Advertisement
Advertisement
แนวทางการจัดประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ตอนที่ 1)
|
ตอนที่ 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กำหนดให้กิจกรรมผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนเช่นเดียวกับการเรียนสาระการเรียนรู้ และกำหนดให้เป็นเกณฑ์สำคัญในการผ่านช่วงชั้นและจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ทุกช่วงวัย และจัดให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการและได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นอย่างเต็มที่
กิจกรรมพัฒนาการเรียนเป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพเพิ่มเติม จากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่ม เน้นการเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง เพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์สังคมและควรเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามอย่างสมบูรณ์


|
- กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยผู้เรียนให้ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ และการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลและสังคมทั่วไป กิจกรรมแนะแนวจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- กิจกรรมรู้จัก เข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
- กิจกรรมการแสวงหาและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
- กิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา
- กิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต
2. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองครบวงจร ตั้งแต่การศึกษา ตลอดจนการประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติโดยเน้นการร่วมประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติงานโดยเน้นการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม หรือ ชุมนุมต่างๆ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- กิจกรรมตามความถนัด และความเข้าใจของผู้เรียน เช่น ชุมนุมวิทยาศาสตร์ ชุมนุมดนตรี ชุมนุมกีฬา เป็นต้น
- กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และรักษาดินแดนที่ปลูกฝังความเป็นพลเมืองดีของชาติ มีระเบียบวินัย มีความรักสามัคคี รู้จักเสียสละและช่วยเหลือผู้อื่น

ในกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละช่วงชั้นโดยกำเนินการ ดังนี้ (รูปที่1 ลูกเสือ เนตรนารี)
- กำหนดเวลาเรียนรายปี ตามประมาณการเวลาเรียนรายปีของแต่ละช่วงชั้น ในโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- แบ่งเวลาเรียนรายปี เป็น 2 ส่วน สำหรับเรียนสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม 1 ส่วน และ สำหรับการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 ส่วน โดยช่วงชั้นที่ 1-2 มีสัดส่วนเวลาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนค่อนข้างสูงและลดลงในช่วงชั้นที่ 3-4 สุดท้ายกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ช่วงชั้นที่ 4 ต้องจัดให้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดช่วงชั้นประมาณ 480 ชั่วโมง หรือ 180 ชั่วโมงต่อปี ดังนั้นทุกช่วงชั้นจึงควรจัดให้มีเวลาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่าช่วงชั้นที่ 4
- นำเวลาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายปีไปคำนวณหาค่าน้ำหนัก ซึ่งใช้หน่วยบอกขนาดหรือปริมาณของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อการเปรียบเทียบ การคำนวณ และการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การคำนวณหาค่าน้ำหนักกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายปี สามารถคำนวณโดยนำ เวลาปฏิบัติกิจกรรมรายปี มาหารด้วยจำนวนชั่วโมงของค่า 1 หน่วยน้ำหนักมาตรฐาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 80 ชั่วโมง ดังนี้
- การกำหนดเกณฑ์ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น เนื่องจากหลักสูตรแกนกลางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 กำหนดให้ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด จึงจะผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตรได้ ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องกำหนดการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินให้นักเรียนผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร
เกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น คือ เกณฑ์ที่กำหนดว่า ตลอดช่วงชั้นเรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้นจำนวนกี่หน่วยน้ำหนัก และจะต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์รวมจำนวนกี่หน่วยน้ำหนัก เช่น
 |
- ก. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 12 หน่วยน้ำหนักและต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน 12 หน่วยน้ำหนัก
- ข. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 12 หน่วยน้ำหนักและต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 10 หน่วยน้ำหนัก
- ค. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งสิ้น 12 หน่วยน้ำหนักและต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 10 หน่วยน้ำหนัก โดยต้องปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี หรือยุวกาชาดหรือบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาดินแดน ให้ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 3 หน่วยน้ำหนัก

- รวมจำนวนผ่านหน่วยกิจกรรมรายปีที่กำหนดใน ข้อ 2 ทั้ง 3 ปี จะได้จำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติตลอดช่วงชั้น
- กำหนดจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนขั้นต่ำ ที่จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน เนื่องจากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไว้เป็นหลักในการปฏิบัติ และไม่มีข้อกำหนดใดระบุให้ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมได้ผ่านทุกกิจกรรม การกำหนดจำนวนหน่วยน้ำนักรวมของกิจกรรมที่ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินจึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา ที่จะต้องกำหนดโดยยึดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาสามารถจะกำหนดจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ต้องผ่านเกณฑ์ประเมิน ให้เท่ากับจำวนหน่วยน้ำหนักรวมที่ต้องปฏิบัติตลอดช่วงชั้นก็ได้ หรือ กำหนดให้ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นบางส่วนก็ได้ นอกจากนั้น ยังสมารถกำหนดให้กิจกรรมหนึ่งเป็นกิจกรรมบังคับสำหรับสถานศึกษาของตนเองก็ได้อีกด้วย
- นำจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ต้องปฏิบัติตลอดช่วงชั้นจากข้อ 1. ไปเชื่อมโยงกับจำนวนหน่วยน้ำหนักรวมของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนขั้นต่ำที่ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินในข้อ 2. จะได้เกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น
สถานศึกษาจะต้องกำหนดเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น สำหรับสถานศึกษาของตนเป็นรายช่วงชั้น โดยจะกำหนดให้แต่ละช่วงชั้นมีเกณฑ์เหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
 |
กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษา เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องนำไปใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินให้ผู้เรียนผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร สถานศึกษาจะต้องมีความมั่นใจแน่วแน่ว่าเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมีความถูกต้อง มีคุณภาพเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพราะจะต้องใช้เกณฑ์นั้นตัดสินนักเรียนไปตลอดหลักสูตรหรือจนกว่าสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควรให้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องมีการใช้เกณฑ์นั้นเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควร สถานศึกษาไม่ควรเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การผ่านช่วงชั้นบ่อยๆ เพราะจะทำให้ผู้เรียนผ่านช่วงชั้นในแต่ละรุ่นโดยมีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน สร้างความสับสนให้กับผู้เรียน ผู้ปกครองและสังคม รวมทั้งสร้างความยุ่งยากให้กับระบบตรวจสอบรับรองผลการเรียนและวุฒิการศึกษาของผู้เรียนด้วย
เกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชันที่ได้จัดทำขึ้นเรียบร้อย สถานศึกษาควรจัดทำคำสั่ง หรือระเบียบสถานศึกษาขึ้นประกอบการใช้เกณฑ์นั้นให้เป็นไปตามกฎหมาย และประกาศให้ นักเรียน ผู้แกครอง ครู บุคลากร ของสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ และถือปฏิบัติร่วมกัน
|
ที่มาข้อมูล : สมทรง ลิมาลัย วารสารวิชาการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2549
|
Advertisement
|
เปิดอ่าน 17,755 ครั้ง |
เปิดอ่าน 89,874 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,725 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,827 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,449 ครั้ง |
เปิดอ่าน 72,631 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,910 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,994 ครั้ง |
เปิดอ่าน 62,875 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,451 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,483 ครั้ง |
เปิดอ่าน 61,499 ครั้ง |
เปิดอ่าน 53,411 ครั้ง |
เปิดอ่าน 64,413 ครั้ง |
เปิดอ่าน 59,425 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 26,685 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 15,394 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 3,533 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 4,043 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 20,575 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,120 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,783 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 8,169 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 24,468 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 299,760 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,308 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 43,842 ครั้ง |
|
|