ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง? : รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
บทความการศึกษา 17 มิ.ย. 2565 เปิดอ่าน : 8,228 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง? : รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
Advertisement

จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง?
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก

ผู้เขียนตั้งคำถาม”จะยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกกี่แห่ง? “ตามชื่อบทความกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านตรีนุช เทียนทอง เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 นี้ ในที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย

ผู้เขียนตั้งคำถามพร้อมเสนอข้อมูลและความเห็นข้างล่าง แต่เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด จึงไม่ได้เสนอข้อมูลละเอียดเท่าที่ควร จึงขอบันทึกข้อมูลและความเห็นเพิ่มเติม ต่อไปนี้ ครับ

ข้อมูลประกอบคำถาม

1.สภาพปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสิ้น จำนวน 29,583 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน 0-120 คน จำนวน 14,958 แห่ง และมีจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนต่างขนาดกัน จำนวน 14,625 แห่ง ประกอบด้วย (1)นักเรียน 121-200 คน จำนวน 7,000 แห่ง (2)นักเรียน 201-300 คน จำนวน 3,300 แห่ง (3)นักเรียน 301-499 คน จำนวน 1,961 แห่ง (4) นักเรียน 500-1,499 คน จำนวน 1,673 แห่ง (5) นักเรียน 1,500 -2,499 คน จำนวน 408 แห่ง (6)นักเรียน 2,500 คนขึ้นไป จำนวน 283 แห่ง. (สมคิด หอมเนตร;24 พฤษภาคม 2565)

2.จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่า ประเทศไทย มีโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 14,958 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.563 (เกินกว่าครึ่งหนึ่ง) และมีโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 120 คน จำนวน 6 ขนาด รวมจำนวน 14,625 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 49.437 (น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง) และ นับวันโรงเรียน 6 ขนาด ที่ใหญ่กว่าขนาดเล็กข้างต้น จะมีจำนวนนักเรียนลดลงตามลำดับ เนื่องจากประชากรไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามสถิติจำนวนประชากรดังนี้

3.การลดลงของประชากรไทย ระหว่าง ปี 2553 - 2583 (แผนภาพ 1)

(1)พ.ศ.2553 มีประชากรกลุ่มอายุ 0-14 ปี จำนวน 12.6 ล้าน ร้อยละ 19.8 (เฉลี่ย 14 รุ่นอายุ มีประชากรเกิด ปีละ 12.6 หารด้วย 14 ได้รุ่นอายุละ 900,000 คน)

(2)พ.ศ.2563 มีประชากรกลุ่มอายุ 0-14 ปี จำนวน 11.2 ล้าน ร้อยละ 16.9 (เฉลี่ย 14 รุ่นอายุ มีประชากรเกิด ปีละ 11.2 หารด้วย 14 ได้ประชากรเกิดรุ่นอายุละ 800,000 คน)

(3)พ.ศ.2573 มีประชากรกลุ่มอายุ 0-14 ปี จำนวน 9.9 ล้าน ร้อยละ 14.8 (เฉลี่ย14 รุ่นอายุ มีประชากรเกิด ปีละ 9.9 หารด้วย 14 ได้รุ่นอายุละ 707,142 คน)

(4)พ.ศ.2583 มีประชากรกลุ่มอายุ 0-14 ปี จำนวน 7.4 ล้าน ร้อยละ 12.4 (เฉลี่ย14 รุ่นอายุ มีประชากรเกิด ปีละ 7.4 หารด้วย 14 ได้รุ่นอายุละ 528,571 คน)

#ที่มา ประมวลจากรายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 - 2583

4.จะเห็นได้ว่าประชากรแรกเกิดและวัยเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานลดลงตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ทุก 10 ปี ดังนี้

(1)ปี 2553-2563 (12.6-11.2)= 10 ปี ลดลง 1.4 ล้านคน เฉลี่ยลดลง ปีละ 900,000-800,000 = 100,000 คน
(2)ปี 2563-2573 (11.2-9.9) = 10 ปี ลดลง 1.3 ล้านคน เฉลี่ยลดลง ปีละ 800,000-707,142 = 92,858 คน
(3)ปี 2573-2583 (9.9-7.4) =10 ปี ลดลง 2.5 ล้านคน เฉลี่ยลดลง707,142-528,571 = 178,571 คน

###สรุป ปี 2553-2583 ระยะเวลา 30 ปี จะมีประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลดลง จาก 12.6 -7.4 = 5.2 ล้านคน

5.จากการคาดประมาณการประชากรตามข้อ 3(2)ในปี 2564 จะมีประชากรไทยเกิดปีละ 800,000 คน แต่โดยข้อเท็จจริง ในปี 2564 มีเด็กไทยเกิดใหม่ลดลงเหลือเพียง 540,000 คน (ศ.เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล; สำนักข่าวอิศรา,4 กุมภาพันธ์ 2565) (แผนภาพ 2) ลดลงจากคาดประมาณการ จำนวน 260,000 คน และลดลงเร็วกว่าการคาดประมาณการเกือบ 20 ปี

6.หากนำตัวเลขจำนวนประชากร ตาม3(1) ในกลุ่มปี พ.ศ.2553 จำนวน 900,000 คน มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยกับจำนวนโรงเรียนในปัจจุบัน จำนวน 29,583 แห่ง จะพบว่า โรงเรียน 1 แห่ง จะมีนักเรียนเข้าเรียนเฉลี่ย 30 คน และหากนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบหาจำนวนนักเรียนอีก 6 ปีข้างหน้าที่เด็กเกิดปี พ.ศ.2564 จำนวน 540,000 คน ซึ่งจะครบอายุ 6 ปี เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ ใน ปี พ.ศ. 2570 (หากยังคงมีโรงเรียนจำนวน 29,583 แห่ง เท่าเดิม) จะพบว่าโรงเรียน 1 แห่ง จะมีนักเรียนเข้าเรียน เฉลี่ยเท่าๆกันโรงเรียนละ 18 คน

7.แต่โดยข้อเท็จจริงนักเรียนจะเข้าเรียนในโรงเรียนแต่ละแห่งไม่เท่ากันโดยเฉพาะโรงเรียนในจังหวัดและโรงเรียนในอำเภอ จะเป็นโรงเรียนยอดนิยมที่จะมีนักเรียนเข้าเรียนจำนวนมากกว่าค่าเฉลี่ย 18 คน ดังนั้น ยิ่งโรงเรียนยอดนิยมรับนักเรียนจำนวนห้องมากเท่าไหร่ และจำนวนนักเรียนแต่ละห้องมากเท่าไหร่ โรงเรียนระดับตำบลในแต่ละหมู่บ้าน(ถ้ามี) จำนวนจะลดลงจากค่าเฉลี่ย ต่ำกว่า 18 คนถึงไม่มีนักเรียนเข้าเรียนเลยอีกจำนวนมาก
และหากใช้เกณฑ์ในปัจจุบัน จะต้องมีโรงเรียนขนาดเล็กต้องถูกยุบจำนวนมาก

###ดังนั้น หากใช้เกณฑ์ในปัจจุบัน จะต้องมีโรงเรียนขนาดเล็กต้องถูกยุบจำนวนมาก ถ้ากำหนดให้ 1 โรงเรียน มีเด็กเข้าเรียนเฉลี่ย 30 คน เช่นปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2570 จะต้องยุบโรงเรียนอีก 17,749 แห่ง และจะเหลือโรงเรียนในประเทศไทย เพียง 11,834 แห่ง เท่านั้น

 

###จากข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนจึงขอเสนอกระทรวงศึกษาธิการ ว่าควรมีการดำเนินการเตรียมรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรที่เกิดขึ้น อย่างน้อย 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1.ควรกำหนดเกณฑ์โดยใช้เกณฑ์พื้นที่เป็นที่ตั้งโรงเรียนในตำบล/หมู่บ้าน โดยควรมีโรงเรียน 1 แห่งต่อ พื้นที่และจำนวนประชากรวัยเรียนไม่เกิน 3 หมู่บ้าน (1 โรงเรียน: 3 หมู่บ้าน) ไม่ว่าจำนวนประชากรวัยเรียนในตำบล/หมู่บ้านนั้นจะลดลงมากน้อยเพียงใด

2.ควรกำหนดนโยบายการบริหารโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกับองค์กรปกคองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใน 3 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 กำหนดนโยบายการโอนโรงเรียน สพฐ.ให้เป็นโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เพื่อให้ สพฐ. และ อปท.ร่วมกันรับผิดชอบการจัดการศึกษาในท้องถิ่น
รูปแบบที่ 2 กำหนดหลักเกณฑ์การบริหารโรงเรียนร่วมกันระหว่าง สพฐ.กับ อปท.
รูปแบบที่ 3 กำหนดหลักการในการที่ อปท.จะตั้งงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนในท้องถิ่น

3. ควรดำเนินการ ดังนี้

(1)ลดเกณฑ์การกำหนดขนาดโรงเรียนโรงเรียนจาก 6 ขนาด เหลือ 3 ขนาดคือ เล็ก กลาง ใหญ่ โดยกำหนดจำนวนนักเรียนที่เหมาะสมกับแต่ละขนาดโรงเรียน และโรงเรียนขนาดใหญ่ต้องไม่มีนักเรียนมากเกินไปจนกระทั่งไม่เกิดการกระจายนักเรียนไปยังโรงเรียนอีกสองขนาด

(2)พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนกับวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้บทเรียนและวิธีการในช่วงโควิดเป็นแนวทางในการวิจัย

(3)แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ UNICEFได้สรุปประเด็นปัญหาการศึกษาของประเทศไทย ในช่วงปี 2565(แผนภาพ 3)

 

4.แก้ไขกฎหมายการใช้พื้นที่ดิน อาคารสถานที่ ทรัพย์สินอื่นๆของโรงเรียน ที่ถูกยุบรวมหรือยุบเลิก โดยควรมีการจัดสรรและบริหารจัดการอาคารสถานที่และพื้นที่ ดินในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทสถานการณ์และของพื้นที่ เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนที่ถูกยุบมีอาคารที่ผุพัง เนื่องจากไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ และพื้นที่โรงเรียนรกร้างว่างเปล่าจำนวนมาก

###หมายเหตุ วิกฤติตามบทความนี้ จะลามไปเป็นวิกฤติระดับอาชีวะศึกษา และวิกฤตระดับอุดมศึกษาด้วย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ก่อนที่จะถึงวันนั้น ผู้เขียนคงต้องตั้งคำถามล่วงหน้า ว่าอนาคตจะต้องยุบสถาบันอาชีวะศึกษากี่แห่ง? และจะต้องยุบมหาวิทยาลัยอีกกี่แห่ง ด้วย?

13 มิถุนายน 2565 

 

ขอบคุณที่มาจาก เฟซบุ๊ค สมบัติ นพรัก


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?

ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?
เปิดอ่าน 23,803 ครั้ง
บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง

บริหารงานอย่างไร จึงจะครองใจลูกน้อง
เปิดอ่าน 7,608 ครั้ง
ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?

ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?
เปิดอ่าน 7,312 ครั้ง
"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์

"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์
เปิดอ่าน 116,491 ครั้ง
คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้

คอร์รัปชันในระบบการศึกษา...ความท้าทายที่ต้องเดินหน้าสู้
เปิดอ่าน 1,496 ครั้ง
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”

“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
เปิดอ่าน 29,547 ครั้ง
นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย

นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
เปิดอ่าน 1,913 ครั้ง
เด็กๆ ควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่

เด็กๆ ควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่
เปิดอ่าน 34,027 ครั้ง
ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 9,177 ครั้ง
การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน

การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
เปิดอ่าน 31,105 ครั้ง
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา

ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
เปิดอ่าน 31,542 ครั้ง
ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน

ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน
เปิดอ่าน 10,700 ครั้ง
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ

Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ
เปิดอ่าน 8,938 ครั้ง
ครูไทย 4.0 (จบ) : โดย ดิเรก พรสีมา

ครูไทย 4.0 (จบ) : โดย ดิเรก พรสีมา
เปิดอ่าน 138,496 ครั้ง
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"
เปิดอ่าน 14,738 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ลดการสอบเพื่ออะไร ?
ลดการสอบเพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 9,273 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาระดับภูมิภาค สะท้อนความล้มเหลวของใคร หรือจะหนีเสือปะจระเข้ โดย ณรงค์ ขุ้มทอง
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาระดับภูมิภาค สะท้อนความล้มเหลวของใคร หรือจะหนีเสือปะจระเข้ โดย ณรงค์ ขุ้มทอง
เปิดอ่าน 10,577 ☕ คลิกอ่านเลย

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง
กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง
เปิดอ่าน 18,288 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
เปิดอ่าน 6,686 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคนิคการจัดการชั้นเรียนด้วยโมเดล 3 C"s
เทคนิคการจัดการชั้นเรียนด้วยโมเดล 3 C"s
เปิดอ่าน 11,700 ☕ คลิกอ่านเลย

การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
เปิดอ่าน 29,086 ☕ คลิกอ่านเลย

อุดมศึกษาไทยเสื้อไซซ์เดียว
อุดมศึกษาไทยเสื้อไซซ์เดียว
เปิดอ่าน 7,659 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

โลกธรรม 8
โลกธรรม 8
เปิดอ่าน 27,586 ครั้ง

วิธีลดต้นแขนแบบง่าย ๆ ได้ผลชัวร์
วิธีลดต้นแขนแบบง่าย ๆ ได้ผลชัวร์
เปิดอ่าน 19,623 ครั้ง

ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย
ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย
เปิดอ่าน 10,355 ครั้ง

8 วิธีสร้างความมั่นคงทางการเงินก่อนถึงวัยเกษียณ
8 วิธีสร้างความมั่นคงทางการเงินก่อนถึงวัยเกษียณ
เปิดอ่าน 13,298 ครั้ง

ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
เปิดอ่าน 7,954 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ