ผู้วิจัย นางพวงอ้อย ไชยดี
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่น.ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่นก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านภาษาอังกฤษ ใช้แบบแผนการวิจัย แบบ One-group pretest-posttest design ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากร จังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากห้องเรียน 5 ห้อง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบย่อยท้ายบทเรียน 7 เรื่องๆ ละ 10 ข้อ รวม 70 ข้อ แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่น แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่น ก่อนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาบทเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 โดยมีรายละเอียด 7 เรื่อง ดังนี้ 1. Episode 1 Getting to know Yasothon (รู้จักเมืองยโสธร) 2. Episode 2 Temples (วัดวาอาราม) 3. Episode 3 Antiquities (โบราณสถาน) 4. Episode 4 Famous and respected people (บุคคลที่มีชื่อเสียง) 5. Episode 5 Tourist attractions (สถานที่ท่องเที่ยว) 6. Episode 6 Festivals & Traditions (ประเพณีและเทศกาล) 7. Episode 7 Souvenirs (ของฝากของที่ระลึก) เมื่อนำไปสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ทดสอบว่าประสิทธิภาพของบทเรียน มีค่าเท่ากับ 77.46/74.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75
1. การเปรียบเทียบผลการทดสอบวัดความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษในเนื้อหาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล1 สุขวิทยากร ก่อนเรียนและหลังเรียน เมื่อนำค่าเฉลี่ยจากการทดสอบมาเปรียบเทียบกันพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล1 สุขวิทยากรที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่น พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ เนื้อหาบทเรียนมีความน่าสนใจ รองลงมาคือ การนำเสนอเข้าสู่บทเรียน ด้วยภาพ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี น่าสนใจ และ นักเรียนได้รับประโยชน์จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ระยะเวลาและเนื้อหาที่ใช้มีความเหมาะสม ซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำสู่การพัฒนาต่อไป
คำสำคัญ : , คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ เนื้อหาท้อง