ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการวิจัยการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Model Eliciting Activities (MEAs) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

รายงานการวิจัยการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Model Eliciting Activities (MEAs) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

นายธนเดช กิจศุภไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มจากจำนวน 6 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน โดยใช้รูปแบบ MEAs ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ และข้อสอบปรนัยแบบเติมคำตอบ จำนวน 5 ข้อและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs สูงกว่าเกณฑ์ 60% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs ว่า มีความเหมาะสม

คำสำคัญ: การแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้ แนวคิด MEAs การศึกษายุค 4.0

รายงานการวิจัยการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Model Eliciting Activities (MEAs) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

1. ที่มาและความสำคัญ

จากการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลของประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “ประเทศไทย 4.0” การจัดการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Integration) คิดแก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม การจัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตในการสร้างกระบวนการคิดให้ผู้เรียนเพื่อการแก้ปัญหา ครูในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ยุคปัจจุบัน จึงต้องจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการคิดของผู้เรียน ไม่มุ่งเน้นแต่ผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พุทธศักราช 2553 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) กล่าวถึงคณิตศาสตร์ว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ทำ ให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผนตัดสินใจ แก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม แต่การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียน ที่เป็นเช่นนี้เพราะนักเรียนคิดว่า วิชา คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายขาดความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียน โดยเฉพาะโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์แม้ว่านักเรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระเป็นอย่างดีแต่นักเรียนยังมีปัญหาเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ได้ว่าควรดำเนินการอย่างไรในการแก้ปัญหาไม่สามารถนำความรู้ที่มีอยู่มาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในโจทย์ปัญหาได้ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกันดังที่กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์ (2556) กล่าวไว้ว่า ปัญหาด้านการเรียนรู้มาจากครูจัดการเรียนรู้ตาม เนื้อหาในหลักสูตร ขาดการจัดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและขาดการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนฝึกคิด ซึ่งวิชา คณิตศาสตร์เป็นวิชานามธรรม เข้าใจยาก ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้ครูควรเน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริง เพื่อทำให้นักเรียนเห็นภาพและเข้าใจหลักการทางคณิตศาสตร์ได้มากขึ้นและยังทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกไปกับการเรียน เพราะได้สัมผัสกับ เครื่องมือและอุปกรณ์จริง ซึ่งจะทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายและเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น นอกจากนี้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[สสวท.] (2555) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของครู คณิตศาสตร์ในปัจจุบันว่า นอกจากจะเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในด้านเนื้อหาสาระ ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามแล้ว ครูจะต้องสร้างความตระหนักและทำให้นักเรียนมองเห็นว่าคณิตศาสตร์มีคุณค่าอยู่รอบตัว อยู่ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้ครูจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการถกและอภิปรายเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ซึ่งไม่เพียงแต่ผ่านการสนทนาการอภิปรายเท่านั้น แต่นักเรียนควรจะมีความเข้าใจ และซาบซึ้งในการใช้คณิตศาสตร์ด้วย

จากสาเหตุต่าง ๆ ข้างต้น หากครูต้องการให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนที่สูงขึ้น เกิดทักษะและ กระบวนการในการแก้ปัญหาครูควรปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดและใช้เหตุผล ในการหาคำตอบ ไม่ใช้วิธีการท่องจำหรือบอกนักเรียนในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ซึ่งพบว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Model Eliciting Activities (MEAs) เป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดค้นการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา และหาคำตอบร่วมกันเป็นกลุ่มจากสถานการณ์ปัญหาที่กำหนด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่นักเรียนสามารถพบได้จริงในชีวิตประจำวัน นักเรียนจำเป็นต้องใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา โดยมีกระบวนการคิดในการเชื่อมโยงระหว่างปัญหาในโลกแห่งความจริงสู่การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการของตนเอง เป็นการพัฒนานักเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการคิดตามแนวคิดของ “การศึกษา 4.0” การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MEAs มี 6 ประการ ดังนี้

1. สร้างรูปแบบ เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูได้นำเนินการนั้นจะเป็นไปตามแนวคิด MEAs ที่จำเป็นต้องการให้เกิดกับผู้เรียนในการสร้างกระบวนการการแก้ปัญหา การอธิบายรายละเอียด หรือขั้นตอนการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางคณิตศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ได้สามารถแสดงให้เห็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการตีความสถานการณ์และแสดงให้เห็นชนิดของความสัมพันธ์ในการดำเนินการ และวิธีการที่ผู้เรียนใช้เชื่อมโยงเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์

2. หลักการของความจริง ปัญหาที่ใช้ในการสร้างกระบวนการการแก้ปัญหาจะต้องมีความหมาย มีความเกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนและมีพื้นฐานของความเป็นจริง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าผู้เรียนสามารถแปลความหมายกิจกรรมจากระดับที่แตกต่างกันของตามความสามารถทางคณิตศาสตร์และความรู้ทั่วไปได้

3. หลักการประเมินตนเอง (The Self-Assessment Principle) เป็นการสร้างความมั่นใจแก่ครูและผู้เรียนในเรื่องที่ว่า กิจกรรมการเรียนรู้นั้นมีเกณฑ์ในการประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม ตัวผู้เรียนเองก็สามารถประเมินความสำเร็จในการแก้ปัญหาของตนเองได้และใช้เกณฑ์กำหนดนี้เป็นแนวทางในแก้ไขข้อบกพร่อง ของตนในขณะที่ดำเนินกิจกรรมการการแก้ปัญหาได้

4. หลักการแสดงเอกสาร ผู้เรียนสามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาของตนเองผ่านการเขียนแสดงวิธีทำ แสดงกระบวนการคิดต่างๆ ลงในใบงาน ใบกิจกรรม หรือข้อสอบต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้

5. หลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสามารถและการนำกลับมาใช้ กระบวนการแก้ปัญหาที่ผู้เรียนแสดงกระบวนการคิดต่างๆ ลงในใบงาน ใบกิจกรรม หรือข้อสอบต่าง ๆ ครูจะแนะนำให้ใช้วิธีการที่อยู่ในรูปแบบง่ายๆ รูปทั่วไป หรือง่ายต่อการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่นๆ และสามารถให้ผู้อื่นใช้งานได้ กระบวนการแก้ปัญหาของผู้เรียนควรแสดงวิธีการแบบคนทั่วไปคิด แทนการแก้ปัญหาแบบลัดๆ ที่ใช้เฉพาะเจาะจงสำหรับบางกลุ่มคนเท่านั้น 6. หลักการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ ทบทวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการในการแก้ปัญหามีความเป็นไปได้ การคำนวณไม่มากขั้นตอนและมีนัยสำคัญทางคณิตศาสตร์ ใช้รูปแบบการแก้ปัญหานี้เป็นต้นแบบที่มีประโยชน์หรือเป็นแบบอย่างสำหรับการตีความในสถานการณ์อื่น หรือสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในสถานการณ์ใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการเรียนรู้แบบ MEAs แสดงให้เห็นถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหา วิเคราะห์ วิจารณ์ พิจารณา ประเมิน และนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เรียนไปใช้ประกอบการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่หรือการศึกษาในยุค 4.0

ด้วยเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยได้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยพัฒนาทักษะการ คิดของนักเรียน และปัญหาทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ และการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MEAs เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ใช้พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาของนักเรียน ซึ่งเป็นทักษะที่ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักใช้กระบวนการคิดหาเหตุผลในการแสวงหาคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงทำ ให้ผู้วิจัยสนใจทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน และเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs

2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs

3. วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs ผู้วิจัยได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

3.1. ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

3.2. กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 17 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จากจำนวนทั้งหมด 6 ห้องเรียน และการจัดห้องเรียนแต่ละห้องเป็นแบบคละความสามารถ

4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

4.1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยอาศัยหลักสำคัญ 6 ประการสำหรับการจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด MEAs มีดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความรู้ กระตุ้นความสนใจ : สร้างรูปแบบ เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูได้นำเนินการนั้นจะเป็นไปตามแนวคิด MEAs ที่จำเป็นต้องการให้เกิดกับผู้เรียนในการสร้างกระบวนการการแก้ปัญหา การอธิบายรายละเอียด หรือขั้นตอนการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางคณิตศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ได้สามารถแสดงให้เห็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการตีความสถานการณ์และแสดงให้เห็นชนิดของความสัมพันธ์ในการดำเนินการ และวิธีการที่ผู้เรียนใช้เชื่อมโยงเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ (

ขั้นที่ 2 ตระหนักคิดในการแก้ปัญหา : หลักการของความจริง ปัญหาที่ใช้ในการสร้างกระบวนการการแก้ปัญหาจะต้องมีความหมาย มีความเกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนและมีพื้นฐานของความเป็นจริง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าผู้เรียนสามารถแปลความหมายกิจกรรมจากระดับที่แตกต่างกันของตามความสามารถทางคณิตศาสตร์และความรู้ทั่วไปได้

ขั้นที่ 3 แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ : หลักการประเมินตนเอง (The Self-Assessment Principle) เป็นการสร้างความมั่นใจแก่ครูและผู้เรียนในเรื่องที่ว่า กิจกรรมการเรียนรู้นั้นมีเกณฑ์ในการประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม ตัวผู้เรียนเองก็สามารถประเมินความสำเร็จในการแก้ปัญหาของตนเองได้และใช้เกณฑ์กำหนดนี้เป็นแนวทางในแก้ไขข้อบกพร่อง ของตนในขณะที่ดำเนินกิจกรรมการการแก้ปัญหาได้

ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ : หลักการแสดงเอกสาร ผู้เรียนสามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาของตนเองผ่านการเขียนแสดงวิธีทำ แสดงกระบวนการคิดต่าง ๆ ลงในใบงาน ใบกิจกรรม หรือข้อสอบต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้

ขั้นที่ 5 ประเมินผลเพื่อพัฒนา : หลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสามารถและการนำกลับมาใช้ กระบวนการแก้ปัญหาที่ผู้เรียนแสดงกระบวนการคิดต่างๆ ลงในใบงาน ใบกิจกรรม หรือข้อสอบต่าง ๆ ครูจะแนะนำให้ใช้วิธีการที่อยู่ในรูปแบบง่ายๆ รูปทั่วไป หรือง่ายต่อการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่น ๆ และสามารถให้ผู้อื่นใช้งานได้ กระบวนการแก้ปัญหาของผู้เรียนควรแสดงวิธีการแบบคนทั่วไปคิด แทนการแก้ปัญหาแบบลัด ๆ ที่ใช้เฉพาะเจาะจงสำหรับบางกลุ่มคนเท่านั้น

ขั้นที่ 6 สร้างทักษะ/ขยายความรู้ : หลักการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ ทบทวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการในการแก้ปัญหามีความเป็นไปได้ การคำนวณไม่มากขั้นตอนและมีนัยสำคัญทางคณิตศาสตร์ ใช้รูปแบบการแก้ปัญหานี้เป็นต้นแบบที่มีประโยชน์หรือเป็นแบบอย่างสำหรับการตีความในสถานการณ์อื่น หรือสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในสถานการณ์ใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้สำหรับทดสอบหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วยข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ และข้อสอบปรนัยชนิดเติมคำตอบ จำนวน 5 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีความยากอยู่ระหว่าง 0.34 – 0.69 ค่าดัชนีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.60 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับ 0.80

4.3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน โดยใช้รูปแบบ MEAs มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยมีประเด็นที่ศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านผู้สอน

5. การเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียน 17 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

1. ดำเนินการทดลองด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs จำนวน 10 คาบ คาบละ 50 นาที

2. ทำการทดสอบหลังเรียน (Post-Test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง ลำดับและอนุกรม ในคาบที่ 11 ใช้เวลาในการทดสอบ 50 นาที

3. ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs

4. นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์จากการทดสอบหลังเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้

5. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติต่อไป

6. การวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้ดำเนินการดังนี้

1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

2.1 ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) ระหว่างข้อคำถามกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้

2.2 ค่าดัชนีความยาก (p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

2.3 ค่าดัชนีอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

2.4 ค่าความเที่ยง (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้วิธีของ Kuder – Richardson 20 (KR-20)

3. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง ลำดับและอนุกรม หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างกับเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยใช้ one samples t–test

4. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา

7. ผลการวิจัย

จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ดังนี้

1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs สูงกว่าเกณฑ์ 60% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ MEAs ว่า มีความเหมาะสม พิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้

ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยว่ากิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน คิดเป็นร้อยละ 72.87 รองลงมา คือ กิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนสามารถนำเสนอและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 67.47 และกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนกล้าตอบคำถามและสอบถามครูเมื่อเกิดความสงสัย คิดเป็นร้อยละ 61.92

ด้านสื่อการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับเห็นว่าสื่อการเรียนรู้น่าสนใจ และสื่อการเรียนรู้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 58.44 รองลงมา คือ สื่อการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจขั้นตอนของการแก้ปัญหาได้ดี คิดเป็นร้อยละ 51.16

ด้านครูผู้สอน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าผู้สอนตรวจการบ้านอย่างสม่ำเสมอและให้นักเรียนแก้ไขเมื่อเกิดข้อผิดพลาด คิดเป็นร้อยละ 70.97 รองลงมา คือ ผู้สอนเอาใจใส่นักเรียนและมีความเป็นกันเอง คิดเป็นร้อยละ 57.80

8. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MEAs สามารถช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้สูงขึ้นได้ ครูต้องวางแผนในการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี โดยเลือกกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถทำกิจกรรมไปพร้อม ๆ กันได้ หากนักเรียนไม่เข้าใจ ครูจึงเข้าไปอธิบายเป็นรายบุคคล

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ครูควรมีการเชื่อมโยงสถานการณ์ปัญหาและตัวอย่างให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของนักเรียนและคำนึงถึงความสมเหตุสมผล

3. ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับนักเรียน

4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MEAs ในช่วงแรก ครูควรดูแลนักเรียนขณะทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดวางแผนในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีลำดับขั้นตอน เมื่อนักเรียนมีความชำนาญในการทำกิจกรรมแล้ว ครูจึงเปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการทำกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน

5. ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และให้นักเรียนนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ นอกจากนี้ครูควรสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตสาสตร์ โดยจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนมีความสนุกสนานในการเรียนรู้

9. ข้อเสนอแนะในการวิจัยในครั้งต่อไป

1. ควรนำรูปแบบการจัดกิจกรรมแบบ MEAs ไปใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในรายวิชาอื่น ๆ และในระดับชั้นอื่น ๆ

2. ควรทำการศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MEAs กับตัวแปรอื่น ๆ

3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ MEAs กับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นๆ

โพสต์โดย Tanadet : [30 พ.ค. 2565 เวลา 18:30 น.]
อ่าน [2434] ไอพี : 182.232.63.211
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 10,147 ครั้ง
9 ตุลาคม วันไปรษณีย์โลก
9 ตุลาคม วันไปรษณีย์โลก

เปิดอ่าน 476 ครั้ง
5 ไอเดียเก็บรักษาปากกาสำหรับนักสะสม ให้สภาพสมบูรณ์ สวยใหม่อยู่เสมอ
5 ไอเดียเก็บรักษาปากกาสำหรับนักสะสม ให้สภาพสมบูรณ์ สวยใหม่อยู่เสมอ

เปิดอ่าน 17,089 ครั้ง
วิธีการพับเสื้อยืดอย่างรวดเร็ว
วิธีการพับเสื้อยืดอย่างรวดเร็ว

เปิดอ่าน 11,286 ครั้ง
"ราชบัณฑิตยสภา"
"ราชบัณฑิตยสภา"

เปิดอ่าน 72,011 ครั้ง
การแรเงา
การแรเงา

เปิดอ่าน 9,393 ครั้ง
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด

เปิดอ่าน 14,733 ครั้ง
ล้างพิษตับ...ทำเพื่ออะไร?
ล้างพิษตับ...ทำเพื่ออะไร?

เปิดอ่าน 14,569 ครั้ง
เกร็ดน่ารู้"แพนด้ายักษ์"
เกร็ดน่ารู้"แพนด้ายักษ์"

เปิดอ่าน 8,373 ครั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ (1)
ความคิดสร้างสรรค์ (1)

เปิดอ่าน 9,777 ครั้ง
หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว
หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว

เปิดอ่าน 15,321 ครั้ง
ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา
ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา

เปิดอ่าน 18,871 ครั้ง
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน
การมีจินตนาการโดยไม่มีความรู้และความเข้าใจนั้นเรียกว่า การฝันกลางวัน

เปิดอ่าน 67,383 ครั้ง
เคล็ดลับ10 ข้อในการจำศัพท์ภาษาอังกฤษ
เคล็ดลับ10 ข้อในการจำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เปิดอ่าน 28,874 ครั้ง
อกคศ.เขตพื้นที่ฯ เลื่อนเงินเดือนครู : ต้อนคนเข้าพวก
อกคศ.เขตพื้นที่ฯ เลื่อนเงินเดือนครู : ต้อนคนเข้าพวก

เปิดอ่าน 9,975 ครั้ง
นักวิจัยเผย ผู้หญิงมากกว่าชาย เกือบเก้าแสนคน
นักวิจัยเผย ผู้หญิงมากกว่าชาย เกือบเก้าแสนคน

เปิดอ่าน 23,667 ครั้ง
เกร็ดประวัติวัดโพธิ์
เกร็ดประวัติวัดโพธิ์
เปิดอ่าน 156,898 ครั้ง
พฤติกรรมมนุษย์ Human Behavior
พฤติกรรมมนุษย์ Human Behavior
เปิดอ่าน 15,378 ครั้ง
ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม ม.44 ของ คสช.
เปิดอ่าน 16,615 ครั้ง
โมกบ้าน
โมกบ้าน
เปิดอ่าน 79,405 ครั้ง
เสียงทุ้ม-เสียงแหลม
เสียงทุ้ม-เสียงแหลม

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ