บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP MODEL) ระยะที่ 1 ศึกษา วิเคราะห์ การวิเคราะห์
ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม ระยะที่ 2 ประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลัก-ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ระยะที่ 3 การสะท้อนผลของโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ระยะที่ 4 ผลการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ หลังการสะท้อนผลของโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลัก-ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การประเมินโครงการการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับสภาพปัจจุบันจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. โครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ตามความคิดเห็นของครู อาจารย์ นักการภารโรง และนักเรียน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต มีความสอดคล้องหรือความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของครูอาจารย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของ นักการภารโรงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และตามความคิดเห็น ของนักเรียนหัวหน้าห้องในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. โครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.64
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.30 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 รองลงมาคือ ด้านความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ย 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.37 ส่วนด้านการใช้ประโยชน์และด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 และ 0.42 สามารถนำไปใช้กับสถานการณ์จริงได้