ผู้วิจัย ศรีเรือน นารีเลิศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน 185 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสตรีทุ่งสง
ผู้วิจัยได้กำหนดรายละเอียดวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิจัย (R1 : Research) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (D1 : Development) : การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบ ขั้นตอนที่ 3 วิจัย (R2 : Research) : การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบ ขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (D2 : Development) : การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล ในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 12 แผน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามที่ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบสัมภาษณ์เป็นการถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ และสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D) การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เห็นความสำคัญต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผลการวิเคราะห์หลักสูตรโรงเรียนสตรีทุ่งสง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหา เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ ใช้เวลา 26 ชั่วโมง (รวมการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน) ประกอบด้วยเนื้อหา บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภาษี การแทรกแซงราคา นโยบายการเงินการคลัง ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด ปัญหาการว่างงาน การค้าระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และใช้การจัดการเรียนรู้แบบแบบร่วมมือขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นเตรียมเรียนรู้ (Preparing to learn) ขั้นเรียนรู้สิ่งใหม่ (Learn something new) ขั้นคิดและคุยกัน (Think Pairs Share) ขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking and problem solving) ขั้นการแสดงผลงาน (Show the work) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ (The application of knowledge)
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ผลการการเรียนระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.20 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.67 แสดงว่าประสิทธิภาพ 85.20/84.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสตรีทุ่งสง ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 26 ชั่วโมง (รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน) จำนวน 12 แผนการเรียนรู้ พบว่า ผลการการเรียนระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.33 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.00คะแนน แสดงว่าประสิทธิภาพ 85.33/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก ("X" ̅ = 4.66, S.D = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับระดับความพึงพอใจ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับดีมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ("X" ̅ = 4.69, S.D = 0.35) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ("X" ̅ = 4.69, S.D = 0.34) ด้านการวัดและประเมินผล ("X" ̅ = 4.68, S.D = 0.31) และด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ("X" ̅ = 4.59, S.D = 0.41) และความคิดเห็นนักเรียน ชอบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบที่สามารถทำกิจกรรมในระบบกลุ่มได้มากขึ้น เข้าใจง่าย สวยน่าสนใจด้วย บรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนาน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน