Advertisement
ในโลกแห่งการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลสำคัญต่อการผลักดันทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถสร้างขีดความสามารถและศักยภาพตั้งแต่วัยเด็กคือ "ครู" ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบ่มเพาะที่สำคัญ
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ และต่อยอดจนนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าและยั่งยืน บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด จึงได้จัดงาน "เวิลด์ไดแด็ค เอเชีย 2013" โดยเปิดโอกาสให้ครู, อาจารย์,
ผู้บริหารการศึกษา, นักวิชาการ และผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในวงเสวนาต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการศึกษาของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่ก้าวผ่านมาประชิดตัวมากขึ้น บทบาทของ "ครู" จึงต้องปรับเปลี่ยนกลไกทางการศึกษาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับการสร้างฐานความรู้ใหม่เพื่อเดินหน้าสู่การเปิดกว้างทางการเรียนรู้ข้ามพรมแดน
ตรงนี้ถือเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งของการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งเรื่องนี้ "ศ.ตัน อุน เซง"
คณบดีคณะครุศาสตร์ สถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (NIE) ชี้แนวทางที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาครูให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกับนานาประเทศ ภายใต้การปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "การศึกษาข้ามพรมแดนของภูมิภาคอาเซียน : โอกาสและความท้าทายของประชาคมอาเซียน" ว่า
"ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าการศึกษาเป็นเสมือนการลงทุนทางความรู้ในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อศักยภาพของประชากรในการเชื่อมโยงไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศของตนเอง ฉะนั้นในฐานะครูผู้มีบทบาทสำคัญทางการศึกษา จะต้องให้ความสำคัญต่อการมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ภายใต้บริบทที่หลากหลายในภูมิภาคอาเซียน"
โดยโจทย์ของครูอาเซียนในวันนี้คือ จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนมุ่งสู่คุณภาพแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างมีมาตรฐาน ซึ่งผมขอเสนอ 3 แนวทาง ประกอบด้วย
"หนึ่ง การบูรณาการระหว่างครูในอาเซียน โดยผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดให้กับประเทศของตนเองอย่างมีมาตรฐานในระดับอาเซียน ซึ่งการร่วมมือที่เกิดขึ้นจะช่วยขจัดปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีมาตรฐาน ให้พร้อมสู่การปฏิรูปการศึกษาใหม่อย่างมีคุณภาพเทียบเท่าในระดับสากล"
"เช่นเดียวกับการเตรียมครูให้มีคุณภาพ ซึ่งครูที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 จะต้องมีความสามารถในการเตรียมหลักสูตรที่ผสมผสานให้กับผู้เรียนในอาเซียนอย่างเหมะสม เพราะแน่นอนว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
เมื่อเรามีประชากรทางการศึกษาที่หลากหลายทั้งวัฒนธรรม เชื้อชาติ และภาษา ฉะนั้นสิ่งนี้คือส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในอาเซียน"
"สอง การลงทุนเพื่อการศึกษาในระดับประเทศ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งครู, นักวิจัย, สถาบันการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องจับมือร่วมกันสร้างแนวคิดในการกำหนดนโยบายและรูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีและความต่างทางเชื้อชาติในสังคมให้ได้ผลสัมฤทธิ์จนเกิดเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด ตรงนี้คือปัจจัยสำคัญเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันต่อไป"
"สาม ครูจะต้องสวมบทบาทสำคัญในสถาบัน โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่รู้ที่เน้นสมรรถนะและทักษะเพื่อเสริมสร้างพื้นฐานทางการศึกษา ขณะเดียวกันครูจะต้องเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ
ด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องการปรับเปลี่ยนหลักสูตรหรือบทเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ของผู้เรียนตลอดเวลา ทั้งหมดนี้คือการสร้างอัตลักษณ์เชิงบวกให้กับครูอย่างแท้จริง"
เมื่อทั้ง 3 แนวทางประกอบเข้าด้วยกัน "ศ.ตัน อุน เซง" บอกว่า จะทำให้เราเห็นภาพใหม่ของ "ครู" ที่สามารถออกแบบการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของผู้เรียนอย่างแท้จริง
"จนทำให้ผู้เรียนมีกรอบแนวความคิดที่แตกต่างและกว้างขึ้น ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานทางความคิดเพื่อนำไปต่อยอดสู่การปฏิบัติ และสิ่งที่จะทำให้วิธีการนี้เกิดผล
อย่างเป็นรูปธรรม เราจะต้องกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลของผู้เรียนและครูไปพร้อม ๆ กัน เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรให้ดีขึ้นต่อไป"
ทั้งหมดนี้คือมิติใหม่ของ "ครู" ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนทั้งอาเซียนวาดภาพฝันไว้
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
Advertisement
 เปิดอ่าน 10,344 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,990 ครั้ง  เปิดอ่าน 12,460 ครั้ง  เปิดอ่าน 28,656 ครั้ง  เปิดอ่าน 21,338 ครั้ง  เปิดอ่าน 6,351 ครั้ง  เปิดอ่าน 11,898 ครั้ง  เปิดอ่าน 9,929 ครั้ง  เปิดอ่าน 41,186 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,293 ครั้ง ![คู่มือสำหรับประชาชน [ทุกกระทรวง] คู่มือสำหรับประชาชน [ทุกกระทรวง]](news_pic/p58820220641.jpg) เปิดอ่าน 10,877 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,147 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,501 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,839 ครั้ง  เปิดอ่าน 29,887 ครั้ง  เปิดอ่าน 9,866 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 20,292 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 68,391 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 26,601 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,250 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 4,410 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 19,181 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 32,328 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 12,346 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,500 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 12,910 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 30,744 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,755 ครั้ง |
|
|