Advertisement
Advertisement
เส้นทางสายไหมเป็นช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วย
เส้นทางสายไหมที่ผู้คนกล่าวถึงบ่อยๆนั้นหมายถึงเส้นทางบกที่ จางเชียนในสมัยซีฮั่นของจีนสร้างขึ้น เริ่มต้นจากเมืองฉางอาน ทางทิศตะวันออกจนถึงกรุงโรม ทางทิศตะวันตก เส้นทางบกสายนี้มีเส้นทางแย กสาขาเป็นสองสายไปทางทิศใต้และทางทิศเหนือ เส้นทางทิศใต้จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกทางด่านหยางกวน ผ่านภูเขาคุนหลุนและเทือกเขาชงหลิ่น ไปถึงต้าเย่ซื่อ(แถวซินเจียงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) อันซิ( อิหร่านในปัจจุบัน) เถียวซื่อ(คาบสมุทรอาหรับปัจจุบัน)ซี่งอยู่ทางตะวันตก สุดท้ายไปถึงอาณาจักรโรมัน ส่วนเส้นทางทิศเหนือจากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกด่านอวี้เหมินกวน ผ่านเทือกเขาด้านใต้ของภูเขาเทียนซานและเทือกเขาชงหลิ่น ผ่านต้าหว่าน คางจวี (อยู่ในเขตเอเซียกลางของรัสเซีย) แล้วไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ สุดท้ายรวมกันกับเส้นทางทิศใต้ เส้นทางสองสายนี้เรียกว่า“เส้นทางสายไหมทางบก”
นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางสายไหมอีกสองสายซึ่งน้อยคนจะทราบ สายหนึ่งคือ“เส้นทางสายไหมทิศตะวันตกเฉียงใต้” เริ่มจากมณฑลเสฉวนผ่านมณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดี จนถึงจังหวัดหม่องกงในภาคเหนือของพม่า ผ่านแม่น้ำชินด์วิน ไปถึงมอพาร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ต่อจากนั้น เลียบแม่น้ำคงคาไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน เส้นทางสายไหมสายนี้มีประวัติยาวนานกว่าเส้นทางสายไหมทางบก เมื่อปี1986 นักโบราณคดีได้พบซากอารยธรรมซานซิงตุยที่เมืองกว่างฮั่น มณฑลเสฉวน ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณสามพันกว่าปี ได้ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเซียตะวันตกและกรีซ ในจำนวนนั้น มีไม้เท้าทองที่ยาว142เซ็นติเมตร “ต้นไม้วิเศษ”ที่สูงประมาณสี่เมตรและรูปปั้นคนทองแดง หัวทองแดงและหน้ากากทองแดงเป็นต้นที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กต่างๆกัน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจะถูกนำเข้ามาในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ถ้าความคิดเห็นประการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เส้นทางสายไหมสายนี้ก็มีอยู่แล้วตั้งแต่กว่าสามพันปีก่อน
เส้นทางสายไหมอีกสายหนึ่งคือ นั่งเรือจากนครกวางเจาผ่านช่องแคบหม่านล่าเจีย(ช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน) ไปถึงลังกา (ศรีลังกาในปัจจุบัน) อินเดียและอัฟริกาตะวันออก เส้นทางเส้นนี้ได้ชื่อว่า“เส้นทางสายไหมทางทะเล” วัตถุโบราณจากโซมาลีที่อัฟริกาตะวันออกเป็นต้นยืนยันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล”สายนี้ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน
“เส้นทางสายไหมทางทะเล”ได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น“เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก” เอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โค โปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน“เส้นทางสายไหมทางทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้เหมือนกัน
ที่มา http://blog.spu.ac.th/Kratay/2008/12/02/entry-2
Advertisement
|
เปิดอ่าน 18,069 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,789 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,740 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,454 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,492 ครั้ง |
เปิดอ่าน 228,891 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,596 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,694 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,806 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,024 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,448 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,391 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,110 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,458 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,357 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 58,161 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 46,559 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 83,219 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 29,017 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,118 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 17,559 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 53,879 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 73,049 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,614 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 32,368 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,784 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 17,900 ครั้ง |
|
|