ชื่องานวิจัย การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการคำนวณโจทย์
ทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
ชื่อผู้ทำวิจัย นางปิยนุช เมธา
3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางและเน้นการบรรยายเป็นหลัก พบว่ามีนักเรียนสอบไม่ผ่านเกณฑ์(เกณฑ์ผ่านการสอบในแต่ละครั้ง คือ ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม)จำนวนมาก โดยมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ เพียง 5 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 13 คน ดังนั้น นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 38.46 ของนักเรียนทั้งหมด
ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะ พัฒนาความสามารถการคำนวณสูตรทางฟิสิกส์โดยใช้การเรียนรู้ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้การสอนวิธีการคำนวณโจทย์ทางฟิสิกส์จากง่ายไปยาก และแบบเพื่อนสอนเพื่อน เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนให้มากที่สุด และตรวจสอบว่า จะสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ได้มากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้เข้าใจในการแก้โจทย์ปัญหาในรายวิชาฟิสิกส์ได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการเพิ่มความรู้และเทคนิคในการคำนวณ
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ในการแก้ปัญหาโจทย์ ปัญหาทางฟิสิกส์ก่อนและหลังเรียน และเพิ่มแนวทางการแก้ไขโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอน
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
ประกอบด้วย ผู้วิจัย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบแผนฝังมโนทัศน์ เรื่อง แรงเสียดทาน จำนวน 6 ชั่วโมง
2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติ ได้แก่
1) แบบฝึกหัด เรื่อง แรงเสียดทาน จำนวน 4 ข้อ
2) แบบฝึกทักษะขั้นตอนการคำนวณ แรงเสียดทาน จำนวน 4 ข้อ
ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ
1 วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2 สร้างแบบฝึกหัดและแบบฝึกทักษะ เรื่อง แรงเสียดทาน เป็นแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวม 40 คะแนน
3 หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
1) นำแบบฝึกหัดและแบบฝึกทักษะ เรื่อง แรงเสียดทาน ไปทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียน แล้วนำไปวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ
2) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากเครื่องมือต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข
3) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงเสียดทาน ไปทดสอบหลังเรียนกับนักเรียน แล้วนำไปวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ
9) นำแบบทดสอบรายจุดประสงค์ เรื่อง แรงเสียดทาน ในปีการศึกษา 2557 มาทดสอบกับนักเรียนที่เรียน เรื่อง แรงเสียดทาน จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเปรียบเทียบดูว่าจะได้คะแนนต่างจากนักเรียนในปีการศึกษา 2564 หรือไม่ อย่างไร
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพมาตรวจสอบ วิเคราะห์ ตีความ และสรุป เพื่อประเมินสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นว่าสิ่งที่ปฏิบัติมีความเหมาะสมเพียงใด มีปัญหา อุปสรรคเกิดขึ้นหรือไม่ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาวิธีการที่จะปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป แล้วรายงานผลในลักษณะการบรรยาย
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
วิเคราะห์ข้อมูลของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการคำนวณโจทย์ทางฟิสิกส์ จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยนำคะแนนที่ได้จากการตรวจแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการวิจัย
การศึกษา เรื่อง การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการคำนวณโจทย์ทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 13 คน โดยทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงเสียดทาน เป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ รวม 40 คะแนน และวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อสอบโดยใช้ค่าสถิต
ผลการใช้การเรียนรู้แบบฝึกหัดและแบบฝึกทักษะ เรื่อง การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการคำนวณโจทย์ทางฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้การเรียนรู้แบบฝึก
พบว่าหลังใช้การเรียนรู้แบบฝึก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 13 คน มีคะแนนเฉลี่ย 31.85 คิดเป็นร้อยละ 79.63 โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.08 พบว่าหลังใช้การเรียนรู้แบบฝึก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้
สรุปผล
การวิจัย เรื่อง การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการคำนวณโจทย์ ทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 สรุปผลการวิจัยดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงเสียดทาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 หลังจากการจัดการเรียนรู้นั้นสูงกว่าก่อนเรียน และตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือผลการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนเท่ากับ 31.85 คิดเป็นร้อยละ 79.63 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน เท่ากับ 13.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 32.67
ข้อเสนอแนะ
1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักเรียนได้เป็นผู้ลงมือฝึกหัดเอง มีส่วนร่วมในการทำด้วยตนเอง เพื่อทำให้นักเรียนได้เกิดทักษะกระบวนการต่างๆ
2) ควรมีการชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจถึงบทบาทและพฤติกรรมของตนเองในการเรียนการสอนก่อนการดำเนินการ
3) ครูควรสนับสนุนและให้คำแนะนำแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนฝึกฝนการค้นคว้าหาความรู้ เป็นการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
4) ครูควรกำหนดเวลา และแบ่งเวลาในการทำแบบฝึก แต่ละครั้งให้เหมาะสม เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อนักเรียนมากที่สุด
5) การสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความเป็นกันเองนั้น สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1) ผู้วิจัยได้พัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียน และได้นำไปปฏิบัติใช้จริงในการปฏิบัติงานสอน
2) ครูผู้ร่วมวิจัยได้รับความรู้เกี่ยวกับ การนำหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาใช้ในการพัฒนา
การเรียนการสอน
3) ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น จากกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4) เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์และวิชาอื่นๆ ต่อไป