ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
ผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

ผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

The project evaluation on the development of Internal Education Quality Assurance System of Ban Pongyaengnai School.

สงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว

โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สพป.ชม.2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มศึกษาเป็นครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความเหมาะสมในแต่ละด้าน และเครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าด้านบริบทของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.60) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.49) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.72) ด้านผลผลิตของโครงการพบว่า ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.78) ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x̄= 4.72) และ (x̄= 4.53) ตามลำดับ

คำสำคัญ: 1) การประเมินโครงการ 2) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 4) โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

บทนำ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบ

การประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในมาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก และในมาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ ฯลฯ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 เพื่อให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้ และสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีการประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน ว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงาน ที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปีและเพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา, 2561) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงประกาศ แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 โดยกำหนดให้ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนา และเพื่อเป็นกลไกในการควบคุมตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2561)

ดังนั้นสถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการบริหารจัดการ และการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงในในฐานะหน่วยงานที่จัดการศึกษาและรับผิดชอบ ในการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะและสอดคล้องกับสภาพบริบท ภูมิสังคม ความจำเป็นต้องการ ความหลากหลายเชิงเศรษฐกิจ พหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ โดยจัดทำโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนสำคัญได้แก่ 1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา 2) การกำหนดรูปแบบและคู่มือเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

3) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

5) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6) การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 7) การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาสอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียนและเพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษาเกิดประโยชน์สูงสุดและบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

อันเป็นหลักประกันด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และ

มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งการสร้างและพัฒนาระบบประกันภายในของสถานศึกษาที่เข้มแข็ง จะสามารถรองรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์กรมหาชน (สมศ.) การประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด และการประเมินอื่น ๆ ให้ผ่านเกณฑ์ตาม

มาตรฐานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาแล้วทางโรงเรียนจึงได้ประเมินและศึกษาผลการประเมินโครงการ ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศ และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่ได้มาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อปรับปรุง พัฒนาโครงการ ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้

1. เพื่อศึกษาผลการประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

2. เพื่อศึกษาผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

3. เพื่อศึกษาผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

4. เพื่อศึกษาผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

วิธีการดำเนินการวิจัย

ประชากร ที่ใช้เป็นกลุ่มศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 305 คน

ตัวแปร

ตัวแปรต้น ได้แก่ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน

บ้านโป่งแยงใน

ตัวแปรตาม ได้แก่ คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

ขอบเขตของการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยได้กำหนดขอบเขต

ของการประเมิน ดังนี้

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

ในการศึกษาประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการประเมิน (CIPP Model) มาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งการประเมินเป็น

4 ด้าน ได้แก่

1.1 ด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ประกอบด้วยความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้อง ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภารกิจหลักของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน และสภาพบริบท ความต้องการของนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น

1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้าของโครงการ ได้แก่ ความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ สื่อวัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

1.3 ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียน

บ้านโป่งแยงใน ได้แก่ กระบวนการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

1.4 ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงในประกอบด้วย

1.4.1 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน

1.4.2 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

2. ขอบเขตด้านเวลา

ระยะเวลาการดำเนินงานและการประเมินโครงการอยู่ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 – 30 เมษายน 2564

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมินผลโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เพื่อให้ได้ผลการประเมินครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model

(Stufflebeam, 1971) โดยได้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

ในการประเมิน ด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

1.1 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา เป็นครูผู้สอน จำนวน 12 คน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2562

1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ

ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้อง

ของโครงการลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ

2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทาง

ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)

1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านบริบทก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูล

จากกลุ่มศึกษา จำนวน 12 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100

1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ

ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

ในการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

2.1 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา เป็นครูที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน

บ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563

2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ

ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอในปัจจัยนำเข้าของโครงการ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ

2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)

2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา จำนวน 5 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100

2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ

ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

ในการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

3.1 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา เป็นครูผู้สอน จำนวน 12 คน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

ปีการศึกษา 2563

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ

ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ

2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทาง

ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)

3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน ก่อนปิดภาคเรียนที่ 2/2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา จำนวน 12 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100

3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ

ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

ในการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 4.1 การประเมินความสอดคล้องของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับสภาพบริบทของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

4.1.1 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 19 คน

4.1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ

ตอนที่ 2 ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา กับสภาพบริบทของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน

35 ข้อ

2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)

4.1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านผลผลิต สิ้นปีการศึกษา 2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา จำนวน 19 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100

4.1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ

ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

ตอนที่ 4.2 การประเมินประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งแยงแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

4.2.1 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษาประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 305 คน

4.2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่เครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 เครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย จำนวน 3 มาตรฐาน 14 ตัวชี้วัด ลักษณะของแบบประเมินเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

ตอนที่ 2 เครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 มาตรฐาน 27 ตัวชี้วัด ลักษณะของแบบประเมินเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกำหนดเกณฑ์และรายการประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหา และวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)

4.2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านผลผลิตสิ้นปีการศึกษา2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 305 คน

4.2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ

ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) และพิจารณาตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Assessment) โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence Based)

สรุปผลการวิจัย

การศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สรุปผลได้ ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

ภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า บริบทของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x̄= 4.60) โดยลำดับสูงสุดคือ ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (x̄= 4.63 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความจำเป็นของโครงการ (x̄= 4.62) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ

(x̄= 4.55) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงในพบว่า ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

(x̄= 4.49) โดยลำดับสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการ (x̄= 4.60) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร (x̄= 4.56) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านวัสดุครุภัณฑ์ (x̄= 4.52) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ด้านงบประมาณ (x̄= 4.28) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสม

อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.72) โดยลำดับสูงสุด มีจำนวน 4 รายการ คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการ การกำหนดระยะเวลาดำเนินกิจกรรมในโครงการ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และผู้บริหารสถานศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ (x̄= 5.00) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา จำนวน 2 รายการ คือ การประชุมวางแผนก่อนการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการบริหารและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ (x̄= 4.92) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมา จำนวน 3 รายการ คือ การประชุม นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมในโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกิจกรรมในโครงการ ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการ (x̄= 4.83) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมา จำนวน 5 รายการคือ ความชัดเจนของแผนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม กระบวนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การประสานงานการดำเนินกิจกรรมของแต่ละฝ่าย ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีการพัฒนาและปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การดำเนินกิจกรรมในโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด (x̄= 4.42) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ความราบรื่นของการดำเนินกิจกรรมในโครงการ

(x̄= 4.33) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้

4.1 ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.78) โดยลำดับสูงสุดคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา (x̄= 4.92) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (x̄= 4.88) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมาคือ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (x̄= 4.85)

มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (x̄= 4.83) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การกำหนดรูปแบบและคู่มือเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (x̄= 4.73) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (x̄= 4.68) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

ส่วนลำดับต่ำสุดคือ การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (x̄= 4.59)

มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

4.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

4.2.1 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย

ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x̄= 4.72) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็กระดับปฐมวัย (x̄= 5.00) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ (x̄= 4.67) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ส่วนลำดับต่ำสุดคือ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (x̄= 4.50)

มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม

4.2.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x̄= 4.53) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมของทีมองค์กรและเครือข่ายการศึกษา (x̄= 5.00) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 4 การจัดและพัฒนาสภาพแวดล้อม และสื่อเพื่อการเรียนรู้ (x̄= 4.75) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ลำดับต่อมาคือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ (x̄= 4.60) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ลำดับต่อมาคือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน (x̄= 4.30) มีระดับคุณภาพในระดับดีเลิศ ส่วนลำดับต่ำสุดคือ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (x̄= 4.00) มีระดับคุณภาพในระดับดีเลิศ

อภิปรายผลการวิจัย

จากสรุปผลการประเมิน พัฒนา โครงการพัฒนา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน มีประเด็นสำคัญที่นำมาอภิปรายผลได้ดังนี้

1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ผลการประเมินพบว่าด้านบริบทของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x̄= 4.60) โดยลำดับสูงสุดคือ ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (x̄= 4.63 ) รองลงมาคือ ความจำเป็นของโครงการ (x̄= 4.62 ) และความเป็นไปได้ของโครงการ (x̄= 4.55 ) ทั้งนี้เป็นเพราะว่า โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียน โดยใช้หลักการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นำสู่การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ มีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ โดยวางแผนจัดทำโครงการที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่เหมาะสมชัดเจน มีกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียน ระยะเวลาในการดำเนินงานมีความเหมาะสม มีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลได้ตามวัตถุประสงค์ มีองค์ประกอบและรายละเอียดที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้ และการกำหนดโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด

เพื่อพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สอดคล้องกับ ประกาศเรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ที่ได้กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยสะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2561)

2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ผลการประเมินพบว่าด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.49) โดยลำดับสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการ (x̄= 4.60) รองลงมาคือ ด้านบุคลากร (x̄= 4.56) และด้านวัสดุครุภัณฑ์ (x̄= 4.52) ทั้ง 3 ด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้บริหารสถานศึกษา มีการบริหารจัดการและดำเนินงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้หลักการมีส่วนร่วม ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน มอบหมายงานให้มีผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสม ได้รับมอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ รับทราบและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับ ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียน

วัดห้วยม้าโก้ง ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น โดยปียานันต์ บุญธิมา ที่พบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีความสำคัญในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของบุคลากรครูในการร่วมคิดร่วมดำเนินการในการกำหนด

ค่าเป้าหมาย มาตรฐานการศึกษา การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และผู้บริหารมีส่วนร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามผลการดำเนินงาน ในทุกขั้นตอนของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (ปียานันต์ บุญธิมา, 2561)

3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ผลการประเมินพบว่าด้านด้านกระบวนการดำเนิน ของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.72) โดยลำดับสูงสุด มีจำนวน 4 รายการ คือ ให้ข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด(x̄= 5.00) รองลงมาจำนวน 2 รายการ คือ การประชุมวางแผนก่อนการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการบริหารและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.92) ลำดับถัดมา จำนวน 3 รายการ คือ การประชุม นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมในโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกิจกรรมในโครงการ และ

ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.83) ลำดับถัดมา จำนวน 5 รายการคือ ความชัดเจนของแผนการการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการ การกำหนดระยะเวลาดำเนินกิจกรรมในโครงการ การมีส่วนร่วมของบุคลากร ในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และผู้บริหารสถานศึกษาสามารถดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม กระบวนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การประสานงานการดำเนินกิจกรรมของแต่ละฝ่าย ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีการพัฒนาและปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การดำเนินกิจกรรมในโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.42) ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ

ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมมือกันขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ โดยกระบวนการ พัฒนาคุณภาพด้วยวงจรคุณภาพแบบ PDCA สอดคล้องกับธนพัฒน์ อภัยโส และคณะ ที่ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกระบวนการ PDCA ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกระบวนการ PDCA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 (ธนพัฒน์ อภัยโส และคณะ, 2558) และสอดคล้องกับผลการศึกษารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ กิตติ์ดนัย แจ้งแสงทอง และคณะ ที่ใช้รูปแบบการบริหาร 5 ขั้นตอน ภายใต้ชื่อ “E – PDCA” โดย E ได้แก่ การให้ความรู้ โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการประกันคุณภาพภายในให้กับคณะครู พบว่า การบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานและมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการสนับสนุน ผลักดันความสำเร็จในการดำเนินงาน และช่วยกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก และยังช่วยให้ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของผลงานนั้นอีกด้วย (กิตติ์ดนัย แจ้งแสงทอง และคณะ, 2564) ส่วนลำดับต่ำสุดของผลการประเมินได้แก่ ความราบรื่นของการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.33) ทั้งนี้เป็นเพราะ ระยะเวลาในการดำเนินงานอยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงส่งผลให้กระบวนการทำงานไม่ราบรื่นดังกล่าว

4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้

4.1 การประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.78) โดยลำดับสูงสุดคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา(x̄= 4.92) รองลงมาคือ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (x̄= 4.88) ลำดับถัดมาคือ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การกำหนดรูปแบบและคู่มือเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ ทั้งนี้ เป็นเพราะ โรงเรียนได้ออกแบบและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพบริบท ของโรงเรียน สอดคล้องกับกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ที่กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรการรักษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา จัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2561) และสัมพันธ์กับผลการศึกษา ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสกลนคร ของ ปราการ ช่วยรักษา พี่พบว่า ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียน ประกอบด้วยตัวแปรที่สัมพันธ์กันที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบได้แก่ ได้แก่ 1) ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

2)กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 3) แนวทางการดำเนินงานพัฒนาสถานศึกษาทั้ง 8 ด้าน ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจนถึงด้านการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (ปราการ ช่วยรักษา, 2560)

4.2 การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ระดับการศึกษาดังนี้

4.2.1 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย

ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x̄= 4.72) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานด้านคุณภาพของเด็กระดับปฐมวัย (x̄= 5.00) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม รองลงมาคือ มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ (x̄= 4.67) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (x̄= 4.50) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ทั้งนี้ เป็นเพราะโรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเป็นระดับชั้นที่ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กนักเรียนในทุกๆด้าน ครูร่วมกันพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานคุณภาพเด็ก

ได้มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการ ในทุกด้านได้แก่ด้านร่างกายด้านอารมณ์ด้านสังคมและด้านสติปัญญา และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพตามขั้นตอนองค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยได้กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูผู้สอน ในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ไว้ในคู่มือการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 กำหนดบทบาทให้ครูมีหน้าที่ในการร่วมขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในโดยการมีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานสถานศึกษากำหนดเป้าหมายความสำเร็จจัดทำคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพตามประธานของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากำกับติดตาม ตรวจสอบประเมินรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการตามแผน ประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานและจัดทำรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา เสนอต่อหน่วยงานสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน, 2563) และสอดคล้องกับ สำนักทดสอบทางการศึกษา ที่ได้กำหนดแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยฯ โดยมีเป้าหมายให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ให้สถานศึกษาพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบเราสู่สถานศึกษา มีทักษะในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการเด็กใช้ประสบการณ์สำคัญในการออกแบบการจัดกิจกรรมมีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล

มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและครอบครัว ซึ่งส่งผลต่อ คุณภาพมาตรฐานการศึกษา ของโรงเรียนบ้านโป่งแยงในดังกล่าว (สำนักทดสอบ

ทางการศึกษา, 2561)

4.2.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x̄= 4.53) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานด้านการมีส่วนร่วมของทีมองค์กรและเครือข่ายการศึกษา (x̄= 5.00) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม รองลงมาคือ มาตรฐานด้านการจัดและพัฒนาสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ (x̄= 4.75) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ลำดับต่อมาคือ มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ (x̄= 4.60) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ลำดับต่อมาคือ มาตรฐานด้านคุณภาพของผู้เรียน (x̄= 4.30)

มีระดับคุณภาพในระดับดีเลิศ ส่วนลำดับต่ำสุดคือ มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (x̄= 4.00) มีระดับคุณภาพในระดับดีเลิศ ทั้งนี้เป็นเพราะโรงเรียน มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการดำเนินงาน พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ กำหนดมาตรฐานการศึกษาเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ได้แก่มาตรฐานด้านการมีส่วนร่วมของทีมองค์กรและเครือข่ายการศึกษา และมาตรฐานด้านการจัดและพัฒนาสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม 2 ลำดับแรก ซึ่งผลการพัฒนาและกระบวนการพัฒนาดังกล่าวสอดคล้องกับกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี (ราชกิจจานุเบกษา, 2561)

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับผลการใช้รูปแบบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. ควรมีการประเมินโครงการการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

อย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา

3. ควรมีการนำผลการศึกษาไปใช้ปรับปรุงพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

4. ควรปรับรูปแบบการบริหารงาน การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในตามสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือสถานการณ์ใกล้เคียง เพื่อให้

การบริหารเกิดความราบรื่นและบรรลุตามเป้าหมาย

เอกสารอ้างอิง

กิตติ์ดนัย แจ้งแสงทอง และคณะ. รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6,5 (พฤษภาคม 2564): 302-317.

ธนพัฒน์ อภัยโส และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกระบวนการ PDCA ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5,2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2558) : 41-51.

ปียานันต์ บุญธิมา. การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนวัดห้วยม้าโก้ง ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น. งานวิจัยที่ได้รับการทุนสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561, 2561.

ปราการ ช่วยรักษา. ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 3, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560). 32-41.

ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก

(23 กุมภาพันธ์ 2561), 2561.

โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน. คู่มือการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียน

บ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563. เชียงใหม่: โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน, 2563.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวาน กราฟฟิคจำกัด, 2545.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพทางการศึกษา พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพฯ : หจก. เอ็น.เอ. รัตนะเทรดดิ้ง, 2563.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ.พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2561.

Stufflebeam,Daniel L. Eduction Evaluation and Decision Making. Itasca,Illinois: F.E.Peacock PublishersIn, 1971.

โพสต์โดย สงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว : [8 มี.ค. 2565 เวลา 17:02 น.]
อ่าน [1563] ไอพี : 223.206.214.140
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 21,297 ครั้ง
อ่านหนังสือแล้วง่วง ทำไงดี มาทางนี้ซิ เรามีคำตอบ
อ่านหนังสือแล้วง่วง ทำไงดี มาทางนี้ซิ เรามีคำตอบ

เปิดอ่าน 26,829 ครั้ง
เครดิตบูโร (Credit Bureau) คืออะไร?
เครดิตบูโร (Credit Bureau) คืออะไร?

เปิดอ่าน 12,833 ครั้ง
สมองเสื่อมหรือ... ขี้ลืมธรรมดาๆ
สมองเสื่อมหรือ... ขี้ลืมธรรมดาๆ

เปิดอ่าน 9,385 ครั้ง
พบยาป้องกันหัวใจวาย เกล็ดเลือดเป็นตัวการของเลือดอุดตัน
พบยาป้องกันหัวใจวาย เกล็ดเลือดเป็นตัวการของเลือดอุดตัน

เปิดอ่าน 30,798 ครั้ง
อาหรับ มาจากไหน?
อาหรับ มาจากไหน?

เปิดอ่าน 30,787 ครั้ง
ผักบำรุงสมอง
ผักบำรุงสมอง

เปิดอ่าน 12,934 ครั้ง
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562

เปิดอ่าน 15,517 ครั้ง
"เก้าอี้เปลี่ยนโลก" ฝีมือเยาวชน PTTEP Teenergy ช่วยลดปัญหาโลกร้อนง่ายๆ ด้วยตัวเอง
"เก้าอี้เปลี่ยนโลก" ฝีมือเยาวชน PTTEP Teenergy ช่วยลดปัญหาโลกร้อนง่ายๆ ด้วยตัวเอง

เปิดอ่าน 51,314 ครั้ง
กบข.เผยขั้นตอนการบันทึกไฟล์ e-Statement เพื่อยื่นภาษีอากรออนไลน์
กบข.เผยขั้นตอนการบันทึกไฟล์ e-Statement เพื่อยื่นภาษีอากรออนไลน์

เปิดอ่าน 14,315 ครั้ง
ปลา...สินสมุทร สรวงฟ้า ของเล่นใหม่ นักเลี้ยงปลาตู้
ปลา...สินสมุทร สรวงฟ้า ของเล่นใหม่ นักเลี้ยงปลาตู้

เปิดอ่าน 12,524 ครั้ง
7 ขั้นตอนก้าวเปลี่ยนชีวิตสู่ความสำเร็จในอาชีพการงาน
7 ขั้นตอนก้าวเปลี่ยนชีวิตสู่ความสำเร็จในอาชีพการงาน

เปิดอ่าน 7,836 ครั้ง
9 เคล็ดกับการใช้เงิน สำหรับคนอายุเริ่มต้นด้วยเลข 2
9 เคล็ดกับการใช้เงิน สำหรับคนอายุเริ่มต้นด้วยเลข 2

เปิดอ่าน 12,740 ครั้ง
"เดอะ ฮ็อบบิท" กับทฤษฎีวิวัฒนาการมนุษย์
"เดอะ ฮ็อบบิท" กับทฤษฎีวิวัฒนาการมนุษย์

เปิดอ่าน 11,557 ครั้ง
สาวยูเครน 19 คลั่งอนิเมะ แปลงตัวเองเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น
สาวยูเครน 19 คลั่งอนิเมะ แปลงตัวเองเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น

เปิดอ่าน 9,565 ครั้ง
Animator vs Animation ภาค 4 กลับมาแล้ว สุดยอดมาก ชมคลิปกันเลย
Animator vs Animation ภาค 4 กลับมาแล้ว สุดยอดมาก ชมคลิปกันเลย

เปิดอ่าน 9,084 ครั้ง
ฮิตทะลุโลก เผยยอดผู้ใช้เฟซบุ๊คมีจำนวนกว่าครึงพันล้านคน ใหญ่เท่ากับปท.อันดับสามของโลก
ฮิตทะลุโลก เผยยอดผู้ใช้เฟซบุ๊คมีจำนวนกว่าครึงพันล้านคน ใหญ่เท่ากับปท.อันดับสามของโลก
เปิดอ่าน 11,744 ครั้ง
ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ฮีโร่เหรียญทองปักกิ่งเกมส์
ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ฮีโร่เหรียญทองปักกิ่งเกมส์
เปิดอ่าน 17,676 ครั้ง
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project
เปิดอ่าน 13,715 ครั้ง
สายตาเอียง
สายตาเอียง
เปิดอ่าน 29,936 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลธรรมดา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ