ชื่อเรื่องรายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดอ้อมน้อย(มิตรครูราษฎร์รังสรรค์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ชื่อผู้ประเมิน นายวิชัย อ้นมณี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน วัดอ้อมน้อย(มิตรครูราษฎร์รังสรรค์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ ผู้ใช้รูปแบบการประเมิสังกัดนซีโป (CPOS evaluation model) ของเยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2542 : 301-319) ประกอบด้วย ประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) ประเมินกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างดำเนินโครงการ (Process) และประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome) ประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดอ้อมน้อย(มิตรครูราษฎร์รังสรรค์) จำนวน 67 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมประชากรจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 3 ฉบับ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานสภาวะแวดล้อม (Context) ในภาพรวม พบว่า ระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ความพร้อมและทรัพยากร มีระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของโครงการ ระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความพอเพียงของทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมิน กระบวนการดำเนินโครงการ (Process) ในภาพรวม พบว่าระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่นำขั้นการวางแผน มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ขั้นการตรวจสอบ/ติดตามประเมินผล มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเท่ากันกับ มีช่วงเวลาในการดำเนินงานของโครงการ และ ขั้นการดำเนินงานตามแผน (กิจกรรมตามโครงการ) มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเท่ากันกับ ขั้นตอนการสรุป/การปรับปรุงแก้ไข มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Outcome) ของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดอ้อมน้อย(มิตรครูราษฎร์รังสรรค์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2563 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียน เปรียบเทียบการศึกษา 2562 2563 ในภาพรวม เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.78 ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อพิจารณาเป็นรายวิชา พบว่า วิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 รองลงมา คือ วิชาการงานอาชีพ
มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 รายวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.41 วิชาศิลปะ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35 วิชาภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.39 ส่วนรายวิชาที่มีค่าเฉลี่ยลดลง คือ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 1.57 และ วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.10 และ รายวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 0.94
3.2 ผลการประเมินความสามารถการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2562 เปรียบเปรียบกับ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ภาพรวม เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.78
ซึ่งบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการอ่านออกเสียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.62 และพบว่าผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขั้นร้อยละ 6.52
3.3 ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3ปีการศึกษา 2562 เปรียบเปรียบกับ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ภาพรวม เฉลี่ยลดลงร้อยละ 6.61 ซึ่งไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการประเมินความสามารถด้านภาษาไทย ลดลง ร้อยละ 1.39 และพบว่าผลการประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ลดลง ร้อยละ 11.83
3.4 ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ย
ปีการศึกษา 2563 พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เพิ่มขึ้น จำนวน 2 รายวิชาและลดลงจำนวน 2 รายวิชา ซึ่งไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อพิจารณาเป็นรายวิชาพบว่า วิชาภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.14 วิชาวิชาภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ7.80 วิชาคณิตศาสตร์
มีคะแนนเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.82 รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำลดลงร้อยละ 0.02
3.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก