บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
ชื่อผู้ประเมิน นายเขตรัตน์ ม่วงสุข
ปีที่ประเมิน 2564
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model พร้อมทั้งประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ประชาการในการประเมินครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนร่วมดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูผู้สอนจำนวน 114 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 2,481 คน และผู้ปกครอง จำนวน จำนวน 2,481 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูผู้สอนจำนวน 92 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 335 คน และผู้ปกครอง จำนวน จำนวน 335 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 781 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ ค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามความเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยรวมชัดเจน นำไปปฏิบัติได้โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
(x̄ = 4.14 , S.D. = 0.58 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) เกี่ยวกับการนำปัจจัยเข้ามาใช้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ด้านอาคารสถานที่ และระยะเวลาในการดำเนินงาน ตามความเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ มีบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
( x̄ = 4.04 , S.D. = 0.61 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) เกี่ยวกับการวางแผนโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินกิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านกระบวนการคัดกรองนักเรียน ด้านกระบวนการส่งเสริมนักเรียน ด้านกระบวนการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข ด้านกระบวนการส่งต่อนักเรียน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ ตามความเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̄ = 4.16 , S.D. = 0.59 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) เกี่ยวกับผลผลิตที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ผลผลิตเกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลผลิตเกี่ยวกับการคัดกรองนักเรียน ผลผลิตเกี่ยวกับการส่งเสริมนักเรียน ผลผลิตเกี่ยวกับ การป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไข ผลผลิตเกี่ยวกับการส่งต่อ ตามความเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̄ = 4.14 , S.D. = 0.63 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation : I) เป็นการประเมินผลกระทบ และความพึงพอใจผลการดำเนินสถานศึกษา โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ตามความเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( (x̄= 4.38 , S.D. = 0.69 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน