รายงานการประเมินโครงการ สถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ผู้ประเมิน นายเอกพล กาญจน์สำเริง
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 3) ประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 และ 4) ประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยศึกษาทั้งประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บและรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง การหาค่าความเชื่อมั่น เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า
ร้อยละ โดยใช้โปรแกรม IBM SPSS Version 23
ผลการประเมินโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 พบว่า
1. ผลการประเมิน สรุปว่า โครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยมีผลการดำเนินโครงการในระดับมากที่สุด โดยได้คะแนนรวม 97.60 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ด้าน และเมื่อพิจารณาตัวชี้วัดของการประเมินทั้ง 4 ด้าน จำนวน 16 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 16 ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้
ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 13 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความจำเป็นของโครงการ
2) ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ 3) ความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ความพร้อมของบุคลากร 5) ความเหมาะสมของสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ 6) ความเหมาะสมของงบประมาณ 7) ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ 8) กระบวนการขั้นตอนโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง 9) การวางแผนดำเนินการ (Plan) 10) การปฏิบัติ (Do) 11) การดำเนินกิจกรรมโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน 12) ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 13) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด/โรงเรียน 2) การตรวจสอบ ทบทวน และประเมิน (Check) และ 3) การปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา (Act)
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดชลธีนิมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 10 รายการ โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ นักเรียนได้รับความรู้จากการจัดกิจกรรมโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงและความพึงพอใจในภาพรวม
ต่อโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาได้แก่ การนำความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการดำเนินกิจกรรมของโครงการสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่นักเรียน และรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ กระบวนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการ