Advertisement
❝ วันจันทร์ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี "มนุษยชาติ" สร้างประวัติศาสตร์จารึกรอยเท้าบนดวงจันทร์ ช่วยจุดประกายไฟแห่งความฝันมุ่งหน้าสำรวจห้วงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลต่อไป แม้มีอุปสรรคมากมายรออยู่ข้างหน้า ❞
Advertisement
โครงการ อพอลโล หรือโปรเจ็กต์ อพอลโล ของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (นาซ่า) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2504 ตามนโยบายประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้ (เจเอฟเค) ซึ่งต้องการส่งชาวอเมริกันไป "เหยียบ" พื้นผิวดวงจันทร์ให้ได้ก่อนหน้ามนุษย์อวกาศ "โซเวียต" ชาติปฏิปักษ์สำคัญยุคสงครามเย็น
จุดเริ่มต้นโครงการดังกล่าวอาจเรียกว่าเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม หลังการทดลองยิงแคปซูลยาน "อพอลโล 1" ประสบอุบัติเหตุเพลิงลุกไหม้ ส่งผลให้มนุษย์อวกาศ 3 คนต้องเสียชีวิต ทั้ง กัส กริสซัม, เอ็ด ไวต์ และโรเจอร์ เชฟี
การพัฒนาโปรเจ็กต์อพอลโลเดินหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง กระทั่งพบความสำเร็จจนได้ในภารกิจยิงจรวดแซตเทิร์น 5 ส่งยาน "อพอลโล 11" และยานลูกสำรวจดวงจันทร์รหัส "อีเกิ้ล" ออกนอกวงโคจรโลก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2512 พร้อมมนุษย์อวกาศ 3 คน ได้แก่ นีล อาร์มสตรอง ผู้บัญชาการภารกิจ, เอ็ดวิน "บัซ" อัลดริน นักบินยานอีเกิ้ล และไมเคิล คอลลินส์ นักบินยานบังคับการ
พัฒนาการ"ชุดอวกาศ"
ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
โครงสร้างยานอพอลโล 11 ประกอบด้วยยานย่อย 3 ส่วน คือ 1.ยานบังคับการโคลัมเบีย 2.ยานบริการ และ 3.ยานอีเกิ้ล ซึ่งออกแบบให้โดยสารได้เพียง 2 คน
วันที่ 20 กรกฎาคม 2512 นีล อาร์มสตรอง กับบัซ อัลดริน ควบคุมอีเกิ้ลบินเดี่ยวลงจอดยังพื้นผิวดวงจันทร์ตรงจุดที่เรียกว่า "ทะเลแห่งความสงบ" ขณะที่คอลลินส์เฝ้าดูสถานการณ์อยู่บนยานบังคับการ เช่นเดียวกับประชากรทั่วโลกที่รับชมนาทีระทึกผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
โดยเมื่ออาร์มสตรองสร้างประวัติศาสตร์เป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เขาได้กล่าวอมตวาจา นั่นคือ "That"s one small step for a man, One giant leap for mankind."
"นี่เป็นก้าวเล็กๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง, แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"
ปฏิบัติการทดลองและเก็บตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์บนดวงจันทร์ของนีลและอัลดรินผ่านไปอย่างราบรื่น ใช้เวลาราว 2.5 ชั่วโมงก็นำอีเกิ้ลกลับมายังอพอลโล 11 และมนุษย์อวกาศทั้ง 3 เดินทางกลับสู่พื้นโลกโดยปลอดภัยบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ในฐานะวีรบุรุษ
40 ปีเต็ม หลังวันพลิกประวัติศาสตร์โลกดังกล่าว ดร.บัซ อัลดริน ได้เปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงหนึ่งในนโยบายนาซ่าที่ตั้งเป้าส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งภายในปี 2563 ว่า "เราจะกลับไปดวงจันทร์อีกทำไมกันครับ จริงอยู่บางประเทศต้องการไปดวงจันทร์เพื่อเกียรติภูมิของชาติ เพื่อสร้างชื่อว่าเป็นชาติแรกในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งคนไปดวงจันทร์ และต้องการให้นาซ่าลงไปแข่งขันด้วย แต่ไม่มีเหตุผลที่เราต้องทำแบบนั้น"
"เราควรมองไปที่ภารกิจระยะยาวในอวกาศ เช่น บินสำรวจดาวเคราะห์น้อย ตั้งฐานถาวรบนดวงจันทร์ รวมถึงเดินหน้าแผนสำรวจดาวอังคาร เพราะเป็นดาวดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมมนุษย์มากที่สุด
"สหรัฐช่วยพาโลกมนุษย์ไปสู่ดวงจันทร์เมื่อ 40 ปีก่อน และมีความสามารถพอจะช่วยพาโลกมุ่งตรงไปสู่ดาวอังคารเช่นกัน สิ่งที่เราต้องการก็คือความมุ่งมั่น เจตจำนงอันแรงกล้า และจินตนาการ"
นอกจากนั้น อัลดรินยังกล่าวสนับสนุนโครงการ "โฟบอส-กรุนต์" ของสำนักงานอวกาศรัสเซีย ซึ่งมีแผนส่ง "หุ่นยนต์" ไปสำรวจและเก็บตัวอย่างจากพื้นผิวดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคารกลับพื้นโลกภายในปี 2555 เพราะโฟบอสเป็น "ฐานปฏิบัติการ" ที่เหมาะมากสำหรับงานควบคุมงานส่งหุ่นยนต์ก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ บนผิวดาวอังคาร อาทิ ดร.แจ๊ก เบิร์น นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ซึ่งเห็นว่า นับตั้งแต่โครงการอพอลโล 11 เป็นต้นมา มนุษย์ไปดวงจันทร์มาแล้ว 6 ครั้ง แต่รวมเวลาอยู่บนดวงจันทร์ไม่ถึง 13 วัน
องค์ความรู้ทั้งหลายเกี่ยวกับดาวบริวารของโลกดวงนี้จึงยังไม่ลึกซึ้งพอ ทั้งที่การศึกษาดวงจันทร์ชนิดเจาะลึกจะช่วยไขปริศนาต้นกำเนิดระบบ "สุริยจักรวาล" และการก่อกำเนิดของดาวเคราะห์ได้เช่นกัน
ในส่วนของนาซ่าเองขณะนี้ยังพยายามสานต่อนโยบายอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ซึ่งตั้งเป้าส่งมนุษย์ไปย่ำดวงจันทร์อีกครั้งไม่เกินปี 2563 โดยเชื่อมั่นว่า การส่งมนุษย์ไปทดลองอาศัย-ใช้ชีวิตถาวรบนดวงจันทร์จะเป็นเหมือน "แบบฝึกหัด" ชั้นเยี่ยมก่อนส่งมนุษย์บุกดาวอังคารต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็มีส่วนขัดขวางความคิดดังกล่าว จึงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดประธานาธิบดีบารัก โอบามา รวมทั้งสภาสหรัฐ จะตัดสินใจอย่างไรเพราะต้องใช้เงินงบประมาณไม่น้อยเพื่อสานฝันให้เป็นจริง
ข้อมูล :: ข่าวสด
Advertisement
|
เปิดอ่าน 8,803 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,925 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,558 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,288 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,562 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,214 ครั้ง |
เปิดอ่าน 51,755 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,623 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,202 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,770 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,380 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,215 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,876 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,718 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,127 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 8,692 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 12,559 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,506 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,118 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 10,423 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,653 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,471 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 13,835 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 17,119 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,805 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,492 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 25,303 ครั้ง |
|
|