไม่อยากให้ลืมประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตนเอง อยากให้มีความภูมิใจและรักในถิ่นฐานเดิมของตนเอง และมีส่วนร่วมในการสืบทอดหรือการอนุรักษ์ไว้

ด้านข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนสอดคล้องกับครูผู้สอนนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า อยากให้พาไปเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนอกสถานที่โดยพาไปเรียนรู้ในสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจริงๆ การเรียนรู้อยากให้เรียนรู้และทำงานเป็นกลุ่มเพราะจะได้ช่วยกันทำช่วยกันคิดช่วยกันค้นคว้า ช่วยกันวิเคราะห์ งานจะเสร็จและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3 การศึกษาแนวคิด

ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพุทธินิยม ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และทฤษฎีการสร้างความรู้ และแนวคิดการจัดการความรู้

4. กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้มีลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิด การจัดการความรู้ 6 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparatory stage for learning: P)

ขั้นที่ 2 การออกแบบการจัดการความรู้ (Knowledge management design: K)

ขั้นที่ 3 การเรียนรู้สิ่งใหม่โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบันจากการปฏิบัติ (Active Linked Learning: A)

ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ (Exchange of knowledge for new knowledge: E)

ขั้นที่ 5 การสร้างและจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ (Constructing and Organizing Knowledge: C)

ขั้นที่ 6 การประเมินผลและการประยุกต์ใช้ (Assessing and Applying: A)

5. หลักการของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 มีหลักการว่า การเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มจากความรู้ที่ฝังลึกจนได้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของนักเรียนเปลี่ยนเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งด้วยกระบวนการปฏิบัติจริง

6. วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

2.1 รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรียกว่า PKAECA Model มีองค์ประกอบคือ

1) หลักการ

2) วัตถุประสงค์

3) กระบวนการจัดการความรู้

4) การวัดและประเมินผล

5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้

2.2 ตรวจสอบความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-= 5.00, S.D. = 1.00)

.

ตอนที่ 2 ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดยโสธรพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความสามารถในการจัดการความรู้พบว่านักเรียนมีความสามารถในการจัดการความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-= 4.76, S.D. = 0.42)

3. ความสามารถในการจัดการความรู้จากชิ้นงาน และภาระงานที่ต้องปฏิบัติ ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการจัดการความรู้จากชิ้นงาน และภาระงานที่ต้องปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-= 4.76, S.D. = 0.42)

โพสต์โดย นางประภาพร บุณยโพธิ : [3 ก.ย. 2562 เวลา 10:04 น.]
อ่าน [3478] ไอพี : 159.192.196.74
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 2,581 ครั้ง
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้

เปิดอ่าน 7,897 ครั้ง
ทดสอบความทนทาน"ไอโฟน 5" พัง-ไม่พัง แตก-ไม่แตก
ทดสอบความทนทาน"ไอโฟน 5" พัง-ไม่พัง แตก-ไม่แตก

เปิดอ่าน 10,303 ครั้ง
7 วิธี เอาชนะริ้วรอย
7 วิธี เอาชนะริ้วรอย

เปิดอ่าน 31,327 ครั้ง
สำนวนภาษาอังกฤษ
สำนวนภาษาอังกฤษ

เปิดอ่าน 13,275 ครั้ง
โฆษณาเด็กน่ารักที่สุด ประจำปี 2013
โฆษณาเด็กน่ารักที่สุด ประจำปี 2013

เปิดอ่าน 12,663 ครั้ง
๒๐ คำถามกับท่าน ว.วชิรเมธี
๒๐ คำถามกับท่าน ว.วชิรเมธี

เปิดอ่าน 3,943 ครั้ง
ต้นทองอุไร ไม้ดอกมงคล ปลูกง่าย โตไว
ต้นทองอุไร ไม้ดอกมงคล ปลูกง่าย โตไว

เปิดอ่าน 12,229 ครั้ง
มาดูกัน 5 วิธีปรับโฉมระบบเผาผลาญ
มาดูกัน 5 วิธีปรับโฉมระบบเผาผลาญ

เปิดอ่าน 78,678 ครั้ง
เทคนิคพิเศษในการระบายสี
เทคนิคพิเศษในการระบายสี

เปิดอ่าน 23,439 ครั้ง
"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล
"ของเล่นบ้านๆ" สื่อพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัล

เปิดอ่าน 14,193 ครั้ง
เอกสารแนบคำขอในระบบ DPA
เอกสารแนบคำขอในระบบ DPA

เปิดอ่าน 37,944 ครั้ง
การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)
การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)

เปิดอ่าน 8,146 ครั้ง
Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook
Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook

เปิดอ่าน 8,511 ครั้ง
อะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลก
อะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลก

เปิดอ่าน 17,619 ครั้ง
พระพรหม (พระธาดา)
พระพรหม (พระธาดา)

เปิดอ่าน 15,947 ครั้ง
7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
เปิดอ่าน 13,506 ครั้ง
ชาวเน็ตกดไลค์ คลิปน้องเจนพากย์เสียงเป๊ะเว่อร์มากๆ
ชาวเน็ตกดไลค์ คลิปน้องเจนพากย์เสียงเป๊ะเว่อร์มากๆ
เปิดอ่าน 80,186 ครั้ง
อาชีพที่จะหายไปและอาชีพในอนาคต
อาชีพที่จะหายไปและอาชีพในอนาคต
เปิดอ่าน 681 ครั้ง
ต้นไม้สำหรับวางบนโต๊ะทำงาน ช่วยให้สดชื่นและมีพลังในการทำงาน
ต้นไม้สำหรับวางบนโต๊ะทำงาน ช่วยให้สดชื่นและมีพลังในการทำงาน
เปิดอ่าน 30,931 ครั้ง
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ