ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางสาวยนต์นภา คำศรี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน เทศบาล 1 (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์)
สังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ปีที่รายงาน 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2.2) ประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) และ 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวนนักเรียน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีดำเนินการศึกษาในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ผสมผสานร่วมกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ (System Approach) ADDIE Modelโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสาน ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) เสริมด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และแบบแผนการวิจัยแบบ One- Group Pretest Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษา พบว่า
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า ร้อยละเฉลี่ยของคะแนนระหว่างเรียน มีค่าเท่ากับ 82.66 ร้อยละเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 82.17 ซึ่งแสดงว่าค่าประสิทธิภาพของรูปแบบมีค่าเท่ากับ 82.66/82.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสรุปดังนี้
2.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ( = 32.89, S.D.= 0.89) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ( = 24.47, S.D.= 1.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.1 ที่ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
2.2 คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ( = 33.11, S.D.=1.83) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ( = 23.17, S.D.=1.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.2 ที่ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
2.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.51) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.3