ชื่อผลงาน รายงานประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนบ้านบึงลัด
ผู้ประเมิน จารุวรรณ วงศ์มหัทธนะ
ปีประเมิน 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนบ้านบึงลัด ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมาย โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรม โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด เกี่ยวกับกระบวนการวางแผน การดำเนินการ และการนิเทศติดตาม และประเมินผล โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด เกี่ยวกับ 4.1) ความรู้ ความเข้าใจ ถึงความปลอดภัยภายในและภายนอกลถานศึกษาของครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านบึงลัด 4.2) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด 4.3) ความพึงพอใจของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนบ้านบึงลัด กลุ่มตัวชี้วัด ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 123 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน เลือกเฉพาะครูผู้สอน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 37 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 73 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Excell ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท พบว่า การดำเนินการโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.00 4.77 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 1 แนวคิดของโครงการมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของโรงเรียน และข้อ 12 ความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ( = 4.77, S.D. = .42) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 13 วัตถุประสงค์ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัย มีความสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ( = 4.00, S.D. = .78)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า การดำเนินการโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = .54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.92 4.92 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 14 แนวคิดของโครงการมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของโรงเรียน กิจกรรมคิดสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ( = 4.92, S.D. = .27) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 10 นำงบประมาณไปใช้ได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ( = 3.92, S.D. = .47)
3. ด้านกระบวนการ พบว่า การดำเนินการโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = .61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.92 4.85 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 1 มีการวางแผนนโยบายของโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการด้านความปลอดภัยของโรงเรียน และ ข้อ 11 การจัดกิจกรรมของโครงการ มีความหลากหลาย และน่าสนใจ ( = 4.85, S.D. = .36) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 7 มีการดำเนินงานโครงการตามแผนงาน ขั้นตอน และระยะเวลา ( = 3.92, S.D. = .62)
4. ด้านผลผลิต
4.1 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.44, S.D. = .53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.95 4.93 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 16 จัดกิจกรรมเสริมทักษะประสบการณ์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ซักซ้อมดับเพลิง อบรมนักเรียนจมน้ำ เป็นต้น ( = 4.93, S.D. = .33) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 4 เสริมทักษะและการประสานงานในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทีม กู้ชีพ กู้ภัย ( = 3.95, S.D. = .81)
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.44, S.D. = .53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.95 4.93 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 16 จัดกิจกรรมเสริมทักษะประสบการณ์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ซักซ้อมดับเพลิง อบรมนักเรียนจมน้ำ เป็นต้น ( = 4.93, S.D. = .33) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 4 เสริมทักษะและการประสานงานในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทีม กู้ชีพ กู้ภัย ( = 3.95, S.D. = .81)
4.3 ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.92 4.85 ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 12 จัดทำแนวทางการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในโรงเรียน ( = 4.85, S.D. = .36) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 11 ขยะโดยยึดหลัก 3 R ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ( = 3.92, S.D. = .62)
5. ผลการประเมินตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้าน พบว่า การดำเนินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนบ้านบึงลัด ตามตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ตัวชี้วัดด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.57, S.D. = .54) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ตัวชี้วัดด้านบริบท ( = 4.52, S.D. = .70) และเมื่อพิจารณาการประเมินทั้ง 4 ด้าน ทั้ง 13 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมดภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = .58 )