ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิด อย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 1) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 6 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 198 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” เทศบาลเมืองสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากห้อง (Sample Random Sampling) คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (dependent t - test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนอีพีซีเอสอี (EPCSE) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนการสอน มี

5 ขั้นตอน คือ 1) เร้าความสนใจ (Encouragement : E) 2. ให้ความรู้และทักษะพื้นฐาน (Providing Fundamental Knowledge and Skill : P) 3. สร้างมโนทัศน์และฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Constructing Concepts and Critical Thinking) 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S)

5. ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ (Enumeration : E) ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ของรูปแบบการเรียนการสอนอีพีซีเอสอี (EPCSE Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00 และความเป็นไปได้ของรูปแบบมีค่าดัชนีรายข้อ มีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้

2. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดังนี้

2.1 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียน (x ̅ = 44.19, S.D. = 1.09) ซึ่งอยู่ในระดับสูง สูงกว่าก่อนเรียน (x ̅ = 20.09 , S.D. = 2.53) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.1

2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า คะแนนเฉลี่ยที่เรียนโดยกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น หลังเรียน (x ̅ = 26.28, S.D. = 0.77) สูงกว่าก่อนเรียน (x ̅ = 13.84, S.D. = 1.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.2 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนอยู่ในระดับสูง ส่วนก่อนเรียนอยู่ในระดับต่ำ

2.3 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.62, S.D. = 0.48) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (x ̅ = 4.77 , S.D. = 0.42) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (x ̅ = 4.58, S.D. = 0.49) และด้านบรรยากาศในการเรียน (x ̅ = 4.51 S.D. = 0.50) ตามลำดับ

โพสต์โดย พิไลลักษณ์ เรืองโชติเสถียร : [18 ก.พ. 2564 เวลา 07:45 น.]
อ่าน [2989] ไอพี : 1.179.143.138
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,013 ครั้ง
PowerPoint ชี้แจงตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
PowerPoint ชี้แจงตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

เปิดอ่าน 46,149 ครั้ง
พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

เปิดอ่าน 15,732 ครั้ง
แชร์ว่อนเน็ต คลิป"มอเตอร์ไซค์รับจ้าง"พูดอังกฤษคล่องปรื๋อ! ให้สัมภาษณ์ทีวีสิงคโปร์ หลายคนแห่ชื่นชม !!
แชร์ว่อนเน็ต คลิป"มอเตอร์ไซค์รับจ้าง"พูดอังกฤษคล่องปรื๋อ! ให้สัมภาษณ์ทีวีสิงคโปร์ หลายคนแห่ชื่นชม !!

เปิดอ่าน 61,904 ครั้ง
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?

เปิดอ่าน 10,728 ครั้ง
กลเม็ดหาเงินสร้างธุรกิจ
กลเม็ดหาเงินสร้างธุรกิจ

เปิดอ่าน 18,318 ครั้ง
การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง
การสื่อสารของแมลง : การเต้นรำของผึ้ง

เปิดอ่าน 41,437 ครั้ง
ฟังก์ชันของ exponential
ฟังก์ชันของ exponential

เปิดอ่าน 8,385 ครั้ง
เมื่อบ้านมีระเบียบ ฮวงจุ้ยก็ดีได้
เมื่อบ้านมีระเบียบ ฮวงจุ้ยก็ดีได้

เปิดอ่าน 14,841 ครั้ง
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?
คลี่ปม "หนี้ครู" 1.2 ล้านล้านบาทมาจากไหน?

เปิดอ่าน 29,953 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา

เปิดอ่าน 12,107 ครั้ง
พ่อแม่ควรแอด เฟซบุ๊ก Facebook ลูกไหม
พ่อแม่ควรแอด เฟซบุ๊ก Facebook ลูกไหม

เปิดอ่าน 14,094 ครั้ง
ความพอเพียงของสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ความพอเพียงของสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา

เปิดอ่าน 20,320 ครั้ง
รู้ยัง? “5 ผลไม้ เด่น ที่น่าปลูกในอนาคต” มีอะไรบ้าง
รู้ยัง? “5 ผลไม้ เด่น ที่น่าปลูกในอนาคต” มีอะไรบ้าง

เปิดอ่าน 139,329 ครั้ง
ครูไทย 4.0 (จบ) : โดย ดิเรก พรสีมา
ครูไทย 4.0 (จบ) : โดย ดิเรก พรสีมา

เปิดอ่าน 22,010 ครั้ง
เกณฑ์มาตรฐานการเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์
เกณฑ์มาตรฐานการเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์

เปิดอ่าน 9,630 ครั้ง
เทศกาลโคมไฟ...สีสันเมืองใต้
เทศกาลโคมไฟ...สีสันเมืองใต้
เปิดอ่าน 41,710 ครั้ง
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
เปิดอ่าน 16,593 ครั้ง
มุขตลกของเด็กๆ ในห้องเรียน จำลองห้องเป็นรถเมล์
มุขตลกของเด็กๆ ในห้องเรียน จำลองห้องเป็นรถเมล์
เปิดอ่าน 9,875 ครั้ง
กินมะเขือเทศป้องกันเป็นอัมพาตได้ ยิ่งกินมากยิ่งหนีได้ห่างตั้งครึ่งต่อครึ่ง
กินมะเขือเทศป้องกันเป็นอัมพาตได้ ยิ่งกินมากยิ่งหนีได้ห่างตั้งครึ่งต่อครึ่ง
เปิดอ่าน 85,061 ครั้ง
วิธีทำ  น้ำพริกอ่อง เมนูสุขภาพ
วิธีทำ น้ำพริกอ่อง เมนูสุขภาพ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ